Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เบื้องหลังบริษัทเทคโนโลยีที่ประสบความสำเร็จอย่างมากมายที่เราเห็นกันในทุกวันนี้ ต่างเติบโตจากเพียงแค่สตาร์ทอัพเล็กๆในโรงรถยนต์ จนกลายมาเป็นบริษัทมูลค่าแสนล้านดอลลาร์ ไปจนถึงหลักล้านล้านดอลลาร์

โดยบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำอย่าง Apple, Google, Amazon, Meta (Facebook) และอื่นๆ อีกมากมาย ต่างได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มนักลงทุนที่เรียกว่า ‘Venture Capital’ หรือเรียกย่อๆ ว่า VC นั่นเอง 

[ Venture Capital คืออะไร ทำไมจึงสำคัญ ]

‘Venture Capital’  หรือนักลงทุน VC คือกลุ่มบริษัทร่วมทุนที่มักจะนำเงินไปลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพและบริษัทขนาดเล็กที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินลงทุนของสถาบันการเงินแบบที่บริษัทอื่นๆ โดยนำเงินไปแลกเปลี่ยนเป็นส่วนทุน (หุ้น) ของบริษัทนั้น

ทั้งนี้ ก่อนจะลงทุนในแต่ละครั้ง นักลงทุน VC จะต้องทำการบ้าน โดยจะต้องได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในแต่ละครั้งเป็นจำนวนมากๆ เพื่อทดแทนความเสี่ยงจากการลงทุนในบริษัทขนาดเล็ก

นักลงทุน VC ถือได้ว่ามีความสำคัญจนเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงบริษัทเทคโนโลยี หรือสตาร์อัพขนาดเล็กต่างๆ ในระยะแรกเลยก็ว่าได้

เนื่องจากว่าบริษัทเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพเหล่านี้ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน และในอีกหลายกรณีเจ้าของบริษัทส่วนมากมักจะไม่มีประสบการณ์ในโลกธุรกิจ

ซึ่งเหล่านักลงทุน VC จะคอยทำหน้าที่สนับสนุนทั้งในด้านเงินทุน คอนเนคชัน ความรู้ และกลยุทธ์ในการทำธุรกิจเหล่านั้นให้เติบโต

[ ถอดหลักคิดและกลยุทธ์ของนักลงทุน VC ]

ในโลกของนักลงทุน VC มีตัวอย่างของบริษัทที่ประสบความสำเร็จอย่างมากมาย อาทิ Sequoia Capital, Andreessen Horowitz, Kleiner Perkins, Founders Fund ฯลฯ

นักลงทุนเหล่านี้ ต่างเข้าไปลงทุนในบริษัทที่ประสบความสำเร็จตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น จนสามารถสร้างผลตอบแทนในระดับ 10 เท่าไปจนถึง 1000 เท่าได้สำเร็จ

โดยหลักคิดและกลยุทธ์ของนักลงทุน VC ประกอบไปด้วย 5 ข้อ ดังนี้

1. มองหาผลตอบแทนที่ไม่ธรรมดา

ในการลงทุนแต่ละครั้ง นักลงทุน VC จะคาดหวังผลตอบแทนในระดับเกิน 10 เท่า หรือ 1000% โดยตลอด เนื่องจาก VC มักจะเข้าไปลงทุนในบริษัทขนาดเล็กที่มีโอกาสล้มละลายสูง ทำให้ต้องมีผลตอบแทนที่สูงมากพอมาเพื่อชดเชยความเสี่ยง

2. มองหาบริษัทที่ไม่ธรรมดา

การลงทุนที่จะประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะใช้หลักการลงทุนแบบ VC (Venture Capital), VI (Value Investor) หรือ MI (Momentum Investor) ก็หนีไม่พ้นการมองหาบริษัทที่โดดเด่น

แต่การจะเป็นบริษัทที่ไม่ธรรมดาของ VC นั้นจะต้องเป็นบริษัทที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการดีกว่าคู่แข่งเดิมอย่างมาก หรือถ้าเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการแบบใหม่ ต้องเป็นรูปแบบที่ลูกค้าจะชอบ และทำให้ชีวิตเขาเหล่านั้นสะดวกขึ้นและดีขึ้น

กล่าวคือต้อง ‘ดีกว่า สะดวกกว่า ถูกกว่า’

3. มองหาขนาดตลาดที่ใหญ่

นักลงทุน VC ไม่ได้มองหาเพียงบริษัทที่ดีเท่านั้น แต่อีกหนึ่งคุณสมบัติที่สำคัญของการลงทุนนั้น คือ ธุรกิจนั้นต้องอยู่ในตลาดหรืออุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่มากเพียงพอ

เพราะแม้ว่าบริษัทจะเก่งและมีสินค้าบริการที่ดี แต่หากอยู่ในอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ก็อาจทำให้บริษัทเติบโตได้ดีในระยะสั้นเท่านั้น และถึงจุดอิ่มตัวอย่างรวดเร็ว

4. มองหาผู้ก่อตั้งและทีมบริหารที่โดดเด่น

อีกหนึ่งคุณสมบัติที่เรียกว่าแทบจะสำคัญที่สุดในบรรดาคุณสมบัติอื่นๆ เลยก็คือ ลักษณะนิสัยที่โดดเด่นของผู้ก่อตั้งและทีมบริหาร เพราะในหลายครั้ง การเลือกผู้ก่อตั้งที่ถูกคน แม้เขาจะอยู่ในอุตสาหกรรมที่ผิด เขาเหล่านั้นก็สามารถปรับธุรกิจของตนไปทำอย่างอื่นที่ดีกว่า

ในทางกลับกัน แม้บริษัทจะสร้างสินค้าที่ดีที่สุด หรืออยู่ถูกอุตสาหกรรม แต่หากผู้บริหารมีความสามารถในการปรับเปลี่ยนที่น้อย ก็อาจจะทำให้บริษัทเจ๊งไปในท้ายที่สุด

5. มองหาการกระจายความเสี่ยง

การกระจายความเสี่ยง คืออีกหนึ่งใจความสำคัญของการลงทุนในแบบ VC เนื่องจากว่าหลายบริษัทที่ VC เข้าไปร่วมทุนนั้นมักเป็นบริษัทขนาดเล็ก และมีความเสี่ยงต่อการล้มละลายได้สูง

ทำให้ส่วนมาก VC มักจะกระจายการลงทุนประมาณ 30-50 บริษัทในแต่ละพอร์ทการลงทุน โดยคาดหวังว่า หากเพียง 20% ของบริษัทที่ลงทุนไปประสบความสำเร็จ หรือสร้างทำผลตอบแทนได้ในระดับ 50-100 เท่า ก็จะทำให้พอร์มการลงทุนโดยรวมเติบโตได้อย่างโดดเด่นแล้ว

สำหรับนักลงทุนไม่ว่าจะในหรือนอกตลอดหุ้น ก็สามารถนำหลักคิดและกลยุทธ์ของนักลงทุน VC ไปปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการลงทุนของตัวเองได้

ที่มา:

  • www.forbes.com/sites/valleyvoices/2019/02/14/there-are-only-three-vc-strategies
  • dealroom.net/blog/top-venture-capital-firms
  • www.toptal.com/finance/venture-capital-consultants/venture-capital-portfolio-strategy

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า