Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ – รวมไฮไลต์ หุ่นล้อการเมืองสังคม ฟุตบอลประเพณี “จุฬา –  ธรรมศาสตร์”ครั้งที่ 72 หุ่นสะท้อนการเมือง ปัญหาสังคมที่กำลังร้อนแรง แบบแสบๆ คันๆ

ขบวนพาเหรด งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ – ธรรมศาสตร์ครั้งที่ 72 ถูกจับตาตั้งแต่ยังไม่เริ่มงาน ในที่สุด ขบวนของ “ธรรมศาสตร์” ก็เรียกเสียงอื้อหือ ด้วย ยักษ์หุ่น “นนทก” ที่ข้อมือด้านซ้ายของหุ่น เขียนคำว่า “คืนเพื่อนแล้ว” พร้อมป้ายผ้าข้อความว่า “นนทุกข์เรือนละวัน”

ตามวรรณคดีไทย ยักษ์นนทก เป็นชาติกำเนิดของทศกัณฐ์ ทำหน้าที่เป็นยักษ์รับใช้ต้องคอยล้างเท้าให้เทวดา ที่จะมาเข้าเฝ้าพระอิศวร และถูกแกล้งเสมอ จนไปขอพรจากพระอิศวรเพื่อไม่ให้ตนถูกกลั่นแกล้ง พระอิศวร ให้นิ้วเพชรแก่ นนทก แต่เมื่อนนทก กลับใช้แก้แค้นเทวดา พระนารายณ์จึงต้องจำแลงเป็นนางอัปสรมาร่ายรำให้ นนทกร่ายรำตาม เผลอใช้นิ้่วเพชรชี้ตัวเองจนต้องสิ้นฤทธิ์

อีกตัวคือหุ่นตราชั่ง ที่ด้านหนึ่งของตราชั่ง เป็นโรงพยาบาล เข็มฉีดยา และมีชายผมยาว ประคองตราชั่งด้านนั้นที่กำลังลอยอยู่ ส่วนอีกด้านของตราชั่ง เป็นหุ่นรูปเครื่องบินลายพรางที่มีน้ำหนักมากกว่า จนทำให้ตราชั่งเอียงมาทางด้านนี้ พร้อมกลุ่มนักศึกษา ที่แต่งกายเป็นคนหลายสาขาอาชีพ เดินตามมาภายในห่วงโซ่

และสุดท้ายกับ หุ่นรูปคล้ายพานรัฐธรรมนูญ มียักษ์ 4 ตัวกำลังยกพานที่กำลังจะหัก แล้วหักออกมาเป็นหน้าหุ่นตัวหนึ่ง ที่ดูไม่ออกว่า คล้ายหน้าบุคคลใด

ขบวนพาเหรด จุฬาฯ

ส่วน ขบวนพาเหรดจากจุฬาฯ ที่ก่อนเข้าสนามใช้ผ้าสีดำคลุมอย่างมิดชิด ก็เผยโฉมในสนาม เป็นหุ่นที่ไร้ใบหน้า แต่มีปี๊บคลุม และเขียนตัวอักษรว่า “ป.ป.ช.” โดยมีนักศึกษา เดินถือป้ายสีดำนำหน้าหุ่นตัวนี้ เขียนข้อความคล้ายพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ว่า

“ห้ามล้อนาฬิกา เข้มบอลประเพณี ทำหุ่นคล้ายผู้นำก็ไม่ได้ นิสิตโวยโดนเซ็นเซอร์” นอกจากนี้ ยังมีป้ายตัวอักษร คำว่า Social Movement ซึ่งเป็นคำถามของผู้เข้าประกวดรอบ 5 คนสุดท้าย ในศึกชิง มงกฎมิสยูนิเวิร์ส 2017 ที่ มารีญา พูนเลิศลาภ ตัวแทนสาวไทยได้รับคำถามนี้ ก่อนพลาดมงไปอย่างค้านใจกองเชียร์ชาวไทย

และอีกหนึ่งความสนใจ เมื่อ ตูน บอดี้สแลม และ ก้อย รัชวิน นักร้องนักแสดงชื่อดัง ในฐานะศิษย์เก่าจุฬาฯ ได้มาร่วมงานเปิดฟุตบอลประเพณีในปีนี้ด้วย

อย่างไรก็ตาม จุดมุ่งหมายสำคัญของงานฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ – ธรรมศาสตร์ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้นิสิต – นักศึกษา สองมหาวิทยาลัย สามารถปรองดองกัน ตั้งแต่การจัดครั้งแรก ตั้งแต่ปี 2488 มีแบบอย่างจากกิจกรรมของหลายมหาวิทยาลัยจากในหลายๆ ประเทศ ส่วนการล้อการเมือง ที่นักศึกษาจัดทำขึ้นก็เพื่อสร้างสีสัน แสดงความคิดสร้างสรรค์และมุมมอง ต่อเรื่องร้อนๆ ในปัจจุบัน

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า