Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

นายณัฐกร อุเทนสุต ผู้อำนวยการสำนักแผนภาษี ในฐานะรองโฆษกกรมสรรพสามิต

ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.เป็นต้นไป เครื่องดื่มความหวานบางรายการ จะถูกเก็บภาษีเพิ่มขึ้น ตั้งแต่ 5 สตางค์ ถึง 1 บาทต่อลิตร ขณะที่กรมสรรพสามิต ปรับเกณฑ์กำกับเครื่องดื่มดัดแปลงที่อาจมีส่วนผสมเพื่อสุขภาพ หรือ ฟังก์ชั่นนอลดริ๊งค์ ห้ามเติมวัตถุปรุงแต่งเพื่อใช้สิทธิยกเว้นภาษี ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตอาจเพิ่มขึ้น คาดเพิ่มการจัดเก็บรายได้อีกไม่น้อยกว่า 1,500 ล้านบาท  

เมื่อวันที่ 9 ก.ย.62 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายณัฐกร อุเทนสุต ผู้อำนวยการสำนักแผนภาษี ในฐานะรองโฆษกกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ในวันที่ 1 ต.ค.62 จะมีการปรับขึ้นอัตราภาษีความหวานใหม่อีกเท่าตัว ส่งผลให้ เครื่องดื่มในท้องตลาดส่วนใหญ่ ปรับเพิ่มขึ้น ไม่เกินขวดละ 1 บาท หรือ อาจไม่ปรับราคาขายปลีกเลย โดยการปรับขึ้นภาษีเครื่องดื่มให้ความหวานเป็นแบบขั้นบันได ดังนี้

  • ปริมาณน้ำตาลไม่เกิน 10 กรัม จะเก็บภาษีตามเดิม ที่ 30 สตางค์ต่อลิตร
  • ปริมาณน้ำตาล 10 – 14 กรัม จากเดิม 50 สตางค์ เป็น 1 บาทต่อลิตร
  • ปริมาณน้ำตาล 14 – 18 กรัม จากเดิม 1 บาท เป็น 3 บาทต่อลิตร
  • ปริมาณน้ำตาลเกิน 18 กรัมขึ้นไป จากเดิม 1 บาท เป็น 5 บาทต่อลิตร

ทั้งนี้ จะมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2562  – 30 ก.ย.2564 ซึ่งเชื่อว่าไม่กระทบผู้บริโภค ยกเว้น เครื่องดื่มบางรายการ ที่ไม่พยายามหานวัตกรรมปรับสูตรเครื่องดื่ม ให้สอดคล้องกับนโยบาย

แต่หากคำนวณภาระภาษีจริงตามขนาดบรรจุภัณฑ์ เครื่องดื่มน้ำดำ จะมีภาระภาษีเพียงกระป๋องละ 10-20 สตางค์ พร้อมเปรียบเทียบกับบริษัทผู้ผลิตน้ำดำคู่แข่ง กลับพัฒนาสูตรความหวานแบบรสดั้งเดิม แต่สามารถลดปริมาณน้ำตาลจริงลงครึ่งหนึ่ง ส่งผลให้ภาระภาษีลดลง จากเดิม กระป๋องละ 1 บาท เหลือ 10 สตางค์ เช่นเดียวกับ ผู้ผลิตเครื่องดื่มความหวานอีกกว่า 60 – 70 ยี่ห้อ ที่ปรับสูตรลดความหวานลง เพื่อลดภาระต้นทุนภาษีจากการบังคับใช้อัตราใหม่

ขณะที่ เครื่องดื่มดัดแปลงที่อาจมีส่วนผสมเพื่อสุขภาพ เช่น ช่วยย่อยอาหาร บำรุงสมองหรือ ที่เรียกว่า “เครื่องดื่มฟังก์ชั่นนอล ดริ๊งก์” และน้ำผักน้ำผลไม้ อาจเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด อาจมีภาระต้นทุนภาษีความหวานเพิ่มขึ้น ขวดละ 5-15 สตางค์ หลังกรมฯ ปรับเกณฑ์ให้ผู้ผลิตเครื่องดื่มประเภทนี้ ใช้ผักและผลไม้จริงในสัดส่วนที่เหมาะสมมากขึ้น หลังพบว่า ผู้ผลิตบางราย โฆษณาว่าเป็นเครื่องดื่มสุขภาพจากผักและผลไม้ แต่กลับใช้น้ำองุ่นขาว เป็นส่วนผสมหลัก และเติมสารปรุงแต่ง เช่น คอลลาเจน เพื่อให้ปริมาณกากใยอาหาร หรือ ไฟเบอร์ เข้าเงื่อนไขได้รับสิทธิยกเว้นภาษี ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อผู้บริโภค

ผู้อำนวยการสำนักแผนภาษี คาดว่า การจัดเก็บภาษีความหวานอัตราใหม่ จะช่วยเพิ่มจัดเก็บรายได้อีก 1,500 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิมที่จัดเก็บได้จากการบังคับใช้รอบแรก 4,000 ล้านบาท โดยแผนปรับภาษีความหวาน กรมจะจัดเก็บในอัตราขั้นบันไดทุก 2 ปี ซึ่งจะปรับขึ้นภาษีรอบใหญ่อีกครั้ง ในช่วงวันที่ 1 ต.ค.2564 – 30 ก.ย.2566

ซึ่งกรมสรรพสามิต เดินหน้าประสานงานกับกระทรวงสาธารณสุข ศึกษาความเป็นไปได้ในการเก็บภาษีสุขภาพรายการใหม่ในอนาคต ทั้งภาษีความเค็มและไขมัน รวมทั้ง เครื่องดื่มเบียร์ 0% และยาเส้น หลังพบปริมาณการบริโภคยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งอาจสร้างภาระทางการคลัง จากค่าใช้จ่ายสุขภาพที่เพิ่มขึ้น พร้อมยอมรับว่า กรมสรรพสามิต ได้รับมอบหมายจัดเก็บรายได้ในปีงบประมาณ 2563 เพิ่มขึ้น จากเป้าหมาย 580,000 ล้านบาท เป็น 642,000 ล้านบาท

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า