Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

วิธีลดฝุ่น PM 2.5 ที่กำลังทำกันอยู่ ช่วยให้ฝุ่นลดลงจริงไหม?

พ่นละอองน้ำ ลดฝุ่น PM 2.5 ไม่ได้

การใช้รถฉีดพ่นละอองน้ำตามพื้นที่ที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 สูงเกินค่ามาตรฐาน ของกรุงเทพมหานครและกรมควบคุมมลพิษ ที่ดำเนินการมาตลอดช่วงที่ผ่านมา มีผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมออกมาชี้แจงว่าไม่สามารถลดฝุ่น PM 2.5 ได้

โดย รศ.ดร.ศิริมา ปัญญาเมธีกุล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การฉีดพ่นละอองน้ำในลักษณะนี้ สามารถช่วยลดฝุ่นละอองในอากาศได้เฉพาะฝุ่นขนาดใหญ่ คือ PM 10 เท่านั้น เนื่องจากละอองน้ำที่ฉีดพ่น ไม่สามารถดักจับฝุ่น PM 2.5 ที่มีขนาดเล็กกว่าศูนย์กลางของเส้นผมมากกว่า 20 เท่าได้

ฉีดน้ำ ล้างถนน ลดฝุ่น PM 2.5 ไม่ได้

มาตรการฉีดน้ำล้างถนน เป็นอีกหนึ่งมาตรการที่กรุงเทพมหานครและกรมควมคุมมลพิษดำเนินการ รศ.ดร.ศิริมา ปัญญาเมธีกุล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า วิธีนี้ก็ไม่สามารถทำให้ฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5 ในบรรยากาศลงได้ แต่จะช่วยลดปริมาณฝุ่นขนาดใหญ่กว่า PM 10 เท่านั้น

วันนี้ (16 ม.ค.62) นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ระบุว่า นายกรัฐมนตรีได้รับรายงานจาก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าหลังกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ทำฝนเทียมแล้วพบว่า มีฝนตกบริเวณ เขตพญาไท ประเวศ บางกะปิ ห้วยขวาง และบางส่วนของ จ.นนทบุรี และปทุมธานี ช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน

เมื่อตรวจสอบค่าฝุ่นละอองในอากาศก่อนและหลังทำฝนเทียมร่วมกับกรมควบคุมมลพิษพบว่า ปริมาณฝุ่นละอองในอากาศลดลง เช่น เขตบางขุนเทียน ลดลงจาก 82 เหลือ 72 ไมโครกรัมต่อ ลบ.ม. เขตพญาไท ลดลงจาก 53 เหลือ 43 เขตพระนคร ลดลงจาก 74 เหลือ 65 ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน จ. สมุทรสาคร ลดลงจาก 66 เหลือ 60

ด้าน รศ.ดร.ศิริมา ปัญญาเมธีกุล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในเวที “จุฬาฯ ฝ่าวิกฤตรับมือฝุ่น PM2.5 นักวิชาการจุฬาฯ ไขข้อข้องใจเสนอแนวทางแก้ปัญหา” เมื่อวันที่ 15 ม.ค.62 ว่าการทำฝนเทียมในช่วงที่สภาพอากาศปิด โอกาสที่ฝนจะตกมีน้อย เพราะอากาศขาดความชื้น และหากฝนตกก็ไม่อาจชำระล้างฝุ่น PM 2.5 ที่ลอยอยู่ในอากาศได้หมด เนื่องจากฝุ่น PM 2.5 มีอนุภาคที่เล็กมาก ทำให้โอกาสที่เม็ดฝนจะตกลงมาโดนฝุ่น PM 2.5 จึงเป็นไปได้ยาก และสามารถลดได้เฉพาะฝุ่นขนาด PM 10 เท่านั้น

ฝนตกน้อย ลด PM2.5 ไม่ได้

กรณีฝนตกน้อย หลักการคล้ายกับกรณีทำฝนเทียม คือปริมาณฝนที่ตกลงมา ไม่สามารถจับฝุ่น PM 2.5 ที่อนุภาคเล็กกว่า 2.5 ไมครอนได้ แต่จะสามารถดักจับฝุ่นขนาดใหญ่ PM 10 เท่านั้น

ซึ่ง รศ.ดร.ศิริมา ปัญญาเมธีกุล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่าในฝุ่นใหญ่ก็อาจมีฝุ่นเล็กปนอยู่บ้าง ก็อาจทำให้ความเข้มข้นของ PM 2.5 ลดลงเพียงเล็กน้อยเช่นกัน

ฝนตกหนักมากๆ ช่วยลด PM2.5 ได้

รศ.ดร.ศิริมา ปัญญาเมธีกุล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ปริมาณฝนที่ตกหนักเป็นเวลานาน 5-6 ชั่วโมง หรือจกแบบไม่ลืมหูลืมตา สามารถช่วยลดความเข้มข้นของฝุ่น PM 2.5 ได้

ใช้รถฉีดละอองน้ำแบบฝอยที่ขนาดเล็กกว่า PM 2.5 สามารถลดได้เฉพาะพื้นที่

รศ.ดร.ศิริมา ปัญญาเมธีกุล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า กรณีที่จะใช้วิธีฉีดพ่อนละอองน้ำลด PM 2.5 อาจจะต้องใช้เครื่องฉีดพ่นแบบ Jet เหมือนกับที่ประเทศอินเดียใช้ เนื่องจากละอองน้ำที่เล็กกว่า PM 2.5 จะสามารถจับฝุ่นขนาดเล็กให้ตกลงมาที่พื้นได้ แต่อาจลดความเข้มข้นของฝุ่นได้เฉพาะพื้นที่เท่านั้น

พ่นละอองน้ำ แบบ กทม.ทำได้ แต่อาจต้องทำพร้อมกัน 30,000 จุด

รศ.ดร.ศิริมา ปัญญาเมธีกุล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวอ้างอิงถึง รศ.ดร.เกษมสันต์ มโนมัยพิบูลย์ บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่ได้ทำการคำนวนพื้นที่กรุงเทพมหานคร กับการฉีดพ่นน้ำละอองฝอยแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ว่า กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 50 เขต ประมาณ 1,500 ตารางกิโลเมตร หากต้องการให้ความเข้มข้นของฝุ่น PM 2.5 ลดลง 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จะต้องใช้เครื่องฉีดพ่นน้ำจำนวน 30,000 เครื่องฉีดพร้อมกัน จึงจะช่วยลดฝุ่นได้

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า