Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

The Independent รายงานว่ากระทรวงมหาดไทยแห่งราชอาณาจักรได้รับกำไรจากการออกวีซ่าเพิ่มขึ้นหลายล้านปอนด์ต่อสัปดาห์ ตั้งแต่ที่มีการจัดจ้าง วีเอฟเอส โกลบอล (VSF Global) มาให้บริการแบบเอ้าท์ซอร์ส

โดยวีเอฟเอสมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นครดูไบ สหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ ให้ดำเนินการเกี่ยวกับการออกวีซ่าสำหรับผู้ที่ต้องการขอวีซ่าเข้ามายังสหราชอาณาจักร ซึ่งที่ผ่านมาถูกร้องเรียนว่าดำเนินการเอาเปรียบและขูดรีดกำไรจากผู้สมัครขอวีซ่า

วีเอฟเอส โกลบอล หน่วยงานเอาท์ซอร์สที่ให้บริการความช่วยเหลือทางด้านการทูตและหน่วยงานรัฐบาลทั่วโลก มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นครดูไบ แต่มีเจ้าของผ่านบริษัทโฮลดิ้ง (Holding company) ในเกาะเจอร์ซีย์ เกาะเคย์แมน และประเทศลักแซมเบิร์ก

ซึ่งตอนนี้กำลังเผชิญกับข้อกล่าวหา “การบริหารงานโดยมิชอบอย่างร้ายแรง” (Gross Maladministration) และข้อหาขายบริการเสริม “อย่างล่วงละเมิด” หลังจากที่รัฐบาลอังกฤษได้ทำสัญญาจ้างในปี พ.ศ. 2557

ในขณะนั้น กระทรวงมหาดไทยของสหราชอาณาจักรทำรายได้จากการรับทำวีซ่าได้มากถึง 1.6 พันล้านปอนด์ (ราว 59.7 หมื่นล้านบาท) จากการให้วีซ่าแก่ผู้ที่ต้องการเข้ามาท่องเที่ยว เรียนต่อ หรืออยู่อาศัยในสหราชอาณาจักร ซึ่งตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้นจากเดิม 9 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนรายได้ช่วง 5 ปีก่อนที่จะมีการทำสัญญากับบริษัท วีเอฟเอส

การสืบสวนครั้งนี้ เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างสำนักข่าวดิอินดีเพนเดนต์และไฟแนนซ์อันคัฟเวอร์ โครงการฝึกอบรมและรายงานข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนตรวจ สอบพบว่ารายได้ที่กระทรวงมหาดไทยได้รับโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 28.73 ปอนด์ (ราว 1,073 บาท) เป็น 122.56 ปอนด์ (ราว 4,580 บาท) ต่อการยื่นขอวีซ่าหนึ่งครั้ง

บริษัท วีเอฟเอส ได้รับว่าจ้างให้เป็นผู้ดำเนินการจัดทำวีซ่าของสหราชอาณาจักรให้แก่ทุกประเทศที่อยู่นอกยุโรปและแอฟริกา โดยจัดทำวีซ่าในหลายประเภทประกอบไปด้วย วีซ่าสำหรับทำงาน สำหรับอยู่อาศัย และวีซ่าสำหรับท่องเที่ยว 

ผู้ที่ขอวีซ่าเข้าสหราชอาณาจักรผ่านบริษัท วีเอฟเอส ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มาจากประเทศที่มีรายได้ต่ำ โดยมาจากประเทศบริเวณเอเชียใต้ถึง 1 ใน 4 ของผู้ใช้บริการทั้งหมด ผู้ที่ยื่นสมัครขอวีซ่ากล่าวว่า พวกเขามักจะพลาดเที่ยวบิน และถูกปฏิเสธให้วีซ่าเนื่องจากความล่าช้าและการบริหารงานที่ผิดพลาด รวมถึงความผิดพลาดที่เห็นได้อย่างชัดเช่น ความล้มเหลวในการสแกนเอกสารที่สำคัญ 

นอกจากนี้ผู้ที่เคยยื่นขอสมัครวีซ่ายังกล่าวว่าพวกเขาต้องเผชิญกับการเสนอขายบริการเสริมต่างๆ มากมายบนเว็บไซต์ของวีเอฟเอส ตั้งแต่บริการตรวจสอบเอกสารที่มีค่าบริการประมาณ 5 ปอนด์ (ราว 190 บาท) ไปจนถึงการเสนอบริการ “สิทธิพิเศษสูงสุด” ในการดำเนินการออกวีซ่าที่จะทำให้ได้เอกสารเร็วกว่าปกติมีค่าบริการมากถึง 1,000 ปอนด์ (ราว 37,350 บาท)

แต่ผู้ที่ใช้บริการเสริมดังกล่าวระบุว่าทางบริษัทไม่สามารถให้บริการอย่างรวดเร็วกว่าเดิมตามที่ได้สัญญาไว้ ด้านนักกฎหมายชี้ว่าบริการเสริมต่างๆ สามารถถูกนำมาใช้เพื่อหาผลประโยชน์กับเหล่าผู้อพยพผู้ซึ่งมีความรู้สึกกดดันที่จะต้องได้วีซ่าอย่างรวดเร็ว

สหราชอาณาจักร ยังคงเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมจากคนไทยและทั่วโลก

ในขณะเดียวกันบริษัทวีเอฟเอสได้รับรายได้เพิ่มสูงขึ้นโดยเฉลี่ยแล้ว 38% ต่อผู้สมัครขอวีซ่าหนึ่งคนในระหว่างปี 2016 ถึง 2018 จากการเสนอขายบริการเสริมโดยก่อนที่รัฐบาลสหราชอาณาจักรจะทำสัญญาจ้างบริษัทวีเอสเอฟผู้ที่ต้องการขอวีซ่าเพื่อเข้ามายังสหราชอาณาจักรสามารถยื่นคำขอวีซ่าได้ที่สถานทูตหรือสถานกงสุลอังกฤษโดยจะมีการดำเนินการต่างๆ ตามขั้นตอนและไม่มีระบบเสนอบริการเสริมที่ต้องจ่ายเงินเพิ่มเพื่อความรวดเร็ว

แต่เมื่อวีเอฟเอสถูกจ้างให้ดำเนินการเกี่ยวกับการทำวีซ่าในปี 2014 กระบวนการตัดสินใจต่างๆ ทำโดย VFS แทนสถานทูตและสถานกงสุล ซึ่งกระทรวงมหาดไทยของสหราชอาณาจักรอ้างว่าการจ้างบริษัทภายนอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความสม่ำเสมอในการตัดสินใจ

นอกจากนี้ ค่าธรรมเนียมในการทำวีซ่าก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่น การยื่นขอวีซ่าสำหรับการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นประเภทที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นถึง 14% หรือจาก 83 ปอนด์ (ราว 3,100 บาท) ในปี 2014 มาเป็น 95 ปอนด์ (ราว 3,550 บาท) ในปี 2019 และวีซ่าสำหรับอยู่อาศัยมีค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นจากเดิม 885 ปอนด์ (ราว 33,000 บาท) มาเป็น 1,523 ปอนด์ (ราว 56,922 บาท) หรือเพิ่มขึ้นถึง 72 เปอร์เซ็นต์จากเดิม

นอกจากนี้ยังมีการเก็บค่าบริการอื่นๆ เช่น การสอบถามทางอีเมล์มีค่าบริการ 5.48 ปอนด์ (ราว 200 บาท) การให้ความช่วยเหลือทางโทรศัพท์คิดค่าบริการ นาทีละ 1.37 ปอนด์ (ราว 50 บาท) และค่าบริการการให้ความช่วยเหลือกรอกแบบฟอร์มทางโทรศัพท์ 61.72 บาท (ราว 2,300 บาท) เป็นต้น (ตัวเลขค่าบริการสำหรับชาวอเมริกา)

อย่างไรตาม ผลวิเคราะห์บัญชีประจำปีของกระทรวงมหาดไทยแห่งสหราชอาณาจักรแสดงให้เห็นว่า กำไรของทางการจากการดำเนินการให้วีซ่ามีอัตราการเพิ่มที่สูงขึ้น ในช่วงห้าปีก่อนหน้าปี 2557 ทางการอังกฤษได้รับกำไรจากการทำวีซ่าจำนวน 178.6 ล้านปอนด์ (ราว 6.6 พันล้านบาท) แต่หลังจากมีการทำสัญญากับบริษัทวีเอฟเอส ส่งผลให้ได้รับกำไรเพิ่มขึ้นเป็น 1.6 พันล้านปอนด์ (ราว 59.7 หมื่นล้านบาท) และ 438.1 ล้านปอนด์ (ราว 16.3 หมื่นล้านบาท) เพียงแค่เฉพาะปี 2561 ปีเดียว โดยเฉลี่ยแล้วทางการอังกฤษจะได้รับกำไร 8.4 ล้านปอนด์ (ราว 313 ล้านบาท) ต่อสัปดาห์ 

สัญญาที่ส่งมอบให้กับวีเอสเอฟนั้นมีคำสั่งให้บริษัทจัดหา “บริการระดับพรีเมียม” ประกอบไปด้วยห้องรับรองพิเศษและการให้บริการดำเนินการให้วีซ่าแบบมีสิทธิพิเศษที่รวดเร็วและสะดวกสบายกว่าปกติ ซึ่งบางบริการมีค่าบริการมากกว่า 1,500 ปอนด์ (ราว 56,000 บาท) โดยทางกระทรวงมหาดไทยกล่าวว่า เมื่อมีการทำสัญญาใหม่ในปี 2562 การบริการห้องรับรองพิเศษจะถูกนำออกจากสัญญา 

สัญญาระหว่างรัฐบาลสหราชอาณาจักรและบริษัทวีเอฟเอสที่ถูกเปิดเผยออกมาตามกฎหมายเสรีภาพในการการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารแสดงให้เห็นว่ากระทรวงมหาดไทยอังกฤษได้หักรายได้ที่ได้จากค่าบริการเสริมส่วนหนึ่งที่บริษัทเสนอขายให้ผู้ที่ต้องการขอวีซ่าแต่ทางการปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลว่าได้รับค่าบริการส่วนดังกล่าวมาเท่าใด

กระทรวงมหาดไทยยังยืนยันว่า ทางการไม่ได้ทำไรจากการให้วีซ่าและกล่าวว่ารายได้ที่ได้จากค่าบริการการทำวีซ่าจะถูกนำไปเป็นทุนเพื่อขยายระบบตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งรวมไปถึงการสร้างสถานที่กักกันผู้อพยพที่กำลังเป็นที่ถกเถียงกันในสังคม 

ไดแอน แอบบ็อต รัฐมนตรีเงากระทรวงแรงงานแสดงความตกใจเกี่ยวกับข้อมูลที่ออกมา และกล่าววิจารณ์รัฐบาลว่า “ผู้คนที่ขอวีซ่าเพื่อที่จะเข้ามาทำงาน ทำธุรกิจ หรือเข้ามาเพื่อการศึกษา ควรจะต้องได้รับการต้อนรับ กระทรวงมหาดไทยไม่ควรขูดรีดกำไรโดยใช้บริษัทเอกชนในบริการสาธารณะเช่นนี้” 

นิโคล ฟรานซิส ผู้อำนวยการสมาคมผู้ดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายผู้อพยพ ระบุว่าทางองค์กรเกิดความกังวลเกี่ยวกับ “การบริการที่ย่ำแย่” ที่ให้บริการโดย วีเอสเอฟ และการที่มหาดไทยได้รับกำไรและผลประโยชน์จากการเสนอบริการเสริมดังกล่าว 

นิโคล ฟรานซิส ยังได้แสดงความกังวลว่าบริการพิเศษที่ถูกเสนอโดย วีเอฟเอส อาจจะถูกนำไปแสวงหาผลประโยชน์จากผู้อพยพที่อ่อนแอและไม่มีข้อมูลเพียงพอ โดยอาจจะถูกกดดันให้จ่ายเงินเพิ่มเพื่อซื้อบริการพิเศษเหล่านั้น ซึ่งเป็นบริการที่ไม่ได้ให้ประโยชน์แก่พวกเขา

จอห์น วาสซิลิว จากบริษัททนายความแมคกิลล์ แอนด์ โค (McGill and Co) กล่าวว่าบริษัทวีเอฟเอส “ได้รับอนุญาตให้เติบโตและร่ำรวยขึ้นเรื่อย ๆ ถึงแม้จะไม่มีความสามารถในการดำเนินงาน” และกล่าวว่ากระทรวงมหาดไทยไม่ใช้อำนาจที่มีอยู่มากเพียงพอในการควบคุมหน่วยงานเอาท์ซอร์สที่กระทรวงจ้างให้ดำเนินการเกี่ยวกับการให้วีซ่า

“มันเป็นการบริหารงานโดยมิชอบอย่างร้ายแรงลูกความของเราต้องอดทนกับความเครียดความยุ่งยากและการติดขัดในการใช้ชีวิต และมีค่าใช่จ่ายทางกฎหมายเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาสิ่งที่ง่ายๆ แต่วีเอฟเอสก็ล้มเหลวอย่างเช่นการสแกนเอกสารสำคัญ” จอห์นกล่าวเพิ่มเติม 

หัวหน้าผู้ตรวจการอิสระบริเวณชายแดนและด่านตรวจคนเข้าเมือง กำลังตรวจสอบระบบการออกวีซ่าของบริษัทภายนอก  พร้อมรายงานภายหลังในปีนี้ เพื่อสำรวจประสบการณ์ที่ลูกค้าได้รับจากการบริการและดูว่าสัญญาได้ส่งมอบผลประโยชน์ต่าง ๆ ตามที่สัญญาไว้หรือไม่

ข้อมูลตัวเลขเกี่ยวกับการดำเนินการให้วีซ่าที่กล่าวมาข้างต้น ถูกเปิดเผยออกมาหลังจากมีความกังวลเกี่ยวกับการแปรรูประบบขอวีซ่าภายในประเทศซึ่งเดิมอยู่ในอำนาจของกระทรวงมหาดไทย ไปตกอยู่มือของบริษัทเอกชนจากฝรั่งเศส โซปรา สเตอเรีย (Sopra Steria) ในเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว

ซึ่งนับแต่นั้นมาก็ได้มีการให้บริการที่ต่ำกว่ามาตรฐานในราคาที่สูงกว่าความเป็นจริง ด้านโฆษกของบริษัท โซปรา สเตอเรีย กล่าวว่า ในขณะนั้นบริษัทเผชิญกับความต้องการใช้บริการที่สูงกว่าที่คาดไว้ และบริษัทจะเพิ่มบริการนัดหมายแบบไม่มีค่าธรรมเนียมที่ศูนย์บริการหลัก

โฆษกกระทรวงมหาดไทยกล่าวว่า ทางกระทรวงได้เรียกร้องให้บริษัท วีเอฟเอสให้บริการในมาตรฐานที่สูงขึ้นแล้ว ส่วนโฆษกของ วีเอฟเอส กล่าวว่า บริการเสริม มีขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่เฉพาะเจาะจงจากผู้ที่ต้องการเข้าถึงการบริการได้อย่างรวดเร็วกว่าปกติ เป็นการปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของผู้ใช้บริการและความสะดวกในการบริการให้วีซ่า ซึ่งพวกเขาได้ตัดสินใจปรึกษาและตกลงรวมกับรัฐบาลในขณะนั้นแล้ว

โฆษกของวีเอฟเอสกล่าวเสริมว่า บริการเสริมระบุอย่างชัดเจนว่าเป็นเพียงทางเลือกหนึ่ง ในขณะที่กระบวนการตัดสินใจให้วีซ่า “สถานทูตและกรมการกงสุลมีอำนาจในการตัดสินใจแต่เพียงผู้เดียว” 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า