Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว
จากกรณีเมื่อวันศุกร์ที่ 21 ส.ค. ที่ประชุม คณะอนุกรรมาธิการ (กมธ.) ครุภัณฑ์ ICT รัฐวิสาหกิจ และทุนหมุนเวียน พิจารณาและลงมติเรื่องการจัดซื้อเรือดำน้ำ 2 ลำ มูลค่า 22,500 ล้านบาท จากจีนของกองทัพเรือ ซึ่ง ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ลงมติเสมอกัน 4-4 และนายสุพล ฟองงาม ประธานอนุ กมธ. โควตาพลังประชารัฐ ออกเสียงให้จัดซื้อจนเป็น 5-4

พรรคเพื่อไทย แลถงข่าวเมื่อ 23 ส.ค. 63

ต่อมา นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม และนายครูมานิตย์ สังข์พุ่ม ส.ส.สุรินทร์ ซึ่งเป็นคณะอนุ กมธ. เสียงข้างน้อย แถลงข่าว ถึงความเหมาะสมในการจัดซื้อ ในขณะที่ประชาชนกำลังได้รับผลกระทบจากโควิด และตั้งข้อสังเกตว่าสัญญาจัดซื้อเรือลำแรกแบบรัฐต่อรัฐ หรือจีทูจี อาจจะไม่ถูกต้อง เป็นจีทูจีเก๊

พล.ร.ท.ประชาชาติ ศิริสวัสดิ์ รองเสนาธิการทหารเรือ ในฐานะโฆษกกองทัพเรือ

วันที่ 24 ส.ค. 2563 ที่กองบัญชาการกองทัพเรือ พล.ร.ท.ประชาชาติ ศิริสวัสดิ์ รองเสนาธิการทหารเรือ ในฐานะโฆษกกองทัพเรือ และคณะแถลงชี้แจง การจัดซื้อเรือดำน้ำจากจีน  โดยโฆษกกองทัพเรือ กล่าวว่า การแถลงที่ผ่านมา มีการบิดเบือนไปจากความเป็นจริง สร้างความเสียหายให้กับส่วนรวมและสังคม นำมาซึ่งความแตกแยก ทำให้เกิดความเกลียดชังกองทัพเป็นสิ่งไม่สมควร การกล่าวว่าเป็นจีทูจี สัญญาเก๊ สร้างความประหลาดใจ กรณีพรรคเพื่อไทย เรื่องจำนำข้าวอันนั้นสิเก๊ และเป็นพรรคที่ซื้อไม่ถูกต้อง แต่กองทัพเรือซื้ออย่างถูกต้องโปร่งใส  การให้ระบุว่ากองทัพเรือใช้เงินฟุมเฟือยไม่มีสาระ เป็นการให้ข่าวเพื่อประโยชน์ทางการเมืองอย่างเห็นแก่ตัวที่สุด
ด้าน พล.ร.อ. สิทธิพร มาศเกษม เสนาธิการทหารเรือ กล่าวว่า มีบางท่านใน อนุ กมธ. นำข้อมูลบางประเด็นมาแถลงไม่ครบถ้วนทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อน อาจจะเกิดจากความหวังผลทางการเมือง เพื่อให้มีผลกระทบกับรัฐบาล กองทัพเรือที่เกียวข้องกับความมั่นคง มีความจำเป็นต้องนำข้อเท็จจริงชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจถูกต้อง
เรือดำน้ำเป็นอาวุธทางยุทธศาสตร์จำเป็นในการรักษาผลประโยชน์ของชาติ ในอดีตเราก็มีเรือดำน้ำสมัยสงครามอินโดจีน 4 ลำ จึงได้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศ แต่หลายครั้งถูกโยงเป้นประเด็นทางการเมือง  เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2560 ตอนที่ พล.ร.อ.ลือชัย รุดดิษฐ์ ผบ.ทร. เป็นเสนาธิการทหารเรือ  ได้มีการจัดแถลงข่าวเหตุผลความจำเป็น และนำมาสู่การจัดซื้อลำแรกแบบจีทูจี ซึ่งจะได้เรือเข้าประจำการในปี 2566
ขณะที่ พล.ร.ท.เถลิงศักดิ์ ศิริสวัสดิ์ เจ้ากรมยุทธการทหารเรือ แถลงว่า การที่มองว่าสงครามจะไม่เกิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้นี้ รวมทั้งสงครามโลกครั้งที่ 3 เป็นเรื่องที่ถูกต้อง
แต่ในทะเลจีนใต้ใกล้กับบ้านเรา มีความขัดแย้งเรื่อง หมู่เกาะสแปรตลี และหมู่เกาะพาราเซล ที่หลายชาติประกาศตัวเป็นเจ้าของ เช่น จีน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และอื่นๆ
มีการก่อสร้างสถานี สนามบิน เกิดขึ้นในพื้นที่ สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นเหตุที่อาจเกิดการปะทะกันในทะเล มีตัวอย่าง เรือจีนชนเวียดนาม และปัจจุบัน สหรัฐอเมริกา นำกำลังทางเรือและอากาศ เข้าไปในทะเลจีนใต้มากขึ้น
หากเกิดการปะทะกันในทะเลจีนใต้ ซึ่งเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่ประเทศไทยใช้เป็นเส้นทางคมนาคม สินค้าเข้าออก 24 ล้านล้านบาทจะมีปัญหา หากเกิดเหตุการณ์ใครจะไปคุ้มครองดูแล กองทัพเรือต้องทำ ถ้าไม่มีกำลังเข้มแข็งเพียงพอ ผลประโยชน์ของชาติจะได้รับผลกระทบแน่
นอกจากนี้ การที่อินเดีย เริ่มเข้ามามีบทบาทในทะเลจีนใต้มากขึ้น ซึ่งเขาประกาศว่าถ้าถูกปิดจะกระทบเอกราช ส่วนเกาหลีใต้และเกาหลีเหนือ มีการใช้อาวุธต่อกันหลายครั้ง จะมั่นใจได้ไหมว่า จะไม่มีการปะทะ ไม่มีเหตุการณ์นองเลือด แม้ไม่ใช่สงครามขนาดใหญ่ แต่อาจจะมีการปะทะกัน และต้องไม่ลืมว่าการจัดซื้อวันนี้อีก 6 ปี จึงได้รับ
พล.ร.ท. เถลิงศักดิ์ กล่าวด้วยว่า กรณีพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย มูลค่า 3 แสนล้านบาทต่อปี จะสิ้นสุดสัญญาในปี 2572 คำถามคือ ถ้าถึงปีนั้นไม่มีเรือดำน้ำ การเจรจาต่อรองผลประโยชน์ของชาติ ถ้าไม่มีกำลังเข้มแข็งอำนาจการต่อรองของเราจะมีมากหรือน้อยอย่างไร
ขอยืนยันว่า ผลประโยชน์ของชาติ กองทัพเรือจัดซื้อเรือดำน้ำ 2 ลำ มูลค่า 22,500 ล้านบาท ยอดชำระปี 2564 จำนวน 3,925 ล้านบาท เมื่อเทียบกับผลประโยชน์ของประเทศ เพียง 0.093% เท่านั้น ดังนั้น ขอยืนยันว่ากองทัพเรือได้พิจารณาอย่างรอบคอบและมีความคุ้มค่าต่อเศรษฐกิจ ยุทธศาสตร์ และความมั่นคงอย่างเต็มที่
พล.ร.ท. ธีรกุล กาญจนะ ปลัดบัญชีทหารเรือ ชี้แจงว่า งบประมาณจัดซื้อรือดำน้ำ 2 ลำ รวม 22,500 ล้านบาท มีการกำหนดจ่ายเงินเป็นงวด โดยหากไม่มีโควิดจะมีการจ่ายงวดแรกปี 2563 วงเงิน 3,375 ล้านบาท แต่เมื่อรัฐบาลต้องการงบไปสู้กับโควิดเราจึงได้ส่งเงินส่วนนี้รวมกับส่วนอื่นๆ คืน  4,130 ล้านบาท
ส่วนปีนี้มีการจัดทำตามงบประมาณปี 2564 วงเงิน 3,925 ล้านบาท, ปี 2565 วงเงิน 2,640 ล้าน, ปี 2566 วงเงิน 2,500 ล้านบาท, ปี 2567 วงเงิน 3,060 ล้านบาท, ปี 2568 วงเงิน 3,500 ล้านบาท, ปี 2569 วงเงิน 3,500 ล้านบาท และปี 2570 โยกมาจากที่ต้องจ่ายปี 2563 วงเงิน 3,375 ล้านบาท
ทั้งนี้ เป็นการทยอยใช้จ่ายในกรอบงบประมาณของกองทัพเรือโดยปกติ  ไม่ได้ขอรับงบเพิ่มเติมแต่ใช้วิธีลดตัดรายจ่ายการจัดหาอาวุธอื่นๆ ลงโดยไม่กระทบภารกิจ และเป็นไปตามกฎหมายทุกประการ
น.อ. ธาดาวุธ ทัตพิทักษ์กุล รองผู้อำนวยการสำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ ในฐานะกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการบริหารโครงการจัดหาเรือดำน้ำ กล่าวว่า
ประเด็นเรื่องที่กล่าวหาว่าเป็นจีทูจีปลอมเป็นการกล่าวเท็จ ทางฝั่งไทยมีมติ ครม. เมื่อ 18 เม.ย. 2560 อนุมัติให้ ผบ.ทร.หรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามในข้อตกลงการจ้างสร้างเรือดำน้ำในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทย มีการมอบอำนาจมีกฎระเบียบชัดเจน ส่วนทางฝั่งจีนก็มีการมอบอำนาจถูกต้อง ให้บริษัท  CSOC ลงนามในสัญญา
ขณะเดียวกันในการเจรจากองทัพเรือได้พยายามอย่างที่สุดในการเจรจาต่อรอง ทำให้จีนรับประกันมากกว่าปกติ คือ 2 ปี จากปกติ 1 ปีเท่านั้น และได้เรื่องของการฝึกอบรมให้ทำการรบได้จริง เพราะเราไม่มีเรือดำน้ำมาแล้ว 69 ปี  ต้องเริ่มต้นกระบวนการใหม่ นอกจากนั้นยังได้การเพิ่มขีดความสามารถด้านอื่นๆ เช่น อาวุธ การป้องกันตนเอง มูลค่า มากกว่า 2,100 ล้านบาท
ส่วนเรื่องผลกระทบหากไม่มีการจัดซื้อ พล.ร.ต.อรรถพล เพชรฉาย ผู้อำนวยการสำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการบริหารโครงการจัดหาเรือดำน้ำ กล่าวว่า เรามีการเจรจากับรัฐบาลจีนโดยพื้นฐานที่ 3 ลำตลอด  โดยจัดหาลำที่ 1 ก่อน ในวงเงิน 13,500 ล้านบาท ตัวเรือ 12,000 ล้านบาท และสิ่งสนับสนุน 1,500 ล้านบาท
ส่วนลำที่ 2-3 คิดเฉลี่ยได้ราคาตัวเรือถูกกว่าลำที่ 1 คือ ลำละ 11,250 ล้านบาท และยังได้ส่วนเพิ่ม คือ จีนให้อุปกรณ์แผ่นยางหุ้มตัวเรือลดเสียงสะท้อน ทำให้เรือลำอื่นตรวจจับเสียงของเรายากขึ้น มีระบบสื่อสารดาวเทียม และอาวุธ คือ จรวดนำวิถี  ทุ่นระเบิด ตอร์ปิโด รวม 2,100 ล้านบาท และเรายังบีบจนเขายอมเติมอุปกรณ์เหล่านี้ให้เรือลำแรกด้วย
ดังนั้นในปี 2569-2570 เราจะมีเรือดำน้ำที่เหมือนกัน 3 ลำ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์  เพราะถ้ามีลำเดียว หากอยู่ฝั่งอันดามัน เขาจะรู้ว่า ฝั่งอ่าวไทยไม่มีก็หมดความน่ากลัว หรือถ้าเกิดสงครามเป็นจังหวะที่เรือซ่อมอยู่มีลำเดียวเขาก็จะรู้ แต่ถ้ามีเพิ่มอีก 2 ลำใครจะเสี่ยงกล้าเข้ามา
ทั้งนี้ หากไม่ดำเนินการตามที่เจรจาไว้ ต่อไปเราจะไปคุยค้าขายกับจีนอย่างไร เขาจะเชื่อเราหรือ เพราะพูดอย่างหนึ่งทำอีกอย่างหนึ่ง ช่วงสถานการณ์โควิดที่เลื่อนไปเขาก็เข้าใจ  แต่พอมาถึงปีที่พอจะสนับสนุนงบได้ กองทัพเรือจึงเห็นความจำเป็นและเป็นช่วงที่ต้องได้เรือมาใช้ดูแลผลประโยชน์ของประชาชน
ขณะที่ใบเสนอราคาที่จะสิ้นสุด 30 ก.ย. 63 เขาอาจจะยืดให้ถ้ามีแนวโน้มใช้เวลาเพิ่มเติม แต่ปกติถ้าเลยเวลาแล้ว ต้องตกลงกันใหม่ ทั้งราคา ทั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม แล้วถ้ามาช้ากว่านี้ ปี 2569-2570 ประชาชนจะอยู่อย่างเป็นสุขอย่างไร ถ้าประชาชนถูกบีบคั้นจากคนที่มีสถานะทางเศรษฐกิจสูงกว่า เพราะตอนนี้ก็มีปัญหาเรื่องพื้นที่ซ้ำซ้อนกันแยู่ เราจะคุยกับเขาได้อย่างไร  ส่วนค่าปรับหากไม่มีการจัดซื้อตามที่ตกลงกันไว้ ยอมรับว่าไม่มี
วีดิทัศน์ที่กองทัพเรือเปิดชี้แจงระหว่างการแถลงข่าว และใช้ชี้แจงต่ออนุ กมธ.ก่อนหน้านี้ 

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า