Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สัปดาห์หน้าสภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ ปี 2566 ฝ่ายค้านได้พิจารณารายละเอียด พร้อมระบุว่าในภาพรวมการจัดงบประมาณครั้งนี้ ยังไม่ตอบโจทย์การฟื้นฟูประเทศ และเป็นไปได้หากรัฐบาลไม่ปรับตามคำแนะนำฝ่ายค้านอาจพิจารณาไม่รับหลักการ

วันที่ 29 พ.ค. 2565 การประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จะมีขึ้นวันที่ 31 พ.ค.-2 มิ.ย.นี้ รวมเวลา 3 วัน โดยก่อนหน้านี้ นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) ระบุว่า พรรคร่วมฝ่ายค้านได้วิเคราะห์อย่างละเอียด และมีความเห็นตรงกันว่า ยังไม่สามารถรับร่างพ.ร.บ.งบประมาณฯ ฉบับดังกล่าวได้ แต่เวลาที่เหลืออยากให้รัฐบาลพยายามชี้แจง และบอกกับพวกเราว่า อะไรจะแก้ไขหรือปรับปรุงตามข้อเสนอแนะได้บ้าง ซึ่งหากรัฐบาลเปิดใจกว้างที่จะยอมรับและปรับปรุง พวกเราก็อาจจะรับหลักการ แต่หากรัฐบาลยังแข็งขืน ตนคิดว่าพรรคฝ่ายค้านไม่สามารถปล่อยไปได้

“เราไม่ไหวจริงๆ ทั้ง 2 ปีที่ผ่านมาเกิดบทเรียนว่า เมื่อเราให้ผ่านไปแล้ว เขาก็ไม่แก้ เราบอกให้ผ่านไปก่อนแล้วฟังเราหน่อย เขาก็ไม่แก้เลย คราวนี้ถ้าเราคิดว่าให้โอกาสแบบเดิมและคิดว่าไปแก้ในชั้นต่อไป เขาก็ไม่ทำอยู่ดีแม้เราไม่ให้ผ่านก็ไม่กระทบ เพราะโดยกฎหมายใช้งบปีเก่าได้ แล้วปีเก่าน่าจะดีกว่าปีนี้ อย่างไรก็ตามอยากให้รัฐบาลปรับแก้และรับปากเราในสภา แต่ 90% เราคิดว่าปฏิเสธแล้ว และในปีนี้ยังมีงบเรื่องเรือดำน้ำซุกๆ ไว้อยู่ด้วย” นายสุทิน กล่าว

ก้าวไกล ชี้จัดงบฯ ปี 66 เปรียบเหมือนช้างป่วยที่ปรับตัวไม่ได้

ที่ อาคารอนาคตใหม่ พรรคก้าวไกล จัดกิจกรรม “Hackathon งบ 66 : ร่วมออกแบบ #งบประมาณฉบับก้าวไกล ที่เราอยากเห็น” ต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวว่า แผนการอภิปราย พ.ร.บ งบประมาณฯ เราต้องการที่จะชี้แจงให้เห็นว่า ปีนี้เป็นปีแห่งการฟื้นฟูประเทศ เพราะด้วยปัจจัยไม่ว่าจะเป็น 1.เรื่องสถานการณ์โควิดที่ทั่วโลกจากเคยมีผู้ติดเชื้อสูงสุด 4 ล้านคน ตอนนี้เหลืออยู่แค่ 5 แสนคน ขณะเดียวกันอัตราเสียชีวิตก็ลดลง การฉีดวัคซีนก็เยอะขึ้น การท่องเที่ยวการเดินทางเริ่มกลับมา 2. การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ผ่านมาซึ่งทำให้คนมีความหวังผ่านการเลือกตั้ง ซึ่งปีหน้าจะมีการเลือกตั้งใหญ่ด้วย และ 3. บทอวสานของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.ที่ครบ 8 ปีแล้ว ซึ่งอาจจะต้องสิ้นสุดลง ทั้ง 3 ปัจจัยนี้คือ สิ่งที่ตนเห็นว่าคือความหวัง และเราต้องสร้างความหวังด้วยการจัดงบฯ ปีนี้ให้ดี เพื่อให้ประเทศไทยไปข้างหน้าและสามารถปรับตัวได้ใน 10 ปี แต่ถ้ายังจัดงบฯ แบบเดิมๆ ในทางตรงกันข้ามก็จะถอยหลังไปอีก 10 ปี เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้น ปีนี้เป็นปีที่มีความสำคัญมากๆ น้ำขึ้นต้องรีบตัก ซึ่งจะตักได้มากก็ขึ้นอยู่กับว่ากระบวยของประเทศนั้นใหญ่แค่ไหน แต่ถ้ากระบวยยังเท่าเดิม คือจัดสรรงบแบบเดิมก็ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์

“อย่างไรก็ตาม แต่เมื่อดูการจัดงบฯ ปี 2566 แล้ว เปรียบไปก็เหมือนกับว่าเป็นการจัดงบฯ ในลักษณะเป็นช้างป่วยที่ปรับตัวไม่ได้ เพราะถ้าไปดูที่ได้รับมากที่สุดก็คือ งบกลาง 8 แสนกว่าล้าน และนอกจากนี้ 80% ถูกใช้ไปกับงบฯ บำนาญและสวัสดิการข้าราชการ ส่วนถ้าไปดูงบฯ ที่ปรับสูงมากที่สุดเมื่อเทียบกับปีที่แล้วคืองบฯ รัฐวิสาหกิจ โดยหน่วยรับที่ได้สูงสุด คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ หรือ ธกส. ซึ่งปรากฏว่าก็เป็นงบฯ ที่จ่ายอุดหนุนการเกษตรที่ย้อนหลังไปจนถึงปี 2551 จึงอาจกล่าวได้ว่า แทนที่จะเป็นการจัดงบฯ เพื่อฟื้นฟูไปสู่อนาคต แต่เป็นการจัดงบฯ ของอดีต สมมติว่าประเทศเราเก็บภาษีได้ 100 บาท พบว่า 70 บาทถูกใช้จ่ายกับอดีตจนหมดเลย ทั้งเงินบำนาญและสวัสดิการข้าราชการ เงินกู้ จะมีเหลืออยู่เพียง 30 บาทที่สำหรับบริหารในอนาคต” นายพิธา กล่าว

นายพิธา กล่าวว่า กรณีงบประมาณ ส่วนใหญ่ที่ถูกใช้ไปกับการดูแลข้าราชการนั้น ถือว่าเป็นยาขมที่เราต้องมาช่วยกันคิด ว่าจะทำอย่างไรที่จะทำให้คล่องตัวขึ้น ไม่อุ้ยอ้ายอย่างที่เป็นอยู่ และหนึ่งในนั้นที่เราคิดกันไว้ก็คือเรื่องของการกระจายอำนาจ ให้ข้าราชการไปสังกัดอยู่กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้น และขณะเดียวกัน การทำให้สวัสดิการของประชาชนเพิ่มขึ้นก็เป็นสิ่งที่เราต้องทำ จะปล่อยให้งบบำนาญข้าราชการสูงกว่าสวัสดิการประชาชนคนชรา ถึง 57 เท่า อย่างนี้ต่อไปไม่ได้ จะเหมือนกับว่าเราเก็บภาษีจากประชาชนเพื่อมาดูแลรัฐราชการอุ้ยอ้าย ไม่สามารถตอบโจทย์ประชาชนได้ ทั้งนี้ ในช่วงปีที่ควรรจะมีความหวัง เป็นปีแห่งการฟื้นฟู แต่การจัดงบประมาณไม่บอกเราอย่างนั้น ดังนั้นพรรคก้าวไกลคงไม่ยอมให้ผ่านวาระแรกไปได้

ด้าน นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ผู้จัดการการสื่อสารและการรณรงค์นโยบายพรรคก้าวไกล กล่าวว่า เป้าหมายในการทำงานงบประมาณในปีนี้ ไม่ใช่แค่การตั้งคำถามกับการจัดสรรงบประมาณของรัฐบาลอย่างเดียว แต่ยังเป็นการตั้งความหวังกับประชาชนด้วยว่า ถ้าพรรคก้าวไกลได้เป็นรัฐบาล เรามองเรื่องการจัดสรรงบประมาณอย่างไร และสำหรับการจัดงบฯ ในครั้งนี้ถ้าถามถึงสิ่งที่ยังตกหล่นอยู่ คิดว่า 2 โจทย์ คือ โจทย์แรกเรื่องของเศรษฐกิจ เราจะหาเครื่องยนต์เศรษฐกิจตัวใหม่ได้อย่างไร ที่จะมาขับเคลื่อนไปเคียงข้างไปกับกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่จะต้องใช้เวลาปีนี้ในการฟื้นฟู แต่ทว่าเราก็เห็นว่างบฯ ปี 2566 นั้น งบฯ การลงทุนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลดลง 10 เปอร์เซ็นต์ และยิ่งเมื่อไปดูรายละเอียดก็เห็นว่างบฯ ส่วนใหญ่ใช้ไปกับการสร้างถนนหนทาง และโจทย์ที่สอง คือเรื่องสวัสดิการ ที่ประชาชนทุกช่วงวัยกำลังเดือดร้อนอย่างทั่วหน้า แต่เราก็ไม่เห็นว่างบฯ ปีนี้ถูกตั้งมาเพื่อดูแลประชาชนเหล่านั้น

รัฐบาลเชิญชวนประชาชนติดตามการพิจารณางบฯ

ด้าน น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ถือเป็นโอกาสสำคัญที่นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะได้ชี้แจงถึงความจำเป็นและแนวทางการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อขับเคลื่อนนโยบาย แผนงานโครงการต่าง ๆ ตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และแก้ไขปัญหาสืบเนื่องจากความท้าทายต่าง ๆ

โดยเฉพาะการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในช่วงหลังการแพร่ระบาดโควิด-19 ซึ่งครอบคลุมด้านความมั่นคง การสร้างความสามารถทางการแข่งขัน การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ วงเงินงบประมาณรวม 3.18 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 8.5 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นรายจ่ายประจำ 78.2% และรายจ่ายลงทุน 21.8%

น.ส.รัชดา เชิญชวนประชาชนติดตามการอภิปราย ร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายฯ เพื่อจะได้ทราบแนวทางการบริหารประเทศของรัฐบาล รวมทั้งโครงการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ ที่สำคัญอย่างยิ่งคือ เป็นโอกาสการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการตรวจสอบของภาคประชาชน อีกทั้ง งบประมาณรายจ่ายนี้เป็นงบที่ใช้ดูแลคนไทยทั้งประเทศภายใต้ปัจจัยความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกและสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังไม่สามารถนิ่งนอนใจได้ รัฐบาลจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การติติงและข้อเสนอจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรจะเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ เพื่อนำไปสู่การใช้งบประมาณอันจะทำให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดของบ้านเมือง

อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย กล่าวว่า หากสภาผู้แทนราษฎรไม่ให้ความเห็นชอบรัฐบาลก็ต้องลาออกหรือยุบสภาระหว่างนั้นเมื่อถึงปีงบประมาณใหม่ในเดือนตุลาคมจะใช้งบประมาณปี 65 ไปพลางก่อน ซึ่งปกติสำนักงบประมาณจะใช้ 75 % ของปีงบประมาณ ไม่ให้ใช้เต็ม แต่ก็บริหารไปได้จนกว่าจะมีงบประมาณใหม่ เพียงแต่โครงการใหม่ ๆ มันจะเกิดไม่ได้ เพราะไม่มีโครงการใหม่ ๆ อยู่ในปีงบประมาณเดิมปี

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า