Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

‘จุรินทร์’ ย้ำพาณิชย์ตรึงราคาสินค้าให้นานที่สุด เห็นใจผู้ผลิต ‘มาม่า’ ต้นทุนสูงขึ้นจริง แต่ขอช่วยเหลือลดภาระประชาชนก่อน ยืนบนพื้นฐาน “วิน-วินโมเดล”

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงการดูแลราคาสินค้าว่า สั่งการให้ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรมการค้าภายในและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าไปดูแลและติดตามอย่างใกล้ชิด ใช้ทั้งนโยบายเชิงรุก เชิงลึกในการกำกับดูแลทั้ง 2 เรื่อง ทั้งราคาและปริมาณให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ ซึ่งกรมการค้าภายในจะเข้าไปกำกับดูแลสินค้าหมวดสำคัญ โดยเฉพาะ 18 หมวดที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ สำหรับเรื่องราคา พยายามตรึงราคาไว้ให้นานที่สุดเพื่อให้กระทบกับผู้บริโภคน้อยที่สุด แต่ขณะเดียวกันต้องยืนอยู่บนพื้นฐาน “วิน-วินโมเดล” ให้ผู้ประกอบการสามารถอยู่ได้ด้วย ถ้าผู้ประกอบการอยู่ไม่ได้กดราคาจนกระทั่งขาดทุนเลิกผลิต ปัญหาสินค้าขาดแคลนก็จะตามมา ซึ่งเราเข้าไปดูแลอย่างใกล้ชิด

นายจุรินทร์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาขอขอบคุณผู้ประกอบการจำนวนมากที่ให้ความร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์และกรมการค้าภายในอย่างดียิ่ง เข้าใจถึงสถานการณ์ช่วยกันแบกรับภาระ แม้ต้นทุนจะสูงขึ้นจริงหลายรายการ ทั้งต้นทุนวัตถุดิบ ค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า ค่าพลังงาน กระทรวงพลังงานพยายามดูแลอยู่อย่างเต็มที่และเป็นต้นทุนที่สูงขึ้นทั่วโลก แต่กระทรวงพาณิชย์แม้เป็นปลายทาง แต่เราขอความร่วมมือพยายามหามาตรการทางออกร่วมกัน

“การกำกับดูแลไม่ให้เกิดการเอาเปรียบผู้บริโภคในลักษณะ กักตุน ปฏิเสธการขาย หรือค้ากำไรเกินควร สั่งการไปแล้วปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานในระดับประเทศ ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานในระดับจังหวัด มีพาณิชย์จังหวัดทุกจังหวัดเป็นผู้ช่วยเข้าไปติดตามตรวจสอบการดำเนินคดี สั่งการแล้วว่าถ้าทำผิดกฎหมายต้องดำเนินคดี กรณีไหนเข้าข่ายการค้ากำไรเกินควรให้ใช้มาตรา 29 หรือมาตราอื่นที่เกี่ยวข้องดำเนินคดี ไม่ให้ผู้บริโภคได้รับความเดือดร้อนจากการเอารัดเอาเปรียบ ยกเว้นจะเป็นไปตามโครงสร้างราคาที่สมเหตุสมผล เพราะต้นทุนค่าขนส่งสูงขึ้นจริง ต้องสืบสวนเชิงลึกต่อไปว่าแต่ละกรณีเป็นอย่างไรให้ทุกฝ่ายอยู่ร่วมกันได้” นายจุรินทร์ กล่าว

ส่วนกรณีมาม่ามีโอกาสปรับขึ้นหรือไม่ นายจุรินทร์ กล่าวว่า กรมการค้าภายในดูอยู่ ส่วนตัวเห็นใจอย่างยิ่ง เพราะต้นทุนสูงขึ้นจริง และกรมการค้าภายในพยายามช่วยดูเจรจาว่า จะสามารถผ่อนปรนการตรึงราคาได้นานแค่ไหน (ขณะนี้ยังไม่ขึ้นและตรึงให้อยู่) เราทำงานทุกวันและทุกสัปดาห์ และที่ตรึงราคาไว้ได้คือการช่วยลดภาระผู้บริโภค แต่ที่ยืดเวลายังไม่ให้เกิดขึ้นได้ และคุยกันว่าทางออกที่ดีที่สุดจะเป็นอย่างไร ใช้ “วิน-วินโมเดล” ซึ่งหลักการในการพิจารณาชัดเจนและดูในเชิงลึก เห็นใจทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการยามนี้ต้องช่วยกันแบ่งเบาภาระลดภาระซึ่งกันและกันให้ได้ดีที่สุด

พณ.เผยตัวเลขส่งออกส่งออกไทย พ.ค.ปี 65 โต 10.5%

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แถลงภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยและการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดน เดือนพฤษภาคมและ 5 เดือนแรกของปี 2565 ว่า ตัวเลขการส่งออกเดือนพ.ค.65 เพิ่มขึ้น 10.5% มูลค่า 854,372 ล้านบาท และการส่งออกในภาพรวม 5 เดือนแรก ม.ค.-พ.ค. +12.9% มูลค่า 4,037,962 ล้านบาท 5 เดือนแรก การส่งออก +12.9% แตะ 4 ล้านล้านบาท

สินค้าสำคัญ 3 หมวด ประกอบด้วยสินค้าเกษตร สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรและหมวดสินค้าอุตสาหกรรม หมวดสินค้าเกษตร พ.ค. 65 + 3 เดือนต่อเนื่อง +21.5% มูลค่า 106,082 ล้านบาท สินค้าสำคัญ เช่น 1.ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง พ.ค.65 + 81.4% ตลาดสำคัญ เช่น จีน อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ไต้หวันและเกาหลีใต้ และ 5 เดือนแรก 65 + 27.3% มีส่วนสำคัญช่วยดึงราคามันสำปะหลังของเกษตรกรให้สูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ราคามันสำปะหลังที่เกษตรกรขายได้หัวมันสดเชื้อแป้ง 25% กิโลกรัมละ 3 บาทกว่า ซึ่งสูงกว่าหลายปีที่ผ่านมา 2.ผลไม้สด พ.ค.65 + 28.7% ตลาดสำคัญเช่น จีน มาเลเซีย ไต้หวัน อินโดนีเซียและเมียนมา มังคุดสดเป็นดาวรุ่ง พ.ค.65 + 566.1% 5 เดือนแรก +488.3% สับปะรดสด พ.ค.65 + 410% ตลาดใหญ่คือ มาเลเซีย จีนและซาอุดีอาระเบีย 5 เดือนแรก 65 + 100% ลำไยแห้ง พ.ค.65 + 214.9% มีตลาดใหม่ที่เนเธอร์แลนด์ 5 เดือนแรก +80.8% ทุเรียนสด พ.ค.65 + 11.4% มูลค่า 34,870 ล้านบาท และข้าวปีนี้คาดว่าการส่งออกจะดีกว่าปีที่แล้ว เพิ่มขึ้น 4 เดือนต่อเนื่อง พ.ค.65 + 24.7% และ 5 เดือนแรก +23.2% นำเงินเข้าประเทศ 47,803 ล้านบาท ตลาดส่งออกข้าวสำคัญ เช่น สหรัฐอเมริกา แอฟริกาใต้ แคเมอรูน จีนและเยเมน ยางพารา พ.ค.65 + 3.9% 5 เดือนแรกปีนี้ +2.8% นำเงินเข้าประเทศ 78,971 ล้านบาท

สินค้าหมวดอุตสาหกรรมการเกษตร เป็น +15 เดือนต่อเนื่อง พ.ค.65 + 32.7% 5 เดือนแรก 65 + 27.9% ทำเงินเข้าประเทศ 322,863 ล้านบาท สินค้าที่ขยายตัวสูงได้แก่ 1.น้ำตาลทราย พ.ค.65 +171.2% 5 เดือน +151.0% 2.อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป พ.ค.65 + 32.5% 5 เดือน +10.9% ทำเงินเข้าประเทศ 51,158 ล้านบาท 3.อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัว 33 เดือนต่อเนื่อง 5 เดือนแรก +25.4% ทำเงินเข้าประเทศ 40,721 ล้านบาท

หมวดสินค้าอุตสาหกรรม +15 เดือนต่อเนื่อง 5 เดือนแรก +11.3% ทำเงินเข้าประเทศ 3,162,977 ล้านบาท สินค้าสำคัญ เช่น 1.เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ เดือน พ.ค. +141.3% 5 เดือนแรก +75.7% ทำเงินเข้าประเทศ 63,029 ล้านบาท 2.อัญมณีและเครื่องประดับ 5 เดือนแรก +48.3% ทำเงินเข้าประเทศ 109,478 ล้านบาท 3.เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 5 เดือนแรก +14.9% ทำเงินเข้าประเทศ 100,115 ล้านบาท 4.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 5 เดือนแรก +16.8% ทำเงินเข้าประเทศ 121,142 ล้านบาท 5.ผลิตภัณฑ์ยางเดือน พ.ค.65 + 10.0% ทำเงินเข้าประเทศ 42,340 ล้านบาท และ 5 เดือนแรก -4.3% ทำเงินเข้าประเทศ 198,229 ล้านบาท 6.แผงวงจรไฟฟ้า 5 เดือนแรก +14.7% ทำเงินเข้าประเทศ 125,921 ล้านบาท

ตลาดที่ขยายตัวสูงสุด 10 อันดับแรกในเดือน พ.ค.65 ได้แก่ 1.เอเชียใต้ +55.7% 2.แคนาดา +45.3% 3.ตะวันออกกลาง +37.9% 4.สหรัฐอเมริกา +29.2% 5.ลาตินอเมริกา+22.5% 6.เกาหลีใต้ +14.5% 7. CLMV +13.1% 8.สหภาพยุโรป +12.8% 9.แอฟริกา +10.2% และ 10. อาเซียน(5) +8.3% ที่ตัวเลขการส่งออกถือว่ายังดีมาก 5 เดือนแรกขยายตัว 12.9% ทำเงินเข้าประเทศแตะ 4 ล้านล้านบาทโดยเฉพาะเดือน พ.ค. มีปัจจัยเกื้อหนุนที่ทำให้ตัวเลขส่งออกอย่างดีมาก เช่น นโยบายส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตร อาหาร เครื่องดื่มของกระทรวงพาณิชย์ ถือว่าประสบความสำเร็จในการส่งเสริมการตลาด

1.การบริหารจัดการส่งออกผลไม้ไปยังตลาดใหญ่ที่สุดของไทยคือ ตลาดจีน ประสบความสำเร็จเป็นรูปธรรม สามารถปรับรูปแบบโลจิสติกส์ ที่ประสบปัญหาในช่วงก่อนหน้านี้ คือการขนส่งทางบก เป็นการขนส่งทางเรือและทางอากาศมากขึ้น ทำให้การส่งออกผลไม้ไปจีนปีนี้มีอุปสรรคน้อยมากและประสบความสำเร็จอย่างราบรื่น ภายใต้การบริหารเชิงรุกและเชิงลึก

2.การจัดงาน THAIFEX-ANUGA ASIA 2022 “The Hybrid Edition” ของไทยประสบความสำเร็จทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ซึ่งเป็นงานแสดงและจำหน่ายสินค้าอาหารที่ใหญ่ที่สุดระดับโลก ที่จัดโดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ทำให้สินค้า BCG Model และ Soft Power ทำรายได้มากกว่า 60,000 ล้านบาท

3.นโยบายการเร่งรัดการใช้ประโยชน์จาก FTA และ Mini-FTA และการหารือร่วมกันแก้ปัญหาอย่างทันท่วงทีในระดับรัฐมนตรี ซึ่งตนเจรจากับหลายประเทศทั้งรัฐมนตรีการค้าลาว เวียดนาม การเจรจาระดับทูตพาณิชย์กับทางการจีนและประเทศอื่นๆที่เกี่ยวข้องเป็นต้น
และปัจจัยทางเศรษฐกิจในภาพรวม เช่น ความต้องการอาหารจากทั่วโลกที่สูงขึ้น ส่งให้ประเทศไทยส่งออกอาหารเกื้อหนุนได้มากขึ้นและภาคการผลิตทั่วโลกขยายตัวความต้องการวัตถุดิบจากประเทศไทย เพื่อใช้ในการผลิตยังดีและสุดท้ายค่าเงินบาทอ่อนค่าในช่วงหลังมีส่วนช่วยทำให้การส่งออกสามารถแข่งขันราคากับคู่แข่งในตลาดโลกได้ดีขึ้น

สำหรับการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนการค้าชายแดน 4 ประเทศ 1.มาเลเซีย 2.กัมพูชา 3.เมียนมา 4. ลาว ในภาพรวมการค้าชายแดน พ.ค.65 ส่งออก +16.33% ทำเงินเข้าประเทศ 55,002 ล้านบาท และ 5 เดือนแรกปี 65 ส่งออก +17.24% ทำเงินเข้าประเทศ 267,052 ล้านบาท
มาเลเซีย พ.ค.ส่งออก -1.57% ทำเงินเข้าประเทศ 14,932 ล้านบาท 5 เดือนแรก +3.08% ทำเงินเข้าประเทศ 75,348 ล้านบาท ที่เป็นลบเนื่องจากการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ทำให้ขาดแคนวัตถุดิบเมียนมา การส่งออกเดือน พ.ค. + 23.28% ทำเงินเข้าประเทศ 13,432 ล้านบาท 5 เดือนแรก +34.25% ทำเงินเข้าประเทศ 59,986 ล้านบาท กัมพูชา เดือน พ.ค.ส่งออกผ่านการค้าชายแดน +13.82% ทำเงินเข้าประเทศ 13,405 ล้านบาท 5 เดือน +17.76% ทำเงินเข้าประเทศ 67,503 ล้านบาท สปป.ลาว เดือนพ.ค. +40.25% ทำเงิน 13,223 ล้านบาท 5 เดือนแรก + 21.90% ส่งออก 64,216 ล้านบาท

การค้าผ่านแดน มี 3 ประเทศสำคัญ คือ จีนเวียดนามและสิงคโปร์ ซึ่งเป็นปลายทางของการค้าผ่านแดน พ.ค. 65 -24.01% ทำเงินเข้าประเทศ 35,702 ล้านบาท 5 เดือนแรก -23.81% ทำเงินเข้าประเทศ 137,534 ล้านบาท เหตุผลสำคัญคือหันไปส่งออกทางเรือและทางอากาศ ากขึ้นแทนการส่งออกข้ามแดนไปทางบก ทำให้ตัวเลขผ่านแดนผ่านเส้นทางบกลดลง แต่ไม่มีผลทำให้ตัวเลขการส่งออกในภาพรวมลดลงกลับเพิ่มขึ้น
เราสามารถแก้ปัญหาระบบการขนส่งโลจิสติกส์จากทางบกที่มีปัญหาอุปสรรค ในการข้ามด่านเพราะโควิดไปทางเรือและทางอากาศคล่องตัวขึ้น การส่งออกผ่านแดนไปจีนเดือน พ.ค. -18.80% ทำเงินเข้าประเทศ 19,083 ล้านบาท 5 เดือนรวมกัน -24.90% ทำเงินเข้าประเทศ 56,549 ล้านบาท สิงคโปร์ ส่งออก พ.ค.-11.18% ทำเงินเข้าประเทศ 3,887 ล้านบาท 5 เดือนแรก +2.5% ทำเงิน 20,101 ล้านบาท สิงคโปร์เดือน พ.ค. ติดลบ เพราะลดการขนส่งทางบกเนื่องจากติดด่านไปส่งทางเรือมากขึ้น และช่วงหลังตู้คอนเทนเนอร์คล่องตัวขึ้นค่าระวางเรือปรับลดลง
การค้าผ่านแดนเวียดนาม พ.ค. -15.24% ทำเงินเข้าประเทศ 3,737 ล้านบาท 5 เดือนแรก -8.27% ทำเงินเข้าประเทศ 18,438 ล้านบาท

“ภาพรวมการค้าชายแดนและผ่านแดนรวมกันเดือน พ.ค. -3.77% ทำเงินเข้าประเทศ 90,704 ล้านบาท เพราะการค้าข้ามแดนติดลบ เราขนส่งทางบกน้อยลงหันไปใช้ทางเรือและทางอากาศมากขึ้น ซึ่งยังทำให้ตัวเลขเดือนพฤษภาคมในภาพรวม + 10.5% และ 5 เดือนแรกในภาพรวมการส่งออก +12.9%” นายจุรินทร์ กล่าว

ส่วนทิศทางการส่งออกในเดือนที่เหลือของปีนี้ นายจุรินทร์ กล่าวว่า ยังคิดว่ายังเป็นบวก เพราะ 5 เดือนนี้ เป็นบวก 12.9% ทั้งปียังน่าจะบวกได้และน่าจะเกินเป้า เพราะตั้งเป้าไว้ที่ 4-5% คิดว่าน่าจะบรรลุเป้า แต่จะเพิ่มไปมากน้อยแค่ไหนต้องประเมินรายละเอียดต่อไป ปีที่แล้วส่งออกทั้งปี 8.5 ล้านล้านบาท ปีนี้ตั้งเป้าที่ 9 ล้านล้านบาท แต่ 5 เดือนทำได้ 4 ล้านล้านบาทแล้ว น่าจะเกินเป้าที่ 9 ล้านล้านบาทได้

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า