Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

รมว.เกษตรฯ มุ่งแก้ไขปัญหายางพาราอย่างยั่งยืน หารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึง กำหนดแนวทางการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยางที่มีการขึ้นทะเบียนโดยมีเอกสารสิทธิ์ รายละไม่เกิน 25 ไร่ ในการประกันรายได้ราคายางแผ่นดิบคุณภาพดีที่ราคา 60 บาท/กิโลกรัม จ่อชง ครม.อนุมัติ

เมื่อวันที่ 23 ส.ค.62 นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังหารือถึงมาตรการในการบริหารจัดการยางพารา ว่า ได้หารือแนวทางการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ซึ่งมีเป้าหมายให้เกษตรกรชาวสวนยางได้รับการชดเชยรายได้จากการจำหน่ายยางพารา รายละไม่เกิน 25 ไร่ ในการประกันรายได้ราคายางแผ่นดิบคุณภาพดีที่ราคา 60 บาท/กก. ส่วนยางประเภทอื่นราคาจะลดหลั่นตามสัดส่วนของราคาที่กำหนดในตลาด โดยกำหนดการประกันรายได้ราคาน้ำยางสด 57 บาท/กก. และประกันรายได้ราคายางก้อนถ้วย 50 บาท/กก. ซึ่งได้สรุปถึงรายละเอียดในการดำเนินการเรียบร้อยแล้ว รอในส่วนของขั้นตอนการดำเนินการ

ต่อจากนี้จะเชิญผู้ประกอบการ พ่อค้าคนกลาง และผู้แทนเกษตรกร มาพูดคุยรับรู้และทำความเข้าใจร่วมกัน ซึ่งข้อมูลทั้งหมดจะผ่านการพิจารณาของหน่วยงานต่าง ๆ รวมถึงการนำเสนอประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาต่อไปด้วย คาดว่าจะงบประมาณ 3 หมื่นล้านบาท

ทั้งนี้ การช่วยเหลือด้านราคาให้ชาวสวนยางพารา เป็นสิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการแต่ต้องรอบคอบ เพื่ออุดช่องโหว่ทางกฎหมายที่อาจทำให้เกิดการทุจริต จึงตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 4 คณะ เพื่อมาดำเนินการพิจารณาในแต่ละมิติ ดังนี้คือ 1.คณะกรรมการบริหารโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง 2.คณะทำงานกำหนดราคากลางอ้างอิง 3.คณะกรรมการบริหารโครงการฯระดับจังหวัด 4.คณะทำงานโครงการระดับตำบล

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

“ต้องการแก้ไขเรื่องยางพาราอย่างยั่งยืน ไม่ใช่แก้ไขปัญหาแล้วจบกันไป เพราะฉะนั้นสิ่งที่ได้ทำควบคู่กันไปกับการใช้มาตรการในการประกันรายได้นี้ จะเป็นมาตรการที่จะสร้างความยั่งยืนในด้านของการตลาด ด้านผลผลิตยางพารา เป็นต้น ที่จะสามารถตัด Supply ของจากตลาดไปได้ เพื่อดึงราคาขึ้นโดยธรรมชาติ จะทำควบคู่กันไปด้วย ในเบื้องต้น ถ้าผ่านคณะกรรมการยางแห่งประเทศไทยและผ่าน ครม. เกษตรกรจะได้เริ่มรับเงินในวันที่ 1 ตุลาคม 2562 นี้” นายเฉลิมชัย กล่าว

ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวจะดำเนินการกับเกษตรกรที่มีการขึ้นทะเบียนโดยมีเอกสารสิทธิ์ก่อน จำนวน 1,129,336 ราย พื้นที่ 13,326,540 ไร่ และได้กำหนดระยะเวลาการดำเนินการ 6 เดือน เพราะอยากให้ทุกฝ่ายช่วยกันยกระดับราคาขึ้นมาโดยธรรมชาติ

นอกจากนี้ ในส่วนของภาครัฐทั้งหมด จะมีการทำ MOU ในการทำงานร่วมกันเพื่อทำให้เกิดการนำยางพารามาใช้ในประเทศให้มากที่สุด อย่างไรก็ตาม ได้มอบหมาย กยท. หามาตรการและแนวทางการดำเนินการกับเกษตรกรที่ยังไม่มีเอกสารสิทธิ์ด้วย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า