Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

UNDP ประเทศไทย เผยดัชนีการพัฒนามนุษย์ หรือ Human Development Index (HDI) ของประเทศไทยเพิ่มขึ้น 13 อันดับเมื่อเปรียบเทียบกับอันดับในปี 2562 ทำให้ประเทศไทยยังคงอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์ระดับสูงมากเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน แต่คนไทยรู้สึกไม่มั่นคงในชีวิตและจิตใจมากขึ้นจากปัญหาความเหลื่อมล้ำฝังรากลึก ทั้งเรื่องความมั่งคั่ง รายได้ การศึกษา

รายงาน Global Wealth Report เผยให้เห็นว่า ความเหลื่อมล้ำของไทย ระหว่างคนรวยสุด 1% กับคนจนที่สุดแตกต่างกันถึง 2,500 เท่า

แต่พบว่าประเทศไทยยังคงมีความเหลื่อมล้ำฝังรากลึกมาก ทั้งความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่ง รายได้ การศึกษา และการกีดกันในเชิงโครงสร้าง อคติทางเพศภาวะ และธุรกิจนอกระบบที่มีขนาดใหญ่ ปัญหาเหล่านี้รุนแรงขึ้น ประกอบกับค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นท่ามกลางความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ทั่วโลก ส่งผลต่อความรู้สึกไม่มั่นคงในชีวิตและจิตใจ

โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme) หรือ UNDP เพิ่งเปิดตัวรายงาน “ออกแบบอนาคต: ทิศทางใหม่ของการพัฒนามนุษย์ในเอเชียแปซิฟิก” เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2566

นักเศรษฐศาสตร์ประจำ UNDP ประเทศไทย อธิบายข้อมูลจากรายงานนี้ว่า ประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีค่าดัชนีพัฒนามนุษย์ที่สูง (ค่าดัชนนีวัดทั้งรื่องสุขภาพ การศึกษา และมิติการครองชีพ)

เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มอาเซียน+3 พบว่าไทยมีระดับการพัฒนามนุษย์อยู่ในลำดับที่ 6

อันดับ 1.สิงคโปร์ 2.ญี่ปุ่น 3.เกาหลีใต้ 4.บรูไน 5.มาเลเซีย ส่วนในระดับโลกไทยอยู่อันดับ 66 จาก 191 ประเทศ

แม้ไทยจะมีความก้าวหน้าในการลดความยากจน แต่ถ้าดูตามเป้าหมายความยั่งยืนของ SDGs จะเห็นว่าไทยถดถอยเรื่องขจัดความหิวโหย ความไม่เท่าเทียมทางเพศ และการดำเนินการจัดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ไปจนถึงการพยายามลดความเหลื่อมล้ำที่ไทยยังห่างจากเป้าหมายความยั่งยืนของ SDGs

“แสดงให้เห็นว่าการพัฒนาที่ผ่านมาแม้ทำให้ประเทศไทยเติบโต แต่ผลประโยชน์จากความก้าวหน้าไม่ได้แบ่งปันให้ประชากรทุกกลุ่มเท่าเทียมกัน ยังมีการกีดกันเชิงโครงสร้าง ความไม่เท่าเทียมกันฝังรากลึก การมีอคติทางเพศ การมีธุรกิจนอกระบบขนาดใหญ่ รวมทั้งวิกฤตสภาพสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงขึ้น การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ มลพิษที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และยังต้องเผชิญสภาพความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์โลก ซึ่งส่งผลต่อค่าครองชีพและกระทบประชากรกลุ่มเปราะบางมากที่สุด” นักเศรษฐศาสตร์ UNDP ประเทศไทยระบุ

สิ่งหน่ึงที่ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันในไทย คือความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่ง รายงาน Global Wealth Report โดยเครดิตสวิส เผยให้เห็นว่า คนที่รวยที่สุด 1% แรก มีความมั่งคั่งเฉลี่ย 33 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าความมั่งคั่งเฉลี่ยของคนจนที่สุด 20% ท้ายถึง 2,500 เท่า

เมื่อมาดูที่มิติของการถือครองทรัพย์สิน จะเห็นว่าคนที่รวยที่สุด 5% มีการถือครองที่ดินถึง 80% ของที่ดินทั้งหมดในประเทศ ในขณะที่อีก 75% ไม่มีโอกาสแม้แต่จะเป็นเจ้าของที่ดินเลย

นักเศรษฐศาสตร์ UNDP ประเทศไทย มองว่านี่เป็นการตอกย้ำเข้าไปอีกว่า การกระจุกตัวเกิดขึ้น และประโยชน์ที่เกิดจากการพัฒนา กระจุกตัวอยู่กับคนแค่บางกลุ่มเท่านั้น

จะเห็นว่าความเหลื่อมล้ำนี้ส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อการพัฒนามนุษย์ ซึ่งประเทศไทยสะท้อนออกมาให้เห็นผ่านความเหลื่อมล้ำในมิติรายได้ ความมั่งคั่ง และการศึกษา ทั้ง 3 ปัจจัยเป็นสาเหตุหลักของความเหลื่อมล้ำในไทย

นอกจากนี้ ในเรื่องของความไม่มั่นคงของมนุษย์ หรือ Human Insecurity รายงาน UNDP พบว่า แม้ในประเทศที่มีระดับการพัฒนามนุษย์สูงมาก แต่ก็มีประชากรเพียง 23% หรือไม่ถึง 1 ใน 4 ที่รู้สึกว่าชีวิตตัวเองมีความมั่นคงปลอดภัย

แม้ค่าดัชนีความไม่มั่นคงมนุษย์ของไทยเมื่อเทียบกับอาเซียน จะมีค่าดัชนีต่ำกว่าประเทศอื่นในอาเซียน แต่มีสัญญาณความวิตก ความน่ากังวล แสดงให้เห็นออกมา ผ่านความเครียด ความไม่มั่นคงต่อชีวิต และสุขภาพจิตของคนไทย นำไปสู่การเพิ่มสูงขึ้นของอัตราการฆ่าตัวตาย รวมทั้งความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อการตัดสินใจมีลูก

ข้อมูลกรมสุขภาพจิต พบว่าอัตราฆ่าตัวตายสำเร็จของไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เราเห็นเทรนด์เพิ่มขึ้นของอัตราฆ่าตัวตายสำเร็จ ที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดตั้งแต่ปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงแพร่ระบาดโควิด ความกดดันต่างๆ ส่งผลต่อสุขภาพจิต

นอจากนี้จำนวนผู้ป่วยสุขภาพจิตของไทยเพิ่มขึ้น 2 เท่าจาก 1.3 ล้านคนใยนปี 2558 เป็น 2.3 ล้านคนในปี 2564 สวนทางกับจำนวนจิตแพทย์ในไทยที่มีเพียง 845 คน (สถิติปี 2565)

ความวิตกกังวลนี้ยังส่งผลต่อการตัดสินใจมีบุตรที่ยากขึ้น ถ้ามองในอนาคตอีก 15-20 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะประสบปัญหาการขาดแคลนประชากรในวัยทำงาน ซึ่งจะซ้ำเติมการเข้าสู่สังคมสูงวัยของไทยอย่างแน่นอน

รายงานของ UNDP ชี้่ด้วยว่า ประเทศไทยต้องเตรียมรับความท้าทายและความผันผวนที่เกิดข้ึน ทั้งความเปราะบางของการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ภัยธรรมชาติ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอาการ มลภาวะทางอากาศ ปัญหาประชากร ความไม่แนนอนของภูมิรัฐศาสตร์โลก ล้วนส่งผลต่อค่าครองชีพและความมั่นคงในชีวิต การเพิ่มขึ้นของหนี้ครัวเรือน ทั้งหมดซ้ำเติมความยากลำบากในการดำเนินชีวิตของคนไทย

UNDP มองว่า ไทยต้องเน้นหนักไปที่เรื่องพัฒนาคน และทุกฝ่ายต้องร่วมมือส่งเสริมสิทธิมนุษยชน และความเท่าเทียมเพื่อให้ผู้คนได้มีทางเลือกมากขึ้น มีความมั่นคงในชีวิตและจิตใจมากขึ้น ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ รายได้ และมีหลักประกันคุ้มครองชีวิต สวัสดิการของรัฐที่มากขึ้น

เรอโน เมแยร์ ผู้แทน UNDP ประจำประเทศไทย เน้นย้ำว่า การพัฒนามนุษย์อย่างสมดุลจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การเติบโต คือต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ซึ่งจะนำไปสู่การกระจายความมั่งคั่งอย่างเท่าเทียมมากขึ้น จะต้องมีการจุดประกายความเปลี่ยนแปลงในภาครัฐ และทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการการพัฒนาอย่างแท้จริง

ส่วนเรื่องโอกาสการลงทุนทางเศรษฐกิจใหม่ ๆ ของไทย ในรายงาน UNDP ระบุว่า ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจในกลุ่มเศรษฐกิจสีเขียว ทั้งการลงทุนในพลังงานหมุนเวียน การลงทุนอาหารเพื่ออนาคต การลงทุนด้านการกำจัดขยะ การสร้างบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวชุมชน

 

ใครสนใจอ่านรายงานฉบับเต็ม หรือเก็บข้อมูลอย่างละเอียด ตามไปอ่านทั้งหมดได้ที่ลิงค์นี้

https://www.undp.org/asia-pacific/publications/making-our-future-new-directions-human-development-asia-and-pacific

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า