Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

‘ปริญญา เทวานฤมิตรกุล’ อาจารย์นิติศาสตร์ มธ. ชี้ตีความตามเนื้อผ้า ปมวาระ 8 ปี ‘นายกฯ ประยุทธ์’ ต้องพ้นจากตำแหน่งก่อนเที่ยงคืน 24 ส.ค. นี้

เรดาร์การเมืองกำลังหันมาจับจ้องที่ปมวาระ 8 ปี การดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มากขึ้น เพราะมีผู้ร้องต่อ ผู้ตรวจการแผ่นดิน และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แล้วให้เสนอความเห็นส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเรื่องนี้ ขณะที่ พรรคการเมืองฝ่ายค้าน ก็ได้มติว่า จะยื่นคำร้องต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเช่นกัน ในวันที่ 17 ส.ค. นี้

การนับวาระเก้าอี้นายกรัฐมนตรี ของ พล.อ.ประยุทธ์ ถูกถกเถียงมาเป็นระยะและยังไม่สามารถชี้ชัดได้ว่า “เริ่มนับเมื่อใด” เพราะถ้านับตั้งแต่วันที่ พล.อ.ประยุทธ์ ก้าวขึ้นมาเป็น นายกรัฐมนตรี หลังจากรัฐประหาร คือวันที่ 24 ส.ค. 2557 หากเริ่มนับวันนั้น วันที่ 24 ส.ค. 2565 ก็จะครบ 8 ปี ซึ่งตามรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย ปี 2560

มาตรา 158 วรรค 4 ระบุว่า นายกรัฐมนตรี จะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกิน 8 ปีมิได้ ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่ แต่มิให้นับรวมระยะเวลาในระหว่างที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อหลังพ้นจากตำแหน่ง

แต่เรื่องนี้ถูกมองซับซ้อนกว่านั้น เพราะพล.อ.ประยุทธ์ ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีทั้งหมด 2 ครั้ง ครั้งแรกเกิดขึ้นภายหลังการรัฐประหารเมื่อปี 2557 เมื่อ 24 ส.ค. 2557 ตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งก็มาจากการแต่งตั้งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. และครั้งที่สอง หลังการเลือกตั้งใหญ่ปี 2562 เมื่อ 9 มิ.ย. 2562 ตามรัฐธรรมนูญ 2560 โดย พล.อ. ประยุทธ์ เป็นแคนดิเดตนายกฯ ในนามของพรรคพลังประชารัฐ ระหว่าง 2 ครั้ง มีการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญจากฉบับชั่วคราว เป็นฉบับ 2560 จึงมีการถกเถียงว่า รัฐธรรมนูญเปลี่ยน อย่างนี้ที่ว่าห้ามดำรงตำแหน่งเกิน 8 ปี ต้องเริ่มนับตั้งแต่เมื่อใดกันแน่

workpointTODAY LIVE ได้พูดคุยกับ ผศ.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อเพิ่มความกระจ่างในประเด็นนี้

อาจารย์ปริญญา ยืนยันว่า พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2560 บทบัญญัติทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ก็ต้องใช้กับพล.อ.ประยุทธ์ ด้วย ซึ่งมาตรา 264 ตามรัฐธรรมนูญ มีการยกเว้น ถ้ามาตรการไหนยังใช้ไม่ได้ เพราะที่มาของการเป็นนายกรัฐมนตรี ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง จะยกเว้นไว้ชัดเจน แต่ปรากฏว่า ในมาตรา 264 ไม่มีการยกเว้น มาตรา 158 วรรค 4 ความหมายคือ ถ้ารัฐธรรมนูญประสงค์จะยกเว้นวาระ 8 ปี ให้พล.อ.ประยุทธ์ ต้องเขียนไว้ในมาตรา 264 ก็แปลว่าไม่ยกเว้น เรื่องง่ายมาก ตีความตามเนื้อผ้า

แต่ถ้าเริ่มนับตั้งแต่หลังเลือกตั้ง พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี หลังการเลือกตั้ง คือวันที่ 9 มิ.ย. 2562 ก็เป็นไปได้อีก 5 ปี คือได้ถึงปี 2570 ซึ่งเป็นแนวทางที่ตนมองว่า เกินเลยไป อย่างไรก็ไปไม่ถึง เพราะถ้าจะบอกว่า นับตอนรัฐธรรมนูญเริ่มประกาศใช้อันนี้ฟังได้ แต่ก็จะมาโต้แย้งกันว่าอันไหนถูกต้อง

แต่ถ้าบอกว่า นับตั้งแต่เป็นนายกรัฐมนตรีหลังเลือกตั้ง ถือเป็นการช่วยกันอย่างน่าเกลียดเกินไป ตนเห็นว่าต้องตัดทิ้งไปเลย ก็จะเหลือเพียง เริ่มนับวันที่ 6 เม.ย. 2560 วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560 หรือนับตั้งแต่ 24 ส.ค. 2557 เป็นนายกรัฐมนตรี หลังการรัฐประหาร เหลือแค่ 2 ทางนี้

ส่วนที่มีผู้ระบุว่า จะใช้กฎหมายย้อนหลังเป็นโทษแก่บุคคลไม่ได้นั้น อาจารย์ปริญญา ชี้แจงว่า เรื่องวาระ 8 ปี เป็นเรื่องของการดำรงตำแหน่งทางการเมือง เป็นเรื่องของ ‘อำนาจ’ ตรงข้ามกับ ‘สิทธิเสรีภาพ’ ดังนั้น ‘อำนาจ’ ยิ่งถูกตรวจสอบมากยิ่งเป็นประโยชน์ของประชาชน

ยืนยันยิ่งมาตรา 264 ไม่ได้ยกเว้นไว้ ก็ต้องนับตั้งแต่วันที่ 24 ส.ค. 2557 และถ้าจะมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน คือจะครบ 8 ปี ในวันที่ 23 ส.ค. หรือ 24 ส.ค. ซึ่งตนเห็นว่า ต้องเป็นวันที่ 24 ส.ค. เพราะหลักกฎหมายจะไม่นับวันแรกจะนับวันแรกต่อเมื่อได้เขียนไว้ ซึ่งถ้าเกินเที่ยงคืน 24 ส.ค. 2565 คือผิดรัฐธรรมนูญทันที

(ภาพจาก : ทำเนียบรัฐบาล)

ตัวอย่างหนึ่งของวาระการดำรงตำแหน่งของประธานศาลรัฐธรรมนูญ แม้จะมาก่อนรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2560 ประกาศใช้ ก็เป็นศาลรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ จึงดำรงตำแหน่งได้ถึงอายุ 75 ปี ไม่ใช่ตามรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2550 ที่ให้ดำรงตำแหน่งถึงอายุ 70 ปี ในทำนองเดียวกันแนวทางเช่นนี้ ศาลได้ประโยชน์จากการตีความแบบนี้แล้ว ถามว่าแล้วจะตีความเรื่องวาระของนายกรัฐมนตรีให้เป็นอื่น แตกต่างไปจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างไร

“เรื่องการตัดสินปัญหาในบ้านเมือง หลักมันง่ายมาก ทุกคนเสมอกันอยู่ใต้กฎหมาย รวมถึงนายกฯ ด้วย รัฐธรรมนูญเขียนไว้อย่างไร ก็ควรต้องเป็นไปตามนั้น ถ้าหากว่านายกฯ ท่านอยู่เหนือรัฐธรรมนูญ แล้วประชาชนละครับทำไมต้องเคารพรัฐธรรมนูญ อันนี้เป็นข้อง่ายๆ ผมคิดว่าโดยสรุปพูดอีกครั้งนะครับผมว่าตามเนื้อผ้า” อาจารย์ปริญญา กล่าว

ที่สำคัญเราไม่สามารถดูบัญชีทรัพย์สินของ พล.อ.ประยุทธ์ได้ รวมถึงพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี รวมทั้งรัฐมนตรี ที่ดำรงตำแหน่งต่อ ก่อนการเลือกตั้ง คำถามคือแปลกที่ยิ่งอยู่นานยิ่งต้องถูกตรวจสอบ แต่ทำไมรัฐธรรมนูญฉบับปราบโกง ยิ่งอยู่นานยิ่งตรวจสอบไม่ได้ ที่ตนพูดถึงเรื่องนี้เพราะเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า พล.อ.ประยุทธ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นต่อเนื่องมา จึงทำให้ไม่ได้ต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ซึ่งเป็นฉบับใหม่

“ความจริงผมอยากจะให้ท่านนายกฯ ไม่ต้องให้ศาลเขาวินิจฉัยหรอก ท่านก็วินิจฉัยเองได้ว่าท่านครบ 8 ปี ท่านก็ลงซะก่อนถึง 24 ส.ค. ไม่มีข้อโต้แย้งโต้เถียงก็สง่างาม” อาจารย์ปริญญา ระบุ

อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ มั่นใจว่า แนวทางคำตัดสินจะไม่ออกไปในทางที่พล.อ.ประยุทธ์ อยู่ต่อได้ถึงปี 2570 ไม่ได้ เป็นแนวทางที่เหลวไหล ตีความกลับหัวกลับหาง ส่วนจะออกไปในแนวทางเริ่มนับจากวันที่รัฐธรรมนูญ 2560 บังคับใช้ก็ได้ เพราะบทเฉพาะกาลไม่ได้ยกเว้นไว้ และจากที่มีการวิเคราะห์กันตอนนี้เผลอๆ เสียงมติตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 9 คนจะเฉียดฉิวกัน ซึ่งเสียงข้างมากต้องได้มากกว่า 5 เสียงขึ้นไป

  • ยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความ ก่อน-หลัง 24 ส.ค. มีผลต่อการสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่นายกฯ 

อาจารย์ปริญญา ยังอธิบายการยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความ ก่อนหรือหลัง วันที่ 24 ส.ค. มีผลอย่างไร ว่า  ถ้ายื่นก่อนไม่มีเหตุให้ต้องสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่เพราะความเสียหายยังไม่มี ไม่เหมือนกรณีของ นายธนากร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ที่ศาลสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. เมื่อรับวินิจฉัยปมถือหุ้นสื่อ โดยการสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ ตามมาตรา 82  หากปรากฎเหตุอันควรสงสัยว่า ผู้ถูกร้องมีกรณีตามที่ถูกร้อง ให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าจะมีคำวินิจฉัยได้ ถามว่ามีเหตุควรสงสัยหรือไม่ “มี” เรื่องนี้เป็นข้อกฎหมายล้วนๆ เรื่องนี้จบเร็วได้มากด้วย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า