Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เสก โลโซ นักร้องชื่อดังถูกควบคุมตัวส่งโรงพยาบาล ในวันที่ 19 สิงหาคม 2561 หลังจากไลฟ์สดมานานกว่า 30 ชั่วโมง กระแสข่าวในโลกออนไลน์ส่วนใหญ่จะพูดถึงอาการของเสก แต่ท่ามกลางความเป็นห่วงถึงการเข้าประสานควบคุมตัว กลุ่ม “มือปราบจิตเวช” คือกลุ่มคนที่เข้าไปรวบตัวเสก โลโซ และพาไปส่งที่โรงพยาบาลเอาไว้ได้

“ภาพที่คุณเห็นว่าผม 3 คน  ไปยืนถ่ายรูปและยกนิ้ว ผมบอกเลยว่าเนี่ยมันเป็นแผนของผมเอง

เผยนาทีเข้ารวบตัวเสก โลโซ

คำบอกเล่าจาก ‘ธีระพงศ์ ลักษณาวงศ์’ หรือ จ๊อส ผู้ประกอบการรถรับส่งผู้ป่วยจิตเวช หรือชื่อที่คนในวงการกู้ภัยขนานนามว่าเขาคือ “มือปราบจิตเวช” เขาคือทีมที่เข้าไปรับตัว ‘เสก โลโซ’ หรือ นายเสกสรรค์ ศุขพิมาย ร็อกเกอร์ขวัญใจมหาชน ไปส่งโรงพยาบาลเพื่อรักษาอาการป่วยเป็นโรคไบโพลาร์ หรือ อารมณ์ 2 ขั้ว เมื่อวันที่ 19 ส.ค. 61

ธีระพงศ์ ได้รับการติดต่อจากเลขาฯส่วนตัว ‘กานต์ วิภากร’ อดีตภรรยาเสก ขอให้ไปรับตัว เสก โลโซและพาไปพบแพทย์ เนื่องจากไม่มีใครสามารถเกลี้ยกล่อมให้ยอมไปได้ เขาเล่าถึงวินาทีที่เข้าไปพาตัว เสก โลโซ ถึงในบ้าน ว่าต้องพยายามหาวิธีเข้าไปประชิดตัวเสกให้มากที่สุด โดยในช่วงแรกเขาทำทีเข้าไปในฐานะแฟนคลับที่ชื่นชอบ โดยขอถ่ายภาพร่วมกันเป็นที่ระลึกเพื่อให้ เสก โลโซ ตายใจ ก่อนแสดงตัวว่าจะพาเขาไปโรงพยาบาลก็มีขัดขืนเล็กน้อย

ธีระพงศ์ ลักษณาวงศ์ หรือ จ๊อส ผู้ประกอบการรถรับส่งผู้ป่วยจิตเวช

ทำยังไงก็ได้ ให้คุณเข้าไปอยู่ใกล้คนไข้เยอะที่สุด พอคุณเข้าไปอยู่แล้ว อย่าง 3 คน เราแสดงตัวว่า พี่ครับผมต้องพาพี่ไปโรงพยาบาลนะ เขาถามผมว่าเป็นใคร ผมไม่ได้เป็นใครหรอก แต่ว่าผมต้องพาพี่ไปหาหมอ ผมหวังดีนะ ผมพูดเล่นๆว่า ใจสั่งมา เขารู้ทันทีเลย เขาก็ขัดขืนสู้เราก็ล็อกเลย พอล็อกเสร็จปุ๊ป เขาพยายามจะหยิบขวดไวน์ แต่คือด้วยว่าเราเข้าไปประชิดตัวขนาดนั้นแล้วไม่มีทางที่จะหยิบอาวุธ หยิบอะไรได้” ธีระพงศ์ กล่าว

ภาพถ่ายทีมกู้ภัยกับเสก โลโซ ก่อนการล็อกตัวไปโรงพยาบาล ภาพจากเพจจิตเวชฉุกเฉินและรถพยาบาลรับส่ง

วางแผนร่วมกับครอบครัว 3 วันเต็ม

ปฏิบัติการครั้งนี้ ไม่ง่ายอย่างที่คิด ธีระพงศ์ บอกว่า ก่อนจะเข้าไปถึงตัว เสก โลโซ ได้ทีมกู้ภัยจิตเวช ต้องวางแผนและหาวิธีร่วมกับครอบครัวถึง 3 วัน โดยวันแรกรถพยาบาลทีมกู้ภัยจิตเวชไม่สามารถขอเข้าไปในหมู่บ้านได้ เนื่องจากเป็นยามวิกาล และเหตุผลที่ต้องไปกลางคืนเพราะไม่ต้องการให้คนเห็น วันที่ 2 ก็รอโอกาสที่และจังหวะที่จะเข้าไปใกล้เสกแต่ยังเข้าไม่ได้ และวันที่ 3 เป็นวันที่ทีมสามารถเข้าไปถึงบ้านของเสกได้ จึงวางแผนตกลงกับคนในบ้านว่าจะต้องตัดสัญญาณ Wi-Fi เพราะรู้ข้อมูลมาว่าเสกใช้สัญญาณ Wi-Fi ในการไลฟ์  เพื่อให้มีจังหวะเข้าหา และเพื่อไม่ให้คนที่ติดตามชม ไลฟ์อยู่เห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยการเข้าล็อกตัวเสกไปหาหมอครั้งนี้ ใช้เวลาเพียงไม่ถึง 5 นาทีเท่านั้น

ภาพทีมกู้ภัยจิตเวชขณะปฏิบัติภารกิจพาผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล ภาพจากเพจจิตเวชฉุกเฉินและรถพยาบาลรับส่ง

เสก โลโซ ยังมีสติ ไม่ไล่ทำร้ายคนรอบข้าง

หากเปรียบเทียบกับประสบการณ์ที่ ธีระพงศ์ และลูกน้องในทีมเคยถูกญาติร้องขอให้ไปช่วยนั้น กรณีเสกถือว่าง่าย เพราะไม่มีอาการคลุ้มคลั่ง ไม่มีอาวุธ เพราะบางคนมรอาการรุนแรง ไล่ทำร้ายคนรอบข้าง เจ้าหน้าที่ และที่เคยเจอหนักๆ คือ เอามีดไล่ฟัน นักมวยต่อยหัวแตก ทุกครั้งก่อนลงมือปฏิบัติภารกิจ ญาติ จึงต้องให้ความร่วมมือทั้งบอกอาการ และวางแผนร่วมกัน เพื่อให้ผู้ป่วย ผู้ปฏิบัติงาน และญาติ ปลอดภัย

ภาพทีมกู้ภัยจิตเวชขณะปฏิบัติภารกิจพาผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล เครดิต : เพจจิตเวชฉุกเฉินและรถพยาบาลรับส่ง

“ที่เราบอกว่าต้องวางแผนก่อนหมายความว่า หนึ่ง คนไข้ทุกคนหวาดระแวง เราเข้าไปอยู่ในบ้านเราไม่รู้ว่าในบ้านมีอาวุธ หรือไม่มีอาวุธ สอง เราจะเข้าข้างหน้าบ้านเขาก็จะเห็น ต้องเข้าด้านหลังถูกไหมครับ สามคือถ้าเกิดคนไข้ยก ตัวอย่างอยู่ในรถ รถสตาร์ทเครื่องอยู่ คุณจะทำอย่างไรก็ได้ที่จะจับเขา แต่มันมีข้อแม้เดียว คุณ คนรอบข้าง และคนไข้ต้องปลอดภัย” ธีระพงศ์ กล่าว

ในแต่ละวันทีมกู้ภัยจิตเวชของธีระพงศ์ ได้รับการติดต่อจากญาติผู้ป่วยด้านจิตเวชและผู้ติดยาเสพติดเฉลี่ยวันละ 20-30 ราย จากทั่วประเทศ แต่เขาจะเลือกรับเฉพาะรายที่ เจ้าหน้าที่ตำรวจ อาสากู้ภัยในพื้นที่ และหน่วยงานของรัฐไม่สามารถรับมือได้ เช่น อยู่พื้นที่ห่างไกล ผู้ป่วยคลุ้มคลั่งจนไม่สามารถนำตัวไปได้ เท่านั้น และต้องประเมินด้วยว่า หากไปปฏิบัติภารกิจแล้วทีมงานจะมีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด

ภาพทีมกู้ภัยจิตเวชขณะปฏิบัติภารกิจพาผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล เครดิต : เพจจิตเวชฉุกเฉินและรถพยาบาลรับส่ง

สำหรับจุดเริ่มต้นที่ทำให้เขาก้าวเข้ามาในอาชีพ “กู้ภัยจิตเวช” มาจากก่อนหน้านี้ประมาณ 4 ปี ที่แล้วเขาเป็นอาสาสมัครกู้ภัย และเริ่มมีคนมาขอให้ไปช่วยพาผู้ป่วยไปหาหมอ จาก 1 ราย 2 ราย 3 ราย และเริ่มมีมากขึ้น เมื่อมีประสบการณ์จึงผลันตัวมาเป็นกู้ภัยเฉพาะทางจิตเวช ในชื่อทีมว่า “เซฟตี้ทีมไทยแลนด์” หวังเพิ่มทางเลือกให้ครอบครัวผู้ป่วยที่ต้องการนำตัวไปรักษา

 

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า