Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ในการเลือกตั้ง 2562 พรรคพลังประชารัฐ ส่งคนรุ่นใหม่ลงสมัครรับเลือกตั้งในหลายเขต โดยชูวิสัยทัศน์และนโยบาย “Bangkok OK วันพรุ่งนี้ต้องดีกว่านี้” อุ๋ม ธณิกานต์ พรพงษาโรจน์ เป็นหนึ่งใน ผู้สมัครที่ได้รับเลือกตั้งเป็นส.ส.กรุงเทพมหานคร เขตบางซื่อ-ดุสิต ตั้งแต่ช่วงหาเสียงเธอรับผิดชอบ Bangkok OK ในมิตินโยบายความปลอดภัยใกล้ตัว ที่จะพัฒนาเรื่องกล้องซีซีทีวี (CCTV) ให้ดีขึ้น

ทีมข่าวเวิร์คพอยท์ได้มีโอกาสพูดคุยกับ ส.ส.อุ๋ม ถึงสิ่งที่ตั้งใจอยากทำให้สำเร็จในโอกาสที่ได้ผันตัวเองจากนักธุรกิจสาวไฟแรงแบรนด์กระเป๋าชื่อดัง D.O.C ก้าวเข้าสู่เส้นทางการเมือง

อุ๋ม ธณิกานต์ พรพงษาโรจน์ ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคพลังประชารัฐ

ประเทศนี้ขาดอะไร? สิ่งที่เราจะผลักดันเป็นนโยบายได้คืออะไร? คือสิ่งที่ อุ๋ม ธณิกานต์ ถามตัวเองทันทีที่ตอบรับคำชวนจากนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กระทรวงดีอี) ซึ่งเธอก็ได้คำตอบด้วยการวัดจากตัวเองว่าเธอไม่รู้สึกปลอดภัยในประเทศนี้

อุ๋ม ธณิกานต์: เป็นผู้หญิงที่อยู่ในเมืองพุทธ สยามเมืองยิ้ม แต่ไม่รู้สึกปลอดภัย เดินหน้าปากซอยที่ไม่ได้เปลี่ยวมากแค่มืดๆ ก็ไม่รู้สึกปลอดภัย อย่างนี้มันเกิดขึ้นในกรุงเทพฯ แต่สมมุติไปญี่ปุ่นไม่รู้สึก ดึกดื่นเที่ยงคืนก็ยังเดินอยู่ หรืออย่างไปอเมริกาก็ได้ยินเสียงสายตรวจลาดตระเวน มีกล้องซีซีทีวี หรือเชื่อมั่นในระบบรักษาความปลอดภัยของเขา

แต่ประเทศนี้ คือเดินๆ อยู่ไม่รู้ว่ามอเตอร์ไซต์จะขับมาชนเราไหม ขับขึ้นมาบนฟุตปาธไหมคือไม่มีอะไรแน่นอนเลย มันอาจจะฟังดูไม่ใหญ่แต่สำหรับตัวเองมองว่ามันครอบคลุม หรืออย่างเรื่องดิจิทัลพอเข้ามามากๆ อะไรคือความปลอดภัยในข้อมูลของเรา อะไรคือความปลอดภัยทั้งหมดมัน “ไม่มี” เลยคิดว่าในเชิงนโยบายน่าจะช่วยได้

ด้วยความเป็นคนรุ่นใหม่ของพรรคพลังประชารัฐ อุ๋ม ธณิกานต์ มองว่าปัจจุบันคนถูกผลักเข้าไปสู่ดิจิทัลโดยปริยาย ซึ่งถ้าผู้หญิงมีองค์ความรู้ในเครื่องมือดิจิทัล จะสามารถใช้ปกป้องตัวเองได้ เธอจึงทำแคมเปญ Women Homeland Security ทำอย่างไรเดินสองเท้าในบ้านเราแล้วรู้สึกปลอดภัย ซึ่งจะมีทั้งเรื่ององค์ความรู้ การเพิ่มทักษะให้ผู้หญิงปลอดภัยทั้งกายภาพ และภายใน

“อุ๋มไม่เคยเรียกร้องเรื่องสิทธิความเท่าเทียมของผู้หญิงเพราะรู้สึกว่าเราได้มาแล้ว ในชีวิตการเป็นผู้หญิงถ้าเราเลือกเราได้ทุกอย่างเพียงแต่เราเลือกหรือเปล่าหรือเป็นปัญหา Mindset ก็เลยคิดว่าตลอดชีวิตไม่ว่าเราจะเลือกอะไร แต่งตัวยังไง พูดยังไงประเทศนี้ใจดีมาก คือไม่เคยมีปัญหา ไม่รู้สึกว่าถูกละเมิดหรือทำให้ลำบากใจอะไรเลย แถมเวลาถือของผู้ชายในประเทศนี้ใจดีช่วยถือของเพราะผู้หญิงเป็นเพศที่บอบบางกว่า และโดนสอนว่าอย่างนี้เป็นสุภาพบุรุษ ดังนั้นเรื่องสิทธิความเท่าเทียมคิดว่าเราได้มาแล้วสำหรับประเทศไทย แต่เป็นเรื่องความปลอดภัยที่รู้สึกยังไม่ได้”

อุ๋ม ธณิกานต์ พรพงษาโรจน์ ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคพลังประชารัฐ

เดินเต็มสองเท้าอย่างปลอดภัยในกรุงเทพฯ

อุ๋ม ธณิกานต์: อยากรู้สึกว่าผู้หญิงเดินเต็มสองเท้าในกรุงเทพฯ หรือในประเทศไทยแล้วรู้สึกปลอดภัย เช่น เวลาเดินไปเรามั่นใจในกฎหมายของเรา เรามั่นใจในระบบรักษาความปลอดภัย มีตำรวจคอยตรวจตรา มีกล้องซีซีทีวีทุกอย่างใช้ได้ และสามารถตรวจสอบได้เวลาเราเกิดเหตุอะไรขึ้นมา จับคนร้ายได้หรือมีบทลงโทษชัดเจน หลายอย่างพวกนี้มันยังไม่เกิดขึ้น ทำไมคดีข่มขืนยังมีทุกวัน มันเกิดอะไรขึ้น ตรงนี้เป็นสิ่งที่อุ๋มและทีมงานอยากจะศึกษา อยากทำให้เกิดขึ้น และอยากรู้สึกปลอดภัย คิดว่าเทคโนโลยีน่าจะเข้ามาได้ในส่วนนี้

“เวลาลงพื้นที่จะเจอประชาชนส่วนมาก ถ้าไปถามเขาว่ารู้สึกปลอดภัยไหม เขาไม่รู้สึกปลอดภัยค่ะ เนื่องจากว่าไฟฟ้าเขายังไม่เข้าไม่ถึงเลย ในชุมชนไฟดับ พื้นที่เปลี่ยว ที่รกร้างเดินๆ อยู่ทางแคบไม่รู้จะตกท่อไปตั้งแต่เมื่อไหร่ ในเชิงกายภาพเขาก็ไม่ปลอดภัยแล้ว ไม่ต้องพูดถึงในจิตใจเขาก็มีความกลัวบางอย่าง และอารมณ์เยอะมาก จึงเป็นที่มาของการทำประเด็นนี้”

ถนนในกรุงเทพฯ

ผลักดันความปลอดภัยของผู้หญิงเป็นกฎหมาย – เพราะผู้หญิงเป็นตัวชี้วัดได้ดี ถ้าผู้หญิงรู้สึกปลอดภัย ก็จะสังคมปลอดภัย

อุ๋ม ธณิกานต์: โรดแมปที่วางไว้คือเรื่องนี้จะออกมาเป็นกฎหมาย กำลังรวบรวมข้อมูลจากการระดมความคิดในทีมกับการไปรับข้อมูลจากเครือข่าย มูลนิธิต่างๆ ที่ทำงานผลักดันเรื่องผู้หญิง และภาคสังคม นำมาสร้างลิงก์เกจถ่ายทอด

เช่น เรื่องบทลงโทษของการกระทำความผิดต้องออกมาเป็นกฎหมาย หรือเรื่องพ.ร.บ.ไซเบอร์ ตอนนี้มีการพูดถึงประเด็นเฟคนิวส์ (Fake News) หรือ Post Truth ที่ทำให้คนเราไม่สนใจว่าความจริงคืออะไร แต่สนใจว่าเรารู้สึกอย่างไรกับโพสต์นี้แล้วก็คอมเมนต์กันเลย พวกนี้เราจะมีนโยบายอย่างไรหรือไม่ เพราะเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงไม่ใช่แค่คนไทย และอย่าลืมว่าคนใช้อินเตอร์เน็ตในการซื้อของก็เป็นผู้หญิงมากมาย ก็เป็นเรื่องความปลอดภัยของผู้หญิงเช่นกัน

ส่วนเรื่องกล้องซีซีทีวี หลังจากที่ไปศึกษามาทุกประเทศมีกล้องเดโม่ ไม่เช่นนั้นต้องใช้งบประมาณมหาศาลในการติดตั้งทุกจุด บางจุดจึงเป็นกล้องเดโม่ แต่อย่างในกรุงเทพสมมุติเราใช้ 50,000 ตัว แต่พื้นที่ของกรุงเทพฯ นั้นมีการทำข้อมูล และวิเคราะห์เทียบกับต่างประเทศกรุงเทพฯ ต้องใช้กล้องซีซีทีวี 200,000 ตัว แสดงว่า เรายังใช้น้อยอยู่ นอกจากนี้กล้องจริงที่มีอยู่เชื่อมต่อกันหรือไม่ เพราะบางตัวไม่ได้เชื่อมกัน ซึ่งกทม.กำลังสั่งให้หน่วยงานไปเชื่อมต่อกัน

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 30 มกราคม ปี 2560 กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) เคยประสานสำนักเทศกิจ กรุงเทพมหานคร (กทม.) แจ้งข้อมูลเรื่องจุดเสี่ยง จุดล่อแหลมต่อการเกิดอาชญากรรม พบว่ามีถึง 217 จุด ซึ่งกทม.ก็ได้สั่งให้สำนักงานเขตทั้ง 50 เขตเข้าไปแก้ไข แต่ความปลอดภัยอย่างแท้จริงก็ยังไม่เกิดขึ้น

ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินไม่ใช่ผู้หญิงเท่านั้นที่ต้องการ มนุษย์ทุกคนมีความปรารถนาในเรื่องนี้เป็นพื้นฐาน หากนโยบายเกิดขึ้นเป็นรูปธรรมนำไปสู่การปฏิบัติได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ จุดนี้จะเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับกรุงเทพฯ เมืองท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อนที่ดีที่สุดจากที่นิตยสาร Business Traveller เคยมอบรางวัลให้เมื่อปี 2018 และผลลัพธ์ที่ดีที่สุด คือความปลอดภัยจะคืนรอยยิ้มให้กับคนในกรุงเทพฯ ได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข สงบ และปลอดภัยอย่างยั่งยืน

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า