Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

วันที่ 27 สิงหาคม 2566 ที่คินใจ คอนเทม โพรารี (Kinjai Contemporary) ระหว่างการเสวนา เมื่อแตกสลาย จะกลับสู่สภาพเดิมได้หรือ ภายในงานเปิดตัวนิทรรศการ กลับสู่วันวานกลับมากินข้าวด้วยกันนะมูลนิธิผสานวัฒนธรรม แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลประเทศไทย และศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ออกข้อเสนอแนะต่อ คณะรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม คณะกรรมการตามพระราชบัญญัติป้องกันเเละปราบปรามการทรมานเเละการกระทำให้บุคคลสูญหาย ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อการปรับปรุง พระราชบัญญัติป้องกันเเละปราบปรามการทรมานเเละการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เนื่องในวันที่ระลึกถึงเหยื่อของการถูกบังคับสูญหายสากล (International Day of the Victims of Enforced Disappearances) โดยมีเนื้อหาดังนี้

ข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี

  • เร่งรัดให้สัตยาบันอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการสูญหายโดยถูกบังคับ (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance: ICPPED) โดยไม่มีข้อสงวนใดๆ
  • พิจารณาให้สัตยาบันเเละอนุวัติการพิธีสารเลือกรับตามอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานเเละการกระทำอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (OP-CAT) เข้ามาเป็นกฎหมายภายในประเทศอย่างเร่งด่วน

ข้อเสนอแนะต่อกระทรวงยุติธรรม

  • เร่งรัดปฏิบัติตามข้อเสนอแนะจากกระบวนการตรวจสอบสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน (Universal Periodic Review – UPR) โดยเฉพาะการสืบสวนสอบสวนกรณีการกระทำให้บุคคลสูญหายจนกว่าจะทราบที่อยู่และชะตากรรมของผู้ถูกบังคับให้สูญหาย  และรู้ตัวผู้กระทำผิด ไม่ว่าบุคคลนั้นจะถูกบังคับให้สูญหายภายในราชอาณาจักร หรือนอกราชอาณาจักร ซึ่งเป็นสิทธิในการทราบความจริงของครอบครัวเเละญาติ ตามมาตรา 10 ของพระราชบัญญัติป้องกันเเละปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ..2565
  • ในการสืบสวนสอบสวนเพื่อหาตัวผู้ถูกกระทำให้สูญหาย ควรนำหลักการชี้แนะว่าด้วยการค้นหาผู้สูญหาย (Guiding Principle for the search for disappeared persons) ของคณะทำงานการบังคับสูญหายขององค์การสหประชาชาติ (UN Working Group on Enforced or Involuntary Disappearance) มาปรับใช้เป็นแนวทางในการสืบสวนสอบสวน
  • ในการติดตามหาตัวผู้ถูกกระทำให้สูญหายที่เกิดก่อนการบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันเเละปราบปรามการทรมานเเละการกระทำให้บุคคลสูญหาย       .. 2565 ซึ่งญาติได้ร้องเรียนต่อเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่และอำนาจในการสืบสวนสอบสวนไว้แล้ว เจ้าหน้าที่ต้องรีบเร่งการสืบสวนสอบสวนด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม และตรวจสอบได้ ทั้งนี้ ต้องเเจ้งผลการสืบสวนสอบสวนและความคืบหน้าในการหาตัวผู้ถูกกระทำให้สูญหายแก่ญาติหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องทราบเป็นระยะ
  • ระหว่างการสืบสวนเพื่อหาตัวผู้ถูกกระทำให้สูญหาย ควรให้มีการเยียวยาแก่ครอบครัวและญาติเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและคืนความเป็นธรรมให้แก่ครอบครัวและญาติของบุคคลดังกล่าว

ข้อเสนอต่อแนะต่อคณะกรรมการตามพระราชบัญญัติป้องกันเเละปราบปรามการทรมานเเละการกระทำให้บุคคลสูญหาย 

  • รายงานเเละเปิดเผยข้อมูลผลการดำเนินงานของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายและคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการฯ ดังกล่าว พร้อมกำหนดช่องทางให้ผู้เสียหายหรือญาติสามารถติดตามตรวจสอบความคืบหน้าในกระบวนการพิจารณาเรื่องร้องเรียนที่ส่งหรือคณะกรรมการฯ ดังกล่าวได้หยิบยกขึ้นพิจารณาตามพระราชบัญญัติป้องกันเเละปราบปรามการทรมานเเละการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.. 2565 ได้
  • คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย และคณะอนุกรรมการซึ่งดำเนินการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหายภายใต้คณะกรรมการ ฯ ดังกล่าว ต้องออกมาตรการเยียวยาแก่ผู้เสียหายอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอย่างน้อยต้องครอบคลุมตามมาตรฐานขั้นต่ำในข้อ 14 ว่าด้วยการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการทรมานตามอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการกระทำอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี ตามความเห็นทั่วไปฉบับที่ 3  ของคณะกรรมการต่อต้านการทรมาน และหลักการพื้นฐานและแนวทางว่าด้วยการเยียวยาผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงและกว้างขวางของสหประชาชาติ ( Basic Principles and Guidelines on the Right to a Remedy and Reparation for Victims of Gross Violations of International Human Rights Law and Serious Violations of International Humanitarian Law) เช่น อำนวยความสะดวกให้ผู้เสียหายสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างง่ายและออกแบบมาตรการเยียวยาที่ครอบคลุมตามหลักการทดแทน (compensation) การฟื้นฟู (rehabilitation) การทำให้พึงพอใจ (satisfaction) และการประกันว่าจะไม่เกิดการละเมิดซ้ำ (guarantees of non-repetition)

ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติป้องกันเเละปราบปรามการทรมานเเละการกระทำให้บุคคลสูญหาย .. 2565 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

  • เร่งรัดทบทวนแนวปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.. 2546 และระเบียบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีหน้าที่ให้ความคุ้มครองแก่ญาติหรือผู้เกี่ยวข้องกับผู้ถูกกระทำให้สูญหาย ผู้ถูกกระทำทรมาน หรือผู้ถูกกระทำการที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมฯ ซึ่งรวมถึงระเบียบกรมสอบสวนคดีพิเศษว่าด้วยการคุ้มครองพยาน พ.. 2554  โดยต้องให้การคุ้มครองพยานจนกว่าจะสืบทราบชะตากรรมของผู้ถูกกระทำให้สูญหายเเละทราบตัวผู้กระทำความผิดหรือจนกว่าคดีที่เกี่ยวข้องกับเหตุนั้นถึงที่สุดและต้องไม่กำหนดภาระการพิสูจน์เหตุแห่งความจำเป็นในการขอรับการคุ้มครองพยานแก่ครอบครัวของผู้เสียหายทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้บุคคลดังกล่าวถูกข่มขู่คุกคามหรือแม้กระทั่งการกระทำให้สูญหายไปอีกด้วย
  • เร่งรัดทบทวนเเนวปฏิบัติตามกฎหมายอื่น เช่น กฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์ กฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด เเละกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมเเละพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เป็นต้น ซึ่งมีช่องว่างทางกฎหมายที่อนุญาตให้เจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจในการควบคุมตัวหรือปฏิบัติต่อผู้ถูกจับกุมหรือควบคุมตัว อันอาจมีลักษณะเป็นการทรมาน หรือการปฏิบัติที่โหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม โดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายต้องหาแนวทางเพื่อยุติการกระทำเหล่านั้นทันที
  • ดำเนินการเเละเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการติดตามและเสนอเเนะเพื่อการปรับปรุงและแก้ไขพระราชบัญญัติป้องกันเเละปราบปรามการทรมานเเละการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.. 2565 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับอนุสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานเเละการกระทำอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรีและอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการสูญหายโดยถูกบังคับ ในประเด็นดังต่อไปนี้   
  1. กำหนดองค์ประกอบและนิยามความผิดฐานกระทำทรมานและกระทำให้บุคคลสูญหาย โดยเฉพาะกรณีที่ผู้กระทำการที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐให้สอดคล้องกับอนุสัญญาทั้งสองฉบับข้างต้น
  2. กำหนดให้การนิรโทษกรรมสำหรับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ..2565 นั้นไม่สามารถกระทำได้
  3. กำหนดให้มีตัวแทนของผู้เสียหายจากการทรมานและกระทำให้บุคคลสูญหายในองค์ประกอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและกระทำให้บุคคลสูญหายและเพิ่มอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการชุดดังกล่าวให้สามารถเข้าตรวจสอบสถานที่ควบคุมตัวที่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐหรือเจ้าหน้าที่รัฐได้
  4. กำหนดให้มีบทตัดพยานเด็ดขาดไม่รับฟังคำให้การหรือข้อมูลอื่นอันได้มาจากการทรมาน การกระทำ การที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือการกระทำให้บุคคลสูญหาย เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดี โดยเฉพาะในคดีอาญา
  5. กำหนดบทบัญญัติที่เกี่ยวกับอายุความในการดำเนินคดีในการกระทำความผิดฐานทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายให้สอดคล้องกับความเห็นทั่วไปฉบับที่ 3 ของคณะกรรมการต่อต้านการทรมานแห่งสหประชาชาติและข้อบทที่ 8 ของอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการสูญหายโดยถูกบังคับ ซึ่งระบุว่า ความผิดฐานกระทำทรมานไม่ควรมีอายุความและ การกำหนดอายุความสำหรับความผิดฐานกระทำให้บุคคลสูญหายต้องยาวนานและเหมาะสมกับความร้ายแรงของความผิดนั้น 

นอกจากข้อเสนอแนะเหล่านี้ บรรยากาศในการเสวนา โดยมีแขกรับเชิญได้แก่ อังคณา นีละไพจิตร ตัวแทนกลุ่มญาติผู้ถูกบังคับสูญหายในประเทศไทย และในฐานะสมาชิกคณะทำงานด้านการบังคับสูญหายโดยไม่สมัครใจของสหประชาชาติ (Working Group on Enforced or Involuntary Disappearances – WGEID) ผู้แทนจากภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม และเยาวลักษ์ อนุพันธุ์ผู้อำนวยการศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เนื้อหาการสนทนากล่าวถึงยอดผู้สูญหายที่ขึ้นทะเบียนของคณะทำงานการบังคับสูญหายขององค์การสหประชาชาติ บรรยากาศการคลี่คลายกรณีต่าง ๆ และการบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 ตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า