Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

‘วิทยุทรานซิสเตอร์’ ถูกพูดถึงอีกครั้ง เมื่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ประชุมการบริหารจัดการน้ำท่วมร่วมกับผู้ว่าราชการทุกจังหวัด และได้ระบุถึงการใช้บริการไฟฟ้า ประปา และโทรศัพท์ ต้องให้ใช้ได้นานที่สุด ถ้าระบบมันล่มไปทั้งหมด การสื่อสารแจ้งข้อมูลจะทำได้ลำบาก อาจจะต้องไปใช้ “วิทยุทรานซิสเตอร์” ในการออกอากาศแจ้งเตือนประชาชนได้อีกทาง

ภาพจาก https://unsplash.com/

กลายเป็นกระแสที่หลายคนจับตามองถึงแนวความคิด ซึ่งนายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ออกมาชี้แจงและอธิบายถึงความสำคัญของ ‘วิทยุทรานซิสเตอร์’ เพื่อความเข้าใจในอีกมุมหนึ่ง

วิทยุทรานซิสเตอร์เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ถูกบรรจุอยู่ชุดอุปกรณ์เอาตัวรอดตามหลักสากล ที่ต้องมีติดบ้านไว้ เพราะเมื่อเกิดสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดอาจทำให้ขาดการติดต่อสื่อสารจากภายนอก แต่ถ้ามีเครื่องรับวิทยุจะสามารถรับรู้ข่าวสารจากหน่วยงานต่างๆ ได้ นอกจากนี้นายอนุชายังได้เผยแพร่ผลการสำรวจพฤติกรรมการรับฟังรายการวิทยุทั่วประเทศ จากจำนวนผู้ฟัง 3,655 คน จัดทำโดยสำนักนโยบายและวิชาการกระจายเสียงและโทรทัศน์, สำนักงาน กสทช. และสถาบันอาณาบริเวณศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พบว่า

พฤติกรรมการรับฟังวิทยุ ปี 2022 จำนวนผู้ฟังวิทยุรายเดือน แยกตามช่วงอายุ Generation ข้อมูลล่าสุดในเดือนสิงหาคม 2565

  • ผู้ฟังกลุ่ม Gen X อายุ 40-59 ปี เป็นกลุ่มที่ฟังวิทยุมากที่สุดถึงกว่า 3.5 ล้านคน
  • ผู้ฟังกลุ่ม Gen Y อายุ 20- 29 ปี ฟังวิทยุกว่า 3.3 ล้านคน
  • ผู้ฟังกลุ่ม Baby Boomer อายุ 60-71 ปี ฟังวิทยุสูงเกือบ 2 ล้านคน
  • ผู้ฟังกลุ่ม Gen Z อายุ 12-19 ปี ก็มีการฟังวิทยุถึงกว่า 8 แสนคน

อุปกรณ์หลักในการรับฟังวิทยุ จากการสำรวจพบว่า

  • ร้อยละ 68.9 ของกลุ่ม ผู้ฟังวิทยุยังนิยมรับฟังจากเครื่องรับวิทยุ ทั้งจากวิทยุในบ้าน วิทยุพกพา หรือวิทยุในรถยนต์
  • ร้อยละ 19.3 รับฟังจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ทั้ง 3G 4G และ wifi ตามมาด้วย
  • ร้อยละ 7.8 เป็นการรับฟังจากวิทยุที่อยู่ในโทรศัพท์เคลื่อนที่ และแท็บเล็ต
  • น้อยที่สุด ร้อยละ 0.3 เป็นการรับฟังผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจากคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ โน้ตบุ๊ก แล็ปท็อป และคอมพิวเตอร์พกพา คลื่นที่ใช้ในการรับฟังรายการวิทยุ

ช่องทางสำคัญที่ผู้บริโภคใช้รับฟังวิทยุออนไลน์ คือ การฟังผ่านแอปพลิเคชัน (สัดส่วน ร้อยละ 65.9) ส่วนการรับฟังผ่านเว็บไซต์มีเพียง ร้อยละ 39.7

ผู้ฟังส่วนใหญ่นิยม ร้อยละ 85.9 รับฟังรายการวิทยุจากคลื่น FM, รับฟังวิทยุออนไลน์ร้อยละ 17.5 และรับฟังจากคลื่น AM ร้อยละ 11.2 ด้านช่องทางในการรับฟังวิทยุออนไลน์

นอกจากนี้พฤติกรรมการรับฟังวิทยุ ปี 2022 จากข้อมูลจำนวนผู้รับฟังวิทยุคลื่นหลักในระบบ FM จำนวน 40 สถานี จากทุกช่องทาง ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล

ข้อมูลการโฆษณาผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียงคลื่นหลักในระบบ FM ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 36 สถานี อ้างอิงจาก บริษัท เดอะ นีลเส็น คอมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด

นอกจากนี้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ มีประกาศเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติงานของผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ในกรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน ระบุว่า ให้ผู้ประกอบกิจการทุกรายจัดเตรียมความพร้อมในการรับหรือแสวงหาข้อมูลหรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เพื่อประโยชน์ในการออกอากาศ แจ้งข่าวหรือเตือนภัยให้ประชาชนทราบ ซึ่งผู้ประกอบกิจการจะต้องจำแนกข้อมูลสำหรับแจ้งข่าวหรือเตือนภัยให้ประชาชนทราบ ดังต่อไปนี้

(1) ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงข่าวสารเพื่อทราบ ซึ่งได้แก่ ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงทั่วไปที่อาจมีผลสืบเนื่องหรือนำไปสู่ภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน เป็นต้น

(2) ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงเพื่อการเฝ้าระวัง ซึ่งได้แก่ ประกาศหรือข้อมูลที่มุ่งหมายให้หน่วยงาน องค์กร หรือประชาชนเตรียมพร้อมและเฝ้าระวังภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน

(3) ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงเพื่อการแจ้งเตือน ซึ่งได้แก่ ประกาศ คำสั่ง หรือหลักเกณฑ์ใด ๆ ของหน่วยงานภาครัฐ ที่เป็นการกำหนดให้หน่วยงาน องค์กร หรือประชาชนจะต้องปฏิบัติตามเพื่อการป้องกันหรือระงับยับยั้งความเสียหายอันอาจเกิดขึ้นจากภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน

นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุว่า ตัวเลขข้อมูลนี้สามารถยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า ช่องทางการสื่อสารผ่านวิทยุเป็นช่องทางที่ยังได้รับความนิยมและเข้าถึงประชาชนทุกกลุ่มวัย ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ประเทศไทยประสบภัยธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นเหตุที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน สิทธิ หรือเสรีภาพของประชาชนในวงกว้าง การปฏิบัติงานของผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ จึงมีความสำคัญในการเผยแพร่และนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นต่อการเตรียมพร้อม เพื่อป้องกัน แก้ไขและบรรเทาเหตุภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้น หรือคาดหมายได้ว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งในช่วงที่เกิดอุทกภัยในหลายพื้นที่ของประเทศขณะนี้ นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญกับการสื่อสารถึงประชาชนในทุกช่องทางการสื่อสาร เพื่อแจ้งเตือนประชาชนผ่านทุกช่องทาง ไปถึงชุมชน หมู่บ้าน ให้ประชาชนรับทราบ และเตรียมความพร้อมในการรับมือสถานการณ์อุทกภัยในเบื้องต้น ซึ่งวิทยุถือได้ว่าเป็นสื่อที่ยังเข้าถึงประชาชนได้ดีที่สุด มีแทบทุกตำบล ทุกอำเภอ มีความเสถียร มีกฎ กติกา ที่ชัดเจนที่จะต้องออกอากาศในเวลาที่มีภัยพิบัติ

ภาพจาก https://unsplash.com

เปิดประวัติ ‘วิทยุทรานซิสเตอร์’ ข้อมูลจากนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับพฤศจิกายน 2545 นำเสนอเรื่อง ตำนานวิทยุไทย เครื่องมือสร้าง-ชาติ สาระสำคัญระบุว่า

นายเจมส์ เคลิร์ก แมกซ์เวลล์ (James Clerk Maxwell) ชาวสกอตแลนด์ ค้นพบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในปี 2407 ต่อมาอีก 22 ปี คือในปี 2429 รูดอล์ฟ ไฮน์ริช เฮิรตซ์ (Rudolph Heinrich Hertz) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน จึงคิดผลิตเครื่องที่เอาคลื่นไฟฟ้าในอากาศของแมกซ์เวลล์มาใช้ประโยชน์ได้ ตั้งชื่อสิ่งที่ค้นพบนี้ว่า Hertzain Waves และต่อมาการเรียกคลื่นวิทยุก็ใช้ชื่อ เฮิรตซ์ เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ค้นพบ และมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องผ่านหลายยุคหลายสมัย

ประเทศไทยวิทยุกระจายเสียง ถือกำเนิดขึ้นระยะแรก ราวปี พ.ศ. 2470-2472 โดยพล.อ.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ซึ่งทรงริเริ่มทดลองส่งวิทยุกระจายเสียงเป็นครั้งแรก และทำให้ประเทศไทยมีการใช้งานวิทยุกระจายเสียงเป็นครั้งแรก โดยกำหนดให้วันที่ 25 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็นวันวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ แต่การพัฒนาการของวิทยุไทยเริ่มต้นมาก่อนหน้านั้นเกือบ 30 ปี เป็นพัฒนาการที่ตามติดวิวัฒนาการของวิทยุโลกแบบทันทีทันใดเช่นเดียวกับการพัฒนาทางด้านอื่น ๆ ของสยามในรัชกาลที่ 5

ขณะที่ในยุคของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ใช้วิทยุเป็นเครื่องมือสำคัญในทางการเมือง เพื่อสร้างลัทธิผู้นำ โดยเฉพาะรายการสนทนาของนายมั่น นายคง ที่เริ่มกระจายเสียงตั้งแต่ปี 2482 เป็นรายการสนทนาด้วยภาษาง่ายๆ สลับด้วยเพลงปลุกใจความยาวประมาณ 30 นาที ออกกระจายเสียงเวลา 19.00 น.

ความพยายามที่จะสร้างสำนึกเรื่องชาติ ยังส่งผลให้ สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท เปลี่ยนชื่อมาเป็น “สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย” ในปี 2484 ยังได้มีคำสั่งให้ทุกจังหวัดต้องมีวิทยุกระจายเสียงเปิดให้ประชาชนฟัง รัฐบาลพยายามชักชวนให้ประชาชนฟังวิทยุซึ่งเป็นปากเสียงสำคัญของรัฐบาล หนังสือพิมพ์สร้างตนเอง ของกรมประชาสัมพันธ์ ปี 2485

กิจการวิทยุต้องหยุดชะงักไปเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น 14 เมษายน 2488 โรงไฟฟ้าวัดเลียบและโรงไฟฟ้าสามเสนถูกระเบิดเสียหาย เป็นเหตุให้การส่งวิทยุของกรมโฆษณาการต้องหยุดชะงักไป จากนั้นกิจการวิทยุกลับฟื้นคืนชีพอีกครั้งหลังสงครามสงบ 5 มิถุนายน 2489 แผนกช่างวิทยุตั้งสถานีวิทยุทดลอง 1 ป.ณ. ของกรมไปรษณีย์โทรเลข โดยเสงี่ยม เผ่าทองสุข ได้ทดลองใช้ความถี่ต่างๆ พร้อมกัน 4 เครื่อง ทั้งคลื่นยาวและคลื่นสั้น ทำให้รับฟังได้ทั่วประเทศ

สถานีวิทยุ 1 ป.ณ. จึงเป็นสถานีวิทยุแห่งแรกที่ส่งกระจายเสียงควบคู่ไปกับสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยของกรมโฆษณาการ

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.silpa-mag.com/history/article_93421

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า