SHARE

คัดลอกแล้ว

จากอดีตเสี่ยโรงงานทอหมวกไหมพรม ย่านรังสิต จ.ปทุมธานี ที่มีเงินเก็บกว่า 3 ล้านบาท ทุกวันนี้ ‘พิกุล ภูนาคา’ กลายเป็นช่างปั้นมังกรจากวัสดุเหลือใช้ ในวัย 63 ปี ลุงพิกุล เรียนจบชั้น ป.4 ที่บ้านเกิดจ.กาฬสินธุ์ เมื่ออายุ 24 ปี ดิ้นรนเข้ากรุงเทพฯ มาเป็นพนักงานซ่อมเครื่องท่อผ้า จนอายุ 27 ปี แต่งงานกับภรรยา มีลูกชายด้วยกัน 2 คน

ปี 2550 เป็นช่วงที่ลุงพิกุลไม่ได้ทำงานที่โรงงาน แล้วได้ย้ายมาอยู่กับพี่ชายซึ่งเป็นตึกแถวเก็บเครื่องทอไหมพรม ลุงพิกุล จึงลองทำหมวกไหมพรม จากเครื่องทอไหมพรมเก่าที่ไม่มีใครใช้งานแล้ว ปรากฏว่า ได้หมวกไหมพรมแนวเรกเก้ ที่สวยเก๋ไม่เหมือนใคร

ลุงพิกุล เริ่มต้องทำธุรกิจหมวกไหมพรมอย่างจริงจัง โดยนำไปวางขายบนสะพานลอยหน้าตลาดจตุจักร มีคนมาขอดูและเหมาซื้อหมวกไหมพรมในวันนั้นทั้งหมดในราคา 900 บาท เพื่อจะนำไปขายต่อที่ร้านของตัวเอง และบอกให้ลุงพิกุลทำหมวกไหมพรมมาส่งขายให้อีก ภายใน 1 เดือน มีร้านค้าถึง 4 ร้านมาติดต่อขอซื้อหมวกไหมพรมของลุงพิกุลไปขายต่อ ทำให้ลุงพิกุลมีเงินเก็บพอที่จะไปซื้อเครื่องทอผ้าของตัวเอง

ไม่นานนักลุงพิกุลสามารถซื้อบ้านทาวน์เฮ้าส์ได้ 1 หลัง จึงเป็นโรงงานทอผ้าของตัวเอง มีพนักงาน 10 คน เครื่องจักร 10 เครื่อง และรถยนต์ 1 คัน เรียกได้ว่าช่วงนั้นลุงพิกุลสามารถทำกำไรจากหมวกไหมพรมอย่างเป็นล่ำเป็นสันเลยทีเดียว

แต่แล้วช่วงต้นปี 2554 คู่ชีวิตของลุงพิกุลเกิดล้มป่วยเป็นโรคไตวายเฉียบพลัน ต้องมีค่าใช้จ่ายคืนละ 10,000 บาท ลุงพิกุลจึงพาป้าอำพร สีตุ้ย ย้ายไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น ซึ่งกลางปี 2554 นั้นเองเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ เครื่องจักรในโรงงานของลุงพิกุล ถูกน้ำท่วมเสียหายจนต้องตัดสินใจขายทาวน์เฮ้าส์ แล้วตัดสินใจใช้เงินเก็บทั้งหมดที่มีอยู่สร้างโรงงานใหม่ ที่จ.ขอนแก่น โรงงานเสร็จในปี 2555 เกิดการประท้วงทางการเมือง เศรษฐกิจชะงัก ข้าวของขายไม่ได้ รวมถึงหมวกไหมพรมของลุงพิกุลด้วย สุดท้ายต้องขายทรัพย์สินทั้งหมด พาภรรยากลับมาอยู่ที่บ้านเกิดกาฬสินธุ์ ยึดอาชีพเก็บของเก่า

ต้นปี 2563 ด้วยความที่เป็นช่างและมีพรสวรรค์ในการออกแบบงานศิลปะ ลุงพิกุล จึงลองศึกษาการปั้นรูปมังกรจากในยูทูป แต่เพราะมีเงินน้อยจึงคิดหาวัสดุเหลือใช้มาสร้างสรรค์งานปั้นที่มีเอกลักษณ์ของตัวเอง ลุงพิกุล นำลังกระดาษ ที่ใส่น้ำยาฟอกไตของภรรยาซึ่งมีอยู่จำนวนมาก มาละลายน้ำแล้วปั่นให้ละเอียด ผสมกาว โฟม หล่อขึ้นโครงร่างมังกรจากจินตนาการและความรู้ที่ได้ศึกษาว่ามังกรในศาสตร์จีนนั้น แต่ละสายพันธุ์มีลักษณะเด่นอย่างไร แล้วใช้ขี้เลื่อยที่ซื้อมากระสอบละ 100 บาท ปะข้างหน้าชิ้นงาน แล้วจึงลงแลกเกอร์ให้เงาสวยงาม

ลุงพิกุลใช้เวลาปั้นมังกร 1 ตัว กว่า 1 เดือน เนื่องจากไม่มีอุปกรณ์ปั้นแกะสลักเลย แต่ละชิ้นจึงเป็นงานทำมือที่ใช้ความอุตสาหะบรรจงปั้นขึ้นมา ผลงานรูปปั้นมังกรชิ้นแรกๆ ของลุงพิกุล ขายให้กับหลวงพ่อที่วัดแห่งหนึ่งในราคา 5,000 บาท จากนั้นก็มีหลวงพ่ออีกวัดหนึ่งช่วยซื้อมังกรของลุงพิกุลไปอีก 2 ตัว ทำให้เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ลุงพิกุลได้เงินหลักหมื่นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดวิกฤติในชีวิตและคิดว่าจะยึดเป็นอาชีพ

มังกรปะทะนกเหยี่ยว เป็นผลงานตัวล่าสุดของลุงมังกร รูปปั้นนี้ใช้เวลาทำกว่า 1 เดือนเช่นกัน รายละเอียดประณีตงดงามแฝงด้วยความน่าเกรงขาม ลุงพิกุลตั้งราคาไว้ที่ 30,000 บาท และคิดว่าน่าจะขายได้อย่างแน่นอน แต่แล้วมาเจอวิกฤติจากไวรัสโควิด-19 จึงทำให้ลูกค้าที่พูดคุยกันไว้ยังไม่ได้ตกลงซื้อ

ลุงพิกุล กล่าวในรายการปัญญา ปันสุข ถึงชีวิตและการต่อสู้ของตัวเองในการพยายามตั้งหลักสร้างธุรกิจล้มแล้วลุกหลายต่อหลายครั้งแต่ก็ไม่เคยท้อถอยว่า “เหมือนกันหมดความยากลำบาก ไม่มีอะไรง่าย ไม่ท้อ ชีวิตต้องสู้ครับ สู้ต่อไป”

ติดต่อสนใจซื้อรูปปั้นมังกร ฝีมือลุงพิกุล โทร. 082 046 6197

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า