Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

‘ไครียะห์’ เข้าสภา ยื่นหนังสือค้านสร้างนิคมอุตสาหกรรมต่อกมธ. 2 คณะ ด้าน ‘ซูการ์โน’ เผยเตรียมเชิญ ศอ.บต. มาชี้แจง

วันที่ 3 ธ.ค. 2564 นายซูการ์โน มะทา ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การกระจายอำนาจ การปกครองส่วนท้องถิ่น และการบริหารราชการรูปแบบพิเศษ และคณะ รับยื่นหนังสือจาก น.ส.ไครียะห์ ระหมันยะ เยาวชนนักเคลื่อนไหวต่อต้านนิคมอุตสาหกรรมจะนะ เจ้าของฉายา “ลูกสาวแห่งทะเลจะนะ”

ที่ขอให้ตรวจสอบกระบวนการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหากรณี นิคมอุตสาหกรรมจะนะ ตามที่ บริษัททีพีไอโพลีนเพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ประกาศจะดำเนินการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชน หรือที่เรียกว่าการศึกษาตามกระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EHIA) ในโครงการย่อยจำนวน 4 ฉบับ ระหว่างวันที่ 13 – 23 ธ.ค. 2564 ในขณะเดียวกันศูนย์อำนวยการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้มอบหมายให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ดำเนินการเปลี่ยนสีผังเมืองจะนะ เพื่อรองรับโครงการเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นมีความเห็นว่า การดำเนินการดังกล่าวยังไม่เหมาะสมและไม่เป็นไปตามข้อตกลงที่รัฐบาลเคยทำไว้กับเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น เพื่อเป็นทางออกกรณีปัญหาในโครงการเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา โดยมีสาระสำคัญ 3 ประการ ดังนี้

1. รัฐบาลจะตรวจสอบการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต)

2. รัฐบาลจะจัดให้มีการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) แบบมีส่วนร่วม โดยจะต้องออกแบบคณะศึกษาให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย

3. ระหว่างนี้ให้ยุติการดำเนินการทุกอย่างในโครงการนี้เอาไว้ก่อนจนกว่ากระบวนการในข้อ 1 และข้อ 2 จะแล้วเสร็จ อย่างไรก็ตามตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ได้ดำเนินการตามรายละเอียดตามที่ได้ตกลงกันไว้

ทั้งนี้ทางเครือข่ายฯ  มีความเห็นว่ากระบวนการตรวจสอบตามนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งแต่งตั้งไปนั้น ยังไม่เสร็จสิ้นตามกระบวนการ และไม่ได้เป็นไปตามหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนตามที่ได้กำหนดไว้เป็นสำคัญ จึงขอเสนอให้คณะ กมธ. ดำเนินการตรวจสอบกระบวนการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหากรณีนิคมอุตสาหกรรมจะนะ

ด้าน นายซูการ์โน มะทา กล่าวภายหลังรับหนังสือว่า จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของคณะ กมธ. และจะเชิญ ศอ.บต.และผู้ที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณาต่อไป

จากนั้น พ.ต.ท.ทวี สอดส่อง กล่าวว่า ปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชนจะต้องศึกษาตั้งแต่กระบวนการเชิงยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะพื้นที่อุตสาหกรรมจะนะ ซึ่งเป็นพื้นที่อยู่ร่วมกันของพหุวัฒนธรรม จะต้องให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด

นอกจากนี้ ไครียะห์ ยังได้ยื่นหนังสือต่อ นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล เลขานุการคณะ กมธ.การพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชนด้วย โดยนางอมรัตน์ กล่าวว่า จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของคณะอนุ กมธ.พิจารณาศึกษาติดตามกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนจากการดำเนินโครงการของรัฐ  ในคณะ กมธ. การพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน ภายในสัปดาห์หน้า

ตั้งแต่วันที่ 29 พ.ย. ที่ผ่านมา ไครียะห์ ได้นั่งหน้าทำเนียบรัฐบาลในเวลา 16.00 ทุกวัน เพื่อทวงสัญญาจากรัฐบาล ให้ระงับและศึกษาผลกระทบโครงการนิคมจะนะ 16,000 ไร่  หลังผ่านไปเกือบ 1 ปี เรื่องไม่คืบ ทั้งยังพบว่าบริษัทเอกชนที่ได้สิทธิ์ในการพัฒนาพื้นที่เริ่มเข้ามาสำรวจความเห็นประชาชนแล้ว

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า