Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

วันที่ 29 ส.ค. นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ได้สั่งการให้มีการวิเคราะห์ข้อมูลความยากจนรายจังหวัดเพื่อพิจารณาออกแบบนโยบายแก้ปัญหาความยากจนให้ได้ตรงจุด โดยแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืนทั้ง 4 มิติ คือ การเข้าถึงความจำเป็นขั้นพื้นฐาน การพัฒนาคุณภาพชีวิตและทักษะอาชีพ การหางานให้ทำ และการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบ

สำหรับการออกแบบการแก้ปัญหาให้ “ถูกฝา ถูกตัว” และสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ ได้วิเคราะห์ข้อมูลผู้มีรายได้น้อยเบื้องต้น แบ่งเป็น 4 กลุ่มเป้าหมาย เพื่อออกแบบนโยบายให้สอดรับกันได้แก่

Q1 กลุ่มจังหวัดเศรษฐกิจแข็งแกร่งและมีความพร้อมสูง 29 จังหวัด เน้นการช่วยเหลือด้านค่าครองชีพ
– กรุงเทพฯ และปริมณฑล 6 จังหวัด จำนวน 1.2 ล้านคน
– 3 จังหวัด โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (ชลบุรี,ระยอง,ฉะเชิงเทรา) และ จังหวัดหลักเศรษฐกิจภูมิภาค 6 จังหวัด (เชียงใหม่,ขอนแก่น,นครราชสีมา, สุราษฎร์ธานี,ภูเก็ต,สงขลา) จำนวน 2.5 ล้านคน
– จังหวัดอื่นๆ 14 จังหวัด (สุพรรณบุรี, สิงห์บุรี,อ่างทอง, สระบุรี,พระนครศรีอยุธยา, ปราจีนบุรี, จันทบุรี,ตราด,ราชบุรี,เพชรบุรี,ประจวบคีรีขันธ์,ชุมพร, ระนอง,พังงา)

Q2 กลุ่มจังหวัดเศรษฐกิจค่อนข้างแข็งแกร่ง 8 จังหวัด เน้นการพัฒนาอาชีพและการหางานให้ทำ
– พะเยา,ลำปาง,แพร่,พิษณุโลก,พิจิตร,ชัยนาท,อำนาจเจริญ,ตรัง จำนวน 1.1 ล้านคน

Q3 กลุ่มจังหวัดที่ขาดเครื่องยนต์ขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจหรือขาดความพร้อม 7 จังหวัด เน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิต
– ลำพูน,กำแพงเพชร,กาญจนบุรี,ลพบุรี,บึงกาฬ,กระบี่,สตูล จำนวน 1 ล้านคน

Q4

– จังหวัดที่ติดกับดักความยากจน ต้องได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วนทั้ง 4 มิติ 12 จังหวัด (เชียงราย,แม่ฮ่องสอน,น่าน,ตาก,หนองบัวลำภู ,สกลนคร,นครพนม,กาฬสินธุ์,มุกดาหาร, ยโสธร,บุรีรัมย์, พัทลุง) จำนวน 2.6 ล้านคน
– จังหวัดที่เศรษฐกิจอ่อนแอ ต้องเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาอาชีพ 20 จังหวัด (ปัตตานี,ยะลา,นราธิวาส,สุโขทัย,อุตรดิตถ์,เลย,หนองคาย,อุดรธานี,เพชรบูรณ์,ชัยภูมิ,นครสวรรค์,อุทัยธานี,นครนายก,สระแก้ว,

มหาสารคาม,ร้อยเอ็ด,สุรินทร์,ศรีสะเกษ,อุบลราชธานี, นครศรีธรรมราช) 5.1 ล้านคน

นางนฤมล กล่าวว่า นอกจากฐานข้อมูลผู้มีรายได้น้อย นายกรัฐมนตรี ยังได้สั่งการให้นำข้อมูลดัชนีชี้วัดความก้าวหน้าของคนรายจังหวัด ซึ่งประกอบด้วย 32 ตัวชี้วัด อาทิเช่น จำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของประชากร ร้อยละของครัวเรือนที่มีหนี้สิน สัดส่วนประชากรยากจน ค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคของรายได้ เป็นต้น มาประกอบการวางแผนนโยบายแก้จน เพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำด้านการพัฒนาคนระหว่างจังหวัดไปพร้อมกันด้วย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า