Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนของ UN เผยแพร่รายงานปัญหาค้าการค้ามนุษย์โดยแก๊งอาชญากรรมออนไลน์ 

สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) เผยแพร่รายงานระบุว่า มีคนจำนวนหลายแสนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ถูกบังคับให้ร่วมขบวนการอาชญากรรมทางออนไลน์ หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดยส่วนใหญ่มีฐานปฏิบัติการอยู่ในเมียนมาและกัมพูชา 

รายงานดังกล่าวที่เผยแพร่ออกมาในวันนี้ (29 ส.ค. 2023) มีชื่อว่า ‘ปฏิบัติการหลอกลวงทางออนไลน์และการค้ามนุษย์ เพื่อบีบบังคับให้ก่ออาชญากรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้’ โดยมีจุดประสงค์เพื่อชี้ให้เห็นถึงปัญหาที่กำลังลุกลาม มุมมองของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อซึ่งถูกบังคับจากต้นทาง รวมถึงแนะนำแนวทางในการแก้ไขปัญหา

โดยในรายงานมีการระบุถึงต้นเหตุของอาชญากรรมออนไลน์ ว่ามีรากเหง้ามาจากคาสิโนและเว็บพนันผิดกฎหมาย ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ธุรกิจเหล่านี้ต้องปิดตัวลง และหันมาเน้นทำเงินจากการหลอกลวงออนไลน์มากขึ้น

ข้อมูลจากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ชี้ว่า มีคนในเมียนมาอย่างน้อย 120,000 คน ที่อาจอยู่ในสถานการณ์ถูกบังคับให้ทำงานหลอกลวงทางออนไลน์ และคาดว่ามีผู้ที่ตกอยู่ในสถานการณ์แบบเดียวในอีกอย่างน้อย 100,000 คนในกัมพูชา

ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ให้ทำงานกับปฏิบัติการเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย โดยมีผู้หญิงและเด็กร่วมอยู่ด้วยส่วนหนึ่ง และส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นพลเมืองของประเทศที่เกิดการค้ามนุษย์ขึ้น หลายคนเป็นผู้ที่มีการศึกษา บางคนมีการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือแม้กระทั่งปริญญาโท ทั้งในด้านคอมพิวเตอร์และด้านภาษา 

โวลเกอร์ เติร์ก ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ กล่าวว่า ผู้ที่ถูกบีบให้ทำงานกับปฏิบัติการหลอกลวงเหล่านี้ ต้องทนกับการปฏิบัติที่ไร้มนุษยธรรมขณะที่ถูกบังคับให้ก่ออาชญากรรม คนเหล่านี้เป็นเหยื่อ ไม่ใช่อาชญากร ในการเรียกร้องความยุติธรรมให้กับผู้ที่ถูกหลอกผ่านทางออนไลน์ เราต้องไม่ลืมปรากฎการณ์ที่ซับซ้อนนี้ ว่ามีเหยื่ออยู่ 2 กลุ่มด้วยกัน

รายงานของ OHCHR ยังระบุว่า ขณะที่หลายประเทศในอาเซียนออกกฎหมายและกรอบนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการค้ามนุษย์ แต่ในบางกรณียังถือว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์และละเมิดสิทธิมนุษยชน แทนที่จะได้รับการปกป้องแต่กลับถูกดำเนินคดีฐานลักลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย

ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนฯ กล่าวเสริมว่า รัฐที่ได้รับผลกระทบทั้งหมดจำเป็นต้องใช้เจตจำนงทางการเมืองในการเรียกร้องเรื่องสิทธิมนุษยชน พัฒนาการกำกับดูแลและตัวบทกฎหมาย รวมถึงใช้ความพยายามที่จริงจังและต่อเนื่องในการจัดการกับปัญหาคอร์รัปชั่น นี่คือแนวทางที่จะสามารถทำลายวงจรของการพ้นผิด ไปจนถึงการช่วยปกป้องและเรียกร้องความยุติธรรมให้กับผู้ที่ถูกละเมิดได้

 

ที่มา : https://www.ohchr.org/en/press-releases/2023/08/hundreds-thousands-trafficked-work-online-scammers-se-asia-says-un-report

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า