Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

จากกรณีร้านอาหาร A&W ในประเทศไทยปิดกิจการ เนื่องจากขาดทุนต่อเนื่องหลายปี

แต่ถึงอย่างนั้น เมนูฮิตของ A&W อย่างรูทเบียร์กับวาฟเฟิล ซึ่งจัดอยู่ในหมวดอาหาร Ready-to-Eat กลับยังอยู่รอดปลอดภัย และยังคงขายในร้านสะดวกซื้อในไทยได้อยู่

ทำไมถึงเป็นแบบนั้น TODAY Bizview ชวนไปหาคำตอบกัน

[ หลายปัจจัยรุมเร้าธุรกิจร้านอาหาร ]

ต้นเดือน มี.ค. 2565 บมจ.โกลบอล คอนซูเมอร์ ผู้ถือสิทธิ์แฟรนไชส์ร้านอาหาร A&W เพียงผู้เดียวในไทย ตัดสินใจยุติกิจการ

สาเหตุจากการขาดทุนต่อเนื่องหลายปี (ปี 2564 ขาดทุนไป 70 ล้านบาท) แถมโควิดยังซ้ำเติมให้เปิดร้านไม่ได้ พฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบันก็เปลี่ยนไปมาก รวมถึงการแข่งขันที่สูงขึ้นเรื่อยๆ

จากเริ่มปิดเฉพาะสาขาที่รายได้น้อยและไม่ทำกำไร ภาวะขาดทุนไม่หยุดนำมาสู่การยุติกิจการทั้งหมดในที่สุด

“โควิดทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป และส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจร้านอาหาร บริษัทไม่สามารถแบกรับผลขาดทุนต่อไปได้ จึงยุติการดำเนินกิจการร้านอาหาร A&W และปิดร้าน Kitchen Plus

“โดยจะหันมาโฟกัสขยายธุรกิจด้วยการมุ่งเน้นไปที่การผลิตในอุตสาหกรรมอาหารที่มีความชำนาญแทน” นพพร ภัทรรุจี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กล่าวในแถลงการณ์ของบริษัท 

สาเหตุหลักที่ทำให้ร้าน A&W ในไทยต้องปิดตัวลงนั้นมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน

หลักๆ คือเรื่องการไม่ค่อยออกโฆษณาบนสื่อต่างๆ ที่จะเพิ่มการมองเห็นให้ผู้บริโภค แถมยังจัดโปรโมชั่นและเมนูใหม่ๆ น้อย ทำให้ไม่สามารถกระตุ้นความสนใจผู้บริโภคได้มากพอ

มากไปกว่านั้นก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า A&W นั้นเป็นร้านที่เข้าถึงยาก เพราะมักเปิดสาขาเฉพาะในปริมณฑลและชานเมืองมากกว่า

ทำให้ไม่สามารถดึงดูดลูกค้าหน้าใหม่ได้เท่าไหร่ ลูกค้าหน้าเก่าก็ค่อยๆ หายไป แม้ว่าจะมีเมนูที่ครองใจผู้คนได้มากมายอย่าง ‘รูทเบียร์และวาฟเฟิล’ ก็ตาม

[ อาหารพร้อมทาน ทางรอดของธุรกิจร้านอาหาร? ]

แม้หน้าร้านจะปิดตัวลงไป แต่อย่างไรก็ตาม สองเมนูยอดฮิตอย่าง ‘รูทเบียร์และวาฟเฟิล’ ในรูปแบบของอาหารพร้อมทาน หรือ Ready-to-Eat กลับยังคงวางขายอยู่ในร้านเซเว่นอีเลฟเว่นและซูเปอร์มาร์เก็ตบางแห่ง

โดย ‘รูทเบียร์’ แบบกระป๋องของแบรนด์ A&W ที่วางขายในไทย เป็นผลิตภัณฑ์ของกลุ่มธุรกิจโคคา-โคลา ในประเทศไทย ผลิตและจัดจำหน่ายโดย บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด ซึ่งได้รับลิขสิทธิ์การผลิตจากบริษัท โคคา-โคลา (ประเทศสหรัฐอเมริกา) มาตั้งแต่ปี 2512 โดยขายเพียงรสชาติดั้งเดิมเท่านั้น

ส่วน ‘วาฟเฟิล’ นั้นผลิตและจัดจำหน่ายโดย ‘โกลบอล คอนซูเมอร์’ ขายในเซเว่นฯ มาตั้งแต่กลางปี 2564 ซึ่ง A&W บอกกับ TODAY Bizview จะยังขายเมนูนี้ต่อไป

แต่ถ้าถามว่าทำไม A&W ถึงต้องทำ ‘วาฟเฟิลพร้อมทาน’ ออกมาขาย …คำตอบคงก็คือ เป็นการพยายามหาทางรอดในช่วงวิกฤตโควิดนั่นเอง

โดยสำนักข่าวบางกอกโพสต์รายงานว่า หลังขาดทุนต่อเนื่อง ‘โกลบอล คอนซูเมอร์’ ก็พยายามหากลยุทธ์ใหม่ๆ มาใช้ ไม่ว่าจะเป็นทำร้านในรูปแบบฟู้ดทรัค และออกเมนูวาฟเฟิลพร้อมทานขายในเซเว่น

ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ A&W เท่านั้นที่นำกลยุทธ์นี้มาใช้เป็นทางรอดในช่วงโควิด

แต่แบรนด์ร้านอาหารอื่นก็กระโดดเข้าสู่การผลิตอาหาร Ready-to-Eat ด้วยเหมือนกัน อย่างเช่น ร้าน ‘รสนิยม’ ที่ทำพวกเมนูข้าวกะเพราเนื้อออสเตรเลียวางขายในเซเว่นฯ มาตั้งแต่ช่วงโควิด-19 และตอนนี้ก็ยังขายอยู่

ถามว่าทำไมร้านอาหารถึงมองว่า Ready-to-Eat จะเป็นทางรอดในช่วงโควิด

สาเหตุสำคัญมาจากพฤติกรรมการบริโภคเปลี่ยนแปลงไปมาก หลายคนใช้ชีวิตอยู่บนความเร่งรีบ ผลิตภัณฑ์ Ready-to-Eat ที่ได้รับความนิยมมานานอยู่แล้วตั้งแต่ก่อนโควิด-19 เพราะตอบโจทย์ในเรื่องความสะดวกสบาย รวดเร็ว เตรียมง่าย กินง่าย แค่อุ่นก็ได้กินเลย

ยิ่งพอมาเจอโควิด-19 ดีมานด์อาหารกลุ่มนี้ก็ยิ่งเพิ่มสูงขึ้น เพราะเมื่อคนอยู่ภายใต้มาตรการการแพร่ระบาด และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ทำให้หลายคนไม่อยากไปซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่

และเน้นซื้อของกินแบบง่ายๆ จากร้านสะดวกซื้อแทน ทำให้อาหารและเครื่องดื่มจากร้านสะดวกซื้อเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค

ตามรายงานสถิติจาก Euromonitor พบว่า มูลค่าอุตสาหกรรมอาหารพร้อมทานนั้นมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี คือ

-ปี 2560 มูลค่า 16,086 ล้านบาท

-ปี 2561 มูลค่า 17,566 ล้านบาท

-ปี 2562 มูลค่า 19,441 ล้านบาท

-ปี 2563 มูลค่า 21,507 ล้านบาท

ขณะที่วิจัยกรุงศรีมองว่า อุตสาหกรรมอาหารพร้อมทานยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องอีกในปี 2564-2566 และมีการแข่งขันสูง โดยเฉพาะอาหารแช่แข็ง

เนื่องจากมีการขยายตัวของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ เมนูที่หลากหลาย และโปรโมชั่นส่วนลดที่ดึงดูดผู้บริโภค

ส่วนอาหารประเภทบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในประเทศได้ถูกคาดการณ์ว่าน่าจะขยายตัวไม่มากนัก เนื่องจากตลาดเข้าสู่ภาวะอิ่มตัว

อย่างไรก็ตาม แม้เทรนด์อาหารพร้อมทานจะได้รับความนิยมขนาดไหน ดีมานด์พุ่งขึ้นเพียงใด

แต่ถึงอย่างนั้นถ้าดูจากกรณีของ A&W แล้ว การทำวาฟเฟิลพร้อมทานขายในเซเว่นฯ นั้นไม่อาจกู้วิกฤตให้กับร้านได้

และท้ายที่สุดในแง่ของการทำธุรกิจ ‘ร้านอาหาร’ ก็ยังคงต้องมุ่งกลยุทธ์ไปที่หน้าร้าน และ Ready-to-Eat ก็น่าจะเป็นทางเลือกในการเพิ่มรายได้ ต่อลมหายใจในช่วงวิกฤต มากกว่าเป็นทางรอดที่ใช้หนีตายและฟื้นชีพธุรกิจขึ้นมาได้อยู่ดี

ที่มา : http://www.irplus.in.th/Listed/GLOCON/pdf/th/MDA_Y2021_T.pdf

https://www.euromonitor.com/ready-meals-in-thailand/report

https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/Food-Beverage/ready-to-eat-food/IO/io-ready-to-eat-food-21

https://www.bangkokpost.com/business/2276071/aw-restaurant-chain-to-close

https://workpointtoday.com/aw-is-considering-to-close-down-in-thailand/

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า