Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ศาลอาญากรุงเทพใต้ยกฟ้อง กรณีฟาร์มไก่ฟ้องหมิ่นประมาท 3 นักปกป้องสิทธิ ภาคประชาสังคมร้องรัฐบาลใหม่ของไทย เร่งดำเนินการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิฯ ทุกคนจากการคุกคามด้วยกระบวนการยุติธรรม 

วันที่ 29 สิงหาคม 2566 ศาลอาญากรุงเทพใต้อ่านคำพิพากษายกฟ้องผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนสามคน ในคดีหมิ่นประมาททางอาญา ต่ออังคณา นีละไพจิตร กรรมการคณะทำงานว่าด้วยการบังคับให้สูญหายหรือโดยไม่สมัครใจแห่งสหประชาชาติ และอดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ,พุทธณี กางกั้น อดีตผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านสิทธิมนุษยชนของฟอร์ตี้ฟายไรต์ และปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการ The Fort และธนภรณ์ สาลีผล ธนภรณ์ อดีตเจ้าหน้าที่ฝ่ายสื่อสารของฟอร์ตี้ฟายไรต์ ซึ่งถูกฟ้องโดยบริษัทธรรมเกษตร จำกัด ที่ทำกิจการฟาร์มไก่ หลังมีการดำเนินคดีมาเกือบสี่ปี เนื้อหาเกี่ยวข้องกับการโพสต์และรีโพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดีย 30 ข้อความ ซึ่งเป็นการให้กำลังใจกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ที่กำลังถูกฟ้องโดยบริษัทธรรมเกษตรในช่วงก่อนหน้านี้

นับแต่ปี 2559  บริษัทธรรมเกษตร จํากัด ได้ฟ้องอย่างน้อย 37 คดีต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชน  22 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง ศาลได้ยกฟ้องหรือตัดสินตรงข้ามกับคำฟ้องของบริษัทในคดีเกือบทั้งหมด

ทิตศาสตร์ สุดแสน ทนายความเจ้าของคดี กล่าวว่า “ศาลมีคำสั่งยกฟ้องเพราะเห็นว่าข้อความที่จำเลยโพสต์ ไม่มีการกล่าวถึงโจทก์โดยตรง ส่วนวิดีโอที่โจทก์อ้างว่ามีข้อความหมิ่นประมาท ศาลเห็นว่าการจะเข้าถึงวิดีโอดังกล่าว ต้องใช้หลายขั้นตอน และไม่อาจคาดคะเนว่าบุคคลที่อ่านโพสต์จะรู้ว่ามีวิดีโอดังกล่าวซ่อนอยู่ ส่วนวิดีโอดังกล่าวนั้น ศาลระบุว่ามีคำพิพากษาในคดีอื่นแล้วว่า ตัววิดีโอไม่ได้มีข้อความที่หมิ่นประมาทบุคคลอื่นอยู่ ศาลเลยมองว่าเป็นการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำที่สุจริต ไม่ได้เกิดความเสียหายกับโจทก์”

หลังการยกฟ้องโดยศาลอาญากรุงเทพใต้ บริษัทธรรมเกษตรอาจอุทธรณ์คำวินิจฉัยได้ภายในเวลา 30 วัน

ฟอร์ตี้ฟายไรต์ องค์กรภาคประชาสังคมด้านประชาสังคม กล่าวหลังทราบข่าวการยกฟ้อง เรียกร้องไปยังรัฐบาลใหม่ของไทย ชี้ควรเร่งดำเนินการ เพื่อยุติการเอาผิดทางอาญาต่อความผิดฐานหมิ่นประมาท และคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนทุกคนจากการคุกคามด้วยกระบวนการยุติธรรม

“ดิฉันยินดีกับคำพิพากษาที่มุ่งคุ้มครองสิทธิของเราในวันนี้ แต่ถึงจะมีผลลัพธ์เช่นนี้ ช่วงเวลาสี่ปีที่ผ่านมาสร้างความเจ็บปวดให้กับเราแต่ละคนอย่างมาก การคุกคามของบริษัทธรรมเกษตร ทำให้สิ้นเปลืองเวลา ทรัพยากร และบั่นทอนจิตใจของเรามาก” พุทธณี กางกั้น ผู้อำนวยการของ The Fort และอดีตผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านสิทธิมนุษยชนของฟอร์ตี้ฟายไรต์กล่าว “ทางการไทยควรป้องกันไม่ให้หน่วยงานธุรกิจอย่างบริษัทธรรมเกษตร ใช้การคุกคามด้วยกระบวนการยุติธรรม เพื่อเป็นเครื่องมือในการปิดปากนักกิจกรรมที่แสดงความเห็นต่อความอยุติธรรม”

“แม้คำพิพากษาในวันนี้จะเป็นคุณกับเรา แต่ไม่มีใครเป็นผู้ชนะในคดีเกี่ยวกับการคุกคามด้วยกระบวนการยุติธรรม” เอมี สมิธ (Amy Smith) ผู้อำนวยการบริหารฟอร์ตี้ฟายไรต์กล่าว “ทางการไทยควรรับประกันว่า จะไม่อนุญาตให้มีการรับฟ้องคดีเกี่ยวกับการคุกคามด้วยกระบวนการยุติธรรม การยุติการเอาผิดทางอาญากับความผิดฐานหมิ่นประมาท จะเป็นก้าวย่างสำคัญของประเทศไทย เพื่อแสดงถึงพันธกิจที่มุ่งป้องกันไม่ให้เกิดการคุกคามด้วยกระบวนการยุติธรรม”

รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 คุ้มครองสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก เช่นเดียวกับข้อ 19 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights – ICCPR) ซึ่งไทยเป็นรัฐภาคี

มาตรา 326 และ 328 ประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกิน 200,000บาทต่อหนึ่งกรรม ตามกฎหมายระหว่างประเทศ โทษจำคุกถือเป็นการลงโทษที่ไม่ได้สัดส่วน เกินขอบเขต และไม่จำเป็นต่อความผิดฐานหมิ่นประมาท และโทษจำคุกยังส่งผลให้เกิดความหวาดกลัวต่อการใช้เสรีภาพด้านการแสดงออก

ในเดือนมีนาคม 2566 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เผยแพร่ รายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนประจำปี 2565 โดยยอมรับว่าการฟ้องคดีปิดปาก ขัดขวางไม่ให้นักปกป้องสิทธิมนุษยชนดำเนินงานของตน และจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นต่อไปอีกหลายปี กสม. มีข้อเสนอแนะให้รัฐบาลไทยประกาศใช้กฎหมายเพื่อป้องกันการฟ้องคดีปิดปาก และประกันว่านักปกป้องสิทธิมนุษยชนจะได้รับความคุ้มครองที่เหมาะสมจากการฟ้องคดีปิดปาก

ในเดือนตุลาคม 2562 ไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียที่จัดทำแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (NAP) ประกาศพันธกิจที่จะคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และป้องกันการคุกคามด้วยกระบวนการยุติธรรม ในปี 2565 กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ภายใต้กระทรวงยุติธรรม เผยแพร่ร่างแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนฉบับที่ 2 สำหรับปี 2566-2570 ในร่างฉบับนี้เน้นการปรับปรุงนโยบายและมาตรการ เพื่อคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนจากการฟ้องคดีปิดปาก รวมทั้งการรณรงค์ให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินงานของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน

“คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ให้สัญญาต่อประชาชนคนไทยว่าจะเป็นรัฐบาลที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง” พุทธณี กางกั้นกล่าว “รัฐบาลใหม่ควรดำเนินการตามคำสัญญาเหล่านี้ โดยการสนับสนุนให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเกื้อหนุนให้พลเมืองของตนสามารถเผยแพร่และบอกเล่าข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมไทยได้”

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า