Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย แถลงจุดยืน การใช้กัญชาทางการแพทย์ ชี้อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการทางจิตเวชได้ ขณะที่เพจคลินิกสุขภาพจิตนายแพทย์เจษฎา โพสต์ข้อมูล “กัญชา” ในมุมมองของจิตแพทย์ สรุปถ้อยแถลง 8 ข้อให้เข้าใจง่ายขึ้ย

วันที่ 15 พ.ย. 2561 หลัง ครม. มีมติคลายล็อก “กัญชา” ให้สามารถทดลองทางการแพทย์ได้ 5 ปี กลายเป็นประเด็นร้อนแรงในสังคมไทย ยาวไปถึงเรื่องการจดสิทธิบัตรที่ยังถกเถียงกันไม่จบ แม้หลายประเทศทั่วโลกผ่อนปรนกฎหมายอนุญาตให้ประชาชนใช้กัญชาทางการแพทย์หรือเพื่อสันทนาการได้อย่างถูกต้อง แต่กัญชายังถือเป็นสิ่งเสพติดให้โทษประเภท 5 สำหรับประเทศไทย ใครเสพจะต้องระวางโทษ

ล่าสุดนพ.เจษฎา ทองเถาว์ เจ้าของเพจคลินิกสุขภาพจิตนายแพทย์เจษฎา ได้ออกมาโพสต์เรื่อง “กัญชา” ในมุมมองของจิตแพทย์ ที่ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย แถลงจุดยืนและแสดงความคิดเห็นได้อย่างน่าสนใจ สรุปสั้นๆ 8 ข้อคือ

1. กัญชา (Marijuana) มีฤทธิ์เสพติด เป็นพืชที่มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า “Cannabis” มีหลายสายพันธุ์ ไม่ใช่เฉพาะแต่เพียงกัญชาเท่านั้น (เช่น กัญชง ซึ่งเป็นพืชที่มีการนำลำต้นมาใช้ประโยชน์ได้)

2. สารสกัดหลักจากกัญชา คือ “สารCannabinoids” มีอยู่หลายชนิด เช่น
– Delta9-tetrahydrocannabinol (delta9-THC)
– Cannabidiol (CBD)
โดยปริมาณของสาร Cannabinoids ที่มีอยู่ในพืชตระกูลนี้ จะมีปริมาณที่แตกต่างกันไปตามสายพันธุ์และวิธีการปลูก

3. กัญชามีฤทธิ์ทำให้เสพติดได้จริง โดยเกิดจากฤทธิ์ของสาร Delta9-THC ที่ในเบื้องต้นจะทำให้ผู้ใช้เกิดความรื่นเริงผ่อนคลาย ดึงดูดให้ใช้ติดต่อกันเรื่อยๆ และกลายเป็นการเสพติดในที่สุด โดยผู้เสพอาจนำส่วนต่างๆของกัญชามาทำให้แห้งเพื่อสูบหรืออาจใช้ในรูปแบบน้ำมัน

4. กัญชามีฤทธิ์รบกวนการทำงานของเซลล์สมอง และสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการและโรคทางจิตเวชได้มากมาย เช่น
** วิตกกังวล ย้ำคิด
** หลงผิด หวาดระแวง
** หูแว่ว ประสาทหลอน
** อารมณ์แปรปรวน ก้าวร้าว
** ซึมเศร้า ฆ่าตัวตาย
** หลงลืม ไม่มีสมาธิ สมองเสื่อม โดยเฉพาะผู้ที่ใช้ตั้งแต่วัยเด็กและวัยรุ่น

5. กัญชาไม่ว่าในรูปแบบใดก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีที่ใช้ในการรักษาโรคทางจิตเวช*

6. บุคคลทั่วไปไม่ควรใช้กัญชา โดยเฉพาะเด็กเยาวชนและผู้ที่ไม่สบายทางจิตเวช

7. การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลของกัญชา (ทั้งประโยชน์และโทษ) ควรระบุให้ชัดเจนว่าเป็นผลของ”ต้นกัญชา” จาก”สารสกัด” หรือ จาก”สารสังเคราะห์”

8. สารสกัดจากพืชตระกูลกัญชาในบางรูปแบบ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้ แต่จะต้องเป็นไปตามข้อบ่งชี้มีหลักฐานทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานรองรับเท่านั้น

 

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 14 พ.ย. ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ได้ออกแถลงการณ์ จุดยืนของราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทยเรื่อง “การใช้กัญชาทางการแพทย์

อาศัยอำนาจตามความในหมวด 3 ข้อ 8 (7) แห่งข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยราชวิทยาลัยจิตแพทย์ แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2538 และมติคณะผู้บริหารราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย มีความคิดเห็นและข้อแนะนำเกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์ ดังนี้

1. คุณสมบัติของกัญชา กัญชา (marijuana) มีฤทธิ์เสพติด เป็นพืชที่มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า cannabis ซึ่ง cannabis มีหลายสายพันธุ์ ไม่ใช่เฉพาะแต่เพียงกัญชาเท่านั้น เช่น กัญชง ซึ่งเป็นพืชที่มีการน าล าต้นมาใช้ประโยชน์ ทั้งนี้ปริมาณของสาร cannabinoids ที่มีอยู่ในพืชเหล่านี้มีระดับที่แตกต่างกันตามสายพันธุ์และการเพาะปลูก สาร cannabinoids ที่มีอยู่ในกัญชามีอยู่หลายชนิด เช่น delta9-tetrahydrocannabinol (delta9-THC) และcannabidiol (CBD) เป็นต้น บางชนิดสามารถสกัดเฉพาะสารออกมาได้ หรือสังเคราะห์เองได้โดยไม่ต้องสกัดจากพืช โดยกัญชาในรูปแบบต่างๆ สามารถน ามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ในบางสาขาได้

กัญชาที่มีผู้นำมาใช้เพื่อความรื่นเริงจนบางครั้งเกิดการเสพติดนั้น มักเป็นชนิดที่มีปริมาณของสารdelta9-THC ที่สูง โดยผู้เสพดังกล่าวอาจนำส่วนต่างๆของกัญชามาทำให้แห้งเพื่อสูบ หรืออาจใช้ในรูปแบบน้ำมันซึ่งจะมีปริมาณ delta9-THC สูงกว่าปกติ โดยพบมากในต่างประเทศ

จากการศึกษาพบว่าการใช้กัญชาจะมีฤทธิ์รบกวนการทำงานของสมอง และเสี่ยงต่อการเกิดอาการทางจิตเวชได้ เช่น หลงผิด หูแว่ว ประสาทหลอน อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า วิตกกังวล เป็นต้น โดยเฉพาะผู้ที่ใช้ตั้งแต่วัยเด็กและวัยรุ่น ปัจจุบันยังไม่มีวิธีบอกว่าใครจะมีความเสี่ยงดังกล่าวบ้าง

2. ความคิดเห็นเกี่ยวกับกัญชาต่อผลทางจิตเวช กัญชามีฤทธิ์ทำให้เสพติดได้ ซึ่งเกิดจากฤทธิ์ของสาร delta9-THC กัญชาไม่ว่าในรูปแบบใดก็ตามยังไม่มีที่ใช้ทางการรักษาโรคทางจิตเวช การใช้กัญชามีฤทธิ์รบกวนการทำงานของสมอง และอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการทางจิตเวชได้

3. คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้กัญชา
3.1 บุคคลควรใช้กัญชาหรือสารสกัดตามข้อบ่งชี้ที่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานรองรับเท่านั้น
3.2 การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลของกัญชาทั้งประโยชน์และโทษ ควรระบุให้ชัดเจนว่าเป็นผลของการใช้กัญชาหรือสารสกัด เช่น delta9-THC หรือ เป็นผลจากสารสังเคราะห์
3.3 บุคคลทั่วไปที่ไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ไม่ควรใช้กัญชา โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนและผู้ที่มีโรคทางจิตเวช

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า