Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) และ องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ร่วมกันจัดงานสัมมนาระดับชาติว่าด้วยการยุติภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติของเด็กในประเทศไทย จัดขึ้นที่โรงแรมThe Landmark กรุงเทพมหานคร โดยมีเจ้าหน้าที่จากภาครัฐ ภาคประชาสังคม และหน่วยงานสหประชาชาติ เข้าร่วมงานสัมมนาครั้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาความไร้รัฐไร้สัญชาติของเด็ก

       งานสัมมนาครั้งนี้จัดขึ้นโดยการร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลไทย กับ UNHCR และ UNICEF เพื่อแก้ไขปัญหาการไร้รัฐไร้สัญชาติของเด็ก มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและกำหนดเป้าหมายเพื่อให้ทุกฝ่ายมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ไปจนถึงกำหนดนโยบายในการทำงานร่วมกันระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

       หลายปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการพัฒนาในด้านกฎหมายและนโยบายการจัดการกับปัญหาการไร้รัฐไร้สัญชาติ นายจูเซปเป้ เดอ วินเซนทีส ผู้แทนข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ กล่าวว่า “การแก้ปัญหาความไร้รัฐไร้สัญชาติในเด็กในประเทศไทย ยังคงเป็นงานที่ไม่เสร็จสิ้นและต้องเร่งดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เรายินดีกับความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยในการยุติภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติของเด็ก UNHCR จะยังคงสนับสนุนรัฐบาลไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนงานให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น และพิจารณาแสดงเจตจำนงในการแก้ไขปัญหาการไร้รัฐไร้สัญชาติที่การประชุมระดับโลกว่าด้วยเรื่องผู้ลี้ภัย (Global Refugee Forum) ในปลายปีนี้”

       ด้านของนางคยองซัน คิม ผู้แทนองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าวว่า “เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะมีสัญชาติใดสัญชาติหนึ่ง และมีสถานะทางกฎหมาย ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานและเป็นประตูด่านแรกที่จะช่วยให้เด็กๆ เข้าถึงสิทธิด้านอื่น ๆ เช่น สิทธิในการมีชีวิตอยู่รอด สิทธิด้านการศึกษา สิทธิในการได้รับการปกป้องคุ้มครอง และสิทธิในการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมายในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพวกเขา การไม่มีสัญชาติหรือสถานะทางกฎหมายถือเป็นอุปสรรคใหญ่หลวงสำหรับเด็กในการจะมีชีวิตที่มีคุณภาพและอนาคตที่สดใส”

       ที่ผ่านมารัฐบาลไทยได้เข้าร่วมการรณรงค์ #IBelong ของ UNHCR เพื่อแก้ไขภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติภายในปี 2567 และได้มีการวางแผนที่จะลดและแก้ปัญหาสถานะทางกฎหมายสำหรับบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติรวมถึงเด็ก เพื่อให้เด็กเหล่านี้สามารถเข้าถึงการศึกษาและสวัสดิการทางสังคมและการคุ้มครองเด็ก ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2558 มีบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติได้ขึ้นทะเบียนรับสัญชาติไทยไปแล้วกว่า 63,000 คน

       ปัจจุบัน กฎหมายไทยอนุญาตให้เด็กทุกคนที่เกิดในประเทศไทยสามารถจดทะเบียนการเกิด ได้รับสูติบัตร เข้าเรียนในโรงเรียน หรือเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้แม้ว่าจะไม่มีสถานะทางกฎหมายหรือเอกสารใด ๆ ก็ตาม

       นางเอกสิริ ปิณฑะรุจิ อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า “งานสัมมนาในวันนี้ไม่เพียงแต่เป็นโอกาสที่จะสะท้อนความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหาความไร้รัฐไร้สัญชาติในเด็กเท่านั้น แต่ยังช่วยให้เรากลั่นกรองและเร่งความพยายามในการแก้ไขปัญหาการไร้รัฐไร้สัญชาติของเด็กในประเทศไทยอย่างครอบคลุม รัฐบาลไทยจะใช้โอกาสนี้เพื่อเร่งการดำเนินงานของเราโดยร่วมมือกับหน่วยงานของสหประชาชาติและภาคประชาสังคมเพื่อแก้ปัญหาเด็กไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทย”

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า