SHARE

คัดลอกแล้ว

ก้าวไกล รวมเสียง ส.ส.ยื่นญัตติขอตัดอำนาจ ส.ส.โหวตเลือกนายกรัฐมนตรีครบจนได้ หลังจากได้ฝ่ายรัฐบาล 8 พรรค นำโดยประชาธิปัตย์-ภูมิใจไทย ที่เอาด้วย ลุ้นเข้าสภาพิจารณาพร้อมกับกรณีขอแก้ ม.256 ให้มี ส.ส.ร.มาร่างใหม่ทั้งฉบับ 23-24 ก.ย.นี้

วันที่ 8 ก.ย. 2563 ที่รัฐสภา ส.ส.ฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล รวม 13 พรรค นำโดยนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ ร่วมกันเสนอญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อยกเลิกมาตรา 272 เกี่ยวกับการให้อำนาจ ส.ว.ร่วมลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี


นายชวน กล่าวว่า ตามขั้นตอนจะส่งให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบองค์ประกอบว่าครบถ้วนตามข้อบังคับหรือไม่ และให้บรรจุในระเบียบวาระภายใน 15 วัน ซึ่งญัตติแรกที่ฝ่ายค้านเสนอมา (แก้ ม.256 ให้ตั้ง ส.ส.ร.) ได้บรรจุอยู่ในระเบียบวาระแล้ว ส่วนจะญัตติของพรรคร่วมรัฐบาลอยู่ระหว่างการตรวจสอบโดยรองประธานสภาผู้แทนราษฎร หากตรวจสอบได้ทัน และเป็นเรื่องในทำนองเดียวกันก็สามารถบรรจุในระเบียบวาระเพื่อประชุมวันที่ 23 -24 ก.ย.พร้อมกับญัตติที่บรรจุในระเบียบวาระก่อนหน้านี้

นายพิธา กล่าวว่า การยื่นญัตติครั้งนี้มี ส.ส.ทั้งหมด 99 รายชื่อ 13 พรรคการเมือง ทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล เป็นไปตามเงื่อนไขรัฐธรรมนูญว่าต้อง มีผู้ร่วมลงชื่อไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 272 โดยมีสาระสำคัญคือการยกเลิกอำนาจวุฒิสภาร่วมลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี และเป็นไปได้ว่าอาจจะสามารถร่วมพิจารณาได้ในวันที่ 23-24 ก.ย.นี้

ด้านนายสาทิตย์ กล่าวว่า ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์กลุ่มตนเองและพรรคก้าวไกล ต่างก็มีการยกร่างของตัวเองขึ้นมา แต่เมื่อแต่ละฝ่ายมีเสียงไม่ครบตามเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญ ก็เลยมาพูดคุยกัน แล้วมีความเห็นร่วมกันลงชื่อเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญยกเลิกมาตรา 272 โดยมี ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล 8 พรรค และพรรคร่วมฝ่ายค้าน 5 พรรค

ยืนยันว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้เล่น 2 ทาง แต่มองว่ามาตรา 272 เป็นเงื่อนไขสำคัญที่ต้องยกเลิก เพราะเป็นเรื่องสืบทอดอำนาจชัดเจน เพื่อให้ประเทศกลับมาสู่จุดยืนในระบอบประชาธิปไตยที่ชัดเจนอีกครั้ง และยังลดเงื่อนไขข้อเรียกร้องการชุมนุม แม้กระทั่ง ส.ว.จำนวนมากก็เห็นด้วยในหลักการนี้ ยืนยันว่าดำเนินการด้วยความเป็นห่วงเป็นใยต่อสถานการณ์บ้านเมือง ไม่มีประเด็นการเมืองอื่นใดเข้ามาเกี่ยวข้อง

ส่วนการลงชื่อเสนอญัตติของ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ นายสาทิตย์ ยอมรับว่า ไม่ได้เป็นมติพรรค ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ลงชื่อทุกคน แต่เปิดเผยว่า ส.ส.ของพรรคที่ลงชื่อ มีครบทุกภูมิภาค ครบทุกกลุ่ม พร้อมย้ำว่า แม้ไม่ได้เป็นมติพรรค แต่เป็นเอกสิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญที่ ส.ส.จะตัดสินใจได้

ทั้งนี้ การเสนอญัตตินี้ มี ส.ส.พรรคภูมิใจไทย ร่วมลงชื่อด้วย แต่ไม่มี ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ และ ส.ส.พรรคเพื่อไทย โดยนายพิธา กล่าวว่า ยินดีหากพรรคเพื่อไทยจะร่วมเสนอร่างประกบด้วย ซึ่งพรรคเพื่อไทยเองก็มี ส.ส. เพียงพอที่จะเสนอญัตติอยู่แล้ว

ขณะที่พรรคเพื่อไทยมีมติเมื่อวันที่ 25 ส.ค.ว่า จะมุ่งไปที่การแก้ ม. 256 ส่วนเรื่องการตัดอำนาจ ส.ว. เห็นด้วยแต่มองว่ายังไม่ใช่เวลาที่จะดำเนินการในเรื่องนี้ จึงมีมติไม่ร่วมลงชื่อกับพรรคก้าวไกล

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า