Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

นาตาลี’ หนูน้อยที่เกิดมาพร้อมกับรอยปานบนหน้าขนาดใหญ่ แม้แต่พ่อและแม่ยังตกใจ แต่พวกเขาเปลี่ยนความคิด หันมาเสริมสร้างความมั่นใจให้กับลูกให้เกิดความแข็งแกร่งไม่ว่าจะเจออะไรก็ตาม

แอนดรูว์ วัย 34 ปี และเลซีย์ แจ็คสัน วัย 35 ปี พ่อและแม่ของหนูน้อยนาตาลี รู้สึกตกใจเป็นอย่างมาก เพราะนาตาลีเกิดมาพร้อมกับปานขนาดใหญ่บนใบหน้าด้านซ้ายรอบดวงตา คล้ายกับซูเปอร์ฮีโร่แบทแมน

หนึ่งสัปดาห์หลังจากนาตาลีเกิด พวกเขาพาเธอไปให้จักษุแพทย์ตรวจดวงตาอย่างละเอียด และยังไปพบกับแพทย์ผิวหนัง เพื่อให้มั่นใจว่าปานไม่เป็นอันตรายต่อลูกของพวกเขา แพทย์ระบุว่า มันเป็นแค่ปาน ซึ่งนาตาลีก็มีสุขภาพแข็งแรงดี แต่ปานอาจโตขึ้นได้ในอนาคต ซึ่งอาจเผชิญกับความเสี่ยงต่อสุขภาพ

ในขณะที่นางแจ็คสันเลี้ยงลูกของเธอไป เธอเริ่มกลัวว่าคนอื่นจะมองปานของนาตาลี แต่ในเวลานั้น เธอตัดสินใจว่าจะรักนาตาลีให้มาก และสร้างความมั่นใจให้นาตาลี เพื่อให้มั่นใจว่าลูกของเธอสามารถสวยได้อย่างไรในแบบที่เป็น และจะสามารถเอาชนะทุกสิ่งที่ต้องการ

นาตาลีเป็นลูกสาวคนแรกและเป็นลูกคนที่ 3 ของครอบครัวนี้ต่อจาก เอลเลียต วัย 7 ขวบ และ เดวิน วัย 4 ขวบ หนึ่งให้ลูกชายถามนางแจ็คสัน แม่ของพวกเขาว่า อะไรอยู่บนหน้าของน้องผมล่ะครับคุณแม่? รอยดำนั่นคืออะไร? ผู้เป็นแม่ตอบว่า มันเป็นหน้ากากของซูเปอร์ฮีโร่ เพราะเหตุนี้ นาตาลีสามารถจะทำอะไรก็ได้!

“เรารู้ว่าเธอจะต้องสู้กับบางสิ่งที่ยากลำบาก แต่ปานของเธอซึ่งหมายความว่าเธอจะแข็งแกร่งขึ้น ไม่ว่าชีวิตจะเจออะไรก็ตาม” พ่อแม่คู่นี้กล่าว

สำหรับ ปานแต่กำเนิด คือ ความผิดปกติของสีผิว และหรือความผิดปกติของความเรียบเนียนของผิวซึ่งพบในทารกแรกเกิดหรือในช่วงอายุขวบปีแรก ปานมีหลายชนิด และเกิดจากความผิดปกติของเซลล์ที่แตกต่างกันไป เช่น เซลล์ผิวหนัง หลอดเลือด ทางเดินน้ำเหลืองและกล้ามเนื้อ

ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า อะไรเป็นสาเหตุของการเกิดปาน และปานก็ไม่ใช่ความผิดปกติที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม

ทางการแพทย์มักแบ่งประเภทของปานไปตามชนิดของเซลล์ที่ผิดปกติ เช่น เซลล์สร้างเม็ดสีหลอดเลือด ทางเดินน้ำเหลือง กล้ามเนื้อ เป็นต้น ปานบางชนิดจะสามารถหายไปได้เอง โดยไม่ต้องได้รับการรักษาใด ๆ บางชนิดมีอาการคงตัวไม่เปลี่ยนแปลง หรือบางชนิดอาจมีขนาดใหญ่ขึ้นตามอายุ นอกจากนี้ปานบางชนิดสามารถพบร่วมกับความผิดปกติอื่น ๆ ของร่างกาย ซึ่งอาจต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เพื่อหาวิธีรักษาที่เหมาะสม ปานที่พบได้บ่อย ได้แก่

Mongolianspotphoto.jpg

ปานมองโกเลียน (Mongolian) พบบ่อยที่สุด มีลักษณะเป็นผื่นราบสีเขียว ฟ้าเทา หรือน้ำเงินเข้ม บริเวณก้นและสะโพก แต่อาจพบที่บริเวณอื่นๆ ของร่างกายได้ เช่น แขน ขา หลัง ไหล่ หนังศีรษะ ปานชนิดนี้จะค่อยๆ จางหายไปเมื่อเข้าสู่วัยเด็กตอนต้น ไม่มีความจำเป็นต้องทำการรักษา

ปานโอตะ (Nevus of Ota) เป็นปานแต่กำเนิดชนิดที่พบบ่อยในชาวเอเชีย มีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลเข้ม สีเขียว สีฟ้าเทา หรือสีน้ำเงินที่ค่อยขยายขนาดขึ้นตามอายุจนกลายเป็นปื้นอยู่ซีกใดซีกหนึ่งบนใบหน้า ผู้ป่วยบางรายอาจมีปานโอตะที่เกิดขึ้นในบริเวณตาขาวด้วย

ประมาณร้อยละ 10 ของผู้ป่วยจะตรวจพบความผิดปกติของความดันลูกตาในข้างเดียวกับปานที่มีอยู่ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่ทันเวลาจะพัฒนาไปเป็นโรคต้อหินและทำให้ตาบอดได้ ปานโอตะที่ผิวหนังตอบสนองต่อการรักษาด้วยเลเซอร์ดีมาก

CALSpot.jpg

ปานสีกาแฟใส่นม (Café au lait) มีลักษณะเป็นผื่นราบสีน้ำตาลอ่อน ปรากฏตั้งแต่แรกเกิดหรือภายในอายุ 2-3 เดือน มักจะมีรูปร่างกลมหรือรี ขอบเขตค่อนข้างชัดเจน จะขยายขนาดขึ้นตามการเจริญเติบโต และจะคงอยู่ตลอดชีวิต ส่วนใหญ่จะไม่พบมีความผิดปกติอื่นๆ ของร่างกายร่วมด้วย แต่หากผู้ป่วยที่มีปานชนิดนี้จำนวนมากหรือมีขนาดใหญ่ อาจพบมีโรคพันธุกรรมบางชนิดได้

ปาน

ปานแดง (Port-wine stains) มีลักษณะเป็นปื้นแดงที่มักปรากฏอาการตั้งแต่แรกเกิด และจะคงอยู่ตลอดชีวิตไม่จางหายไป รอยโรคจะขยายขนาดโตตามตัวของผู้ป่วย ส่วนใหญ่มักอยู่ซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย ปานจะมีสีเข้มขึ้น รวมทั้งอาจนูนหนาและขรุขระเพิ่มขึ้น ตามอายุที่มากขึ้น

หากพบปานชนิดนี้บริเวณใบหน้า โดยเฉพาะรอบดวงตา อาจพบร่วมกับความผิดปกติของดวงตาและสมอง ปานแดงชนิดนี้สามารถรักษาโดยใช้เลเซอร์ได้ ซึ่งการตอบสนองต่อการรักษาขึ้นกับตำแหน่งและขนาดของรอยโรค การเริ่มการรักษาด้วยเลเซอร์ในเด็กจะได้ผลการรักษาดีกว่าในผู้ใหญ่และใช้จำนวนครั้งในการรักษาน้อยกว่า

เนื้องอกหลอดเลือดในเด็ก (Hemangioma) พบความผิดปกติที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก (ประมาณ 5% ในทารกแรกเกิด และ 5-10% ในเด็กอายุ 1 ปี) พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย บางรายอาจพบมีจุดหรือปื้นสีแดงนำมาก่อนแล้วค่อย ๆ ขยายใหญ่ขึ้น

ลักษณะของปานที่พบบ่อยจะเป็นก้อนนูนสีแดงสด ผิวขรุขระ ซึ่งก้อนเนื้องอกชนิดนี้จะมีขนาดโตขึ้นภายในช่วงอายุ 6-9 เดือนแรกของชีวิต 50% ของผู้ป่วยที่มีปานชนิดนี้ก้อนจะค่อยๆ ยุบลงได้เอง ภายหลังอายุ 5 ปี ภายหลังก้อนสีแดงนี้ยุบลง อาจหลงเหลือความผิดปกติของผิวหนังบริเวณดังกล่าวได้

 

ขอบคุณข้อมูลจาก ศ.นพ.วรพงษ์  มนัสเกียรติ ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า