Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ ที่จัดขึ้นทุกปี โดยปีนี้ก็เป็นครั้งที่ 72 แล้ว นอกจากเรื่องของฟุตบอล และเหล่าบรรดากองเชียร์ อีกเรื่องที่จะได้รับความสนใจ นั่นคือ ขบวนล้อการเมือง รวมไปถึงการแปรอักษรของสองสถานบัน ที่มักจะคำพูด หรือการสร้างสรรค์ผลงานในเชิงเสียดสีสังคม หรือสะท้อนมุมมองทางการเมืองของนักศึกษาออกมาให้เห็น ซึ่งผลงานเหล่านี้ ก็ทำให้ผู้ใหญ่ในวงการเมืองสะดุ้งมาบ้างแล้ว

จาก 72 ครั้งที่จัด ขบวนล้อการเมืองมักผ่านฉลุยไม่มีการตรวจสอบ แต่เมื่อเข้าสู่ช่วง คสช. บริหารประเทศ งานบอลก็ดูเหมือนจะถูกจับตามองอย่างเข้มงวด

3 ปีในยุค คสช. กับการล้อการเมือง ของเด็กบ้าๆ ที่ทำให้เหล่าทหารกล้าหันมาสนใจ เริ่มตั้งแต่

ปี 2557 ที่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาบริหารประเทศใน ซึ่งขณะนั้นเป็นปีที่ 70 ของฟุตบอลประเพณี ในช่วงต้นปีมีการชุมนุมทางการเมือง โดยกลุ่ม กปปส. ได้ปิดถนนสายหลักในกรุงเทพมหานคร (Shut down Bangkok) พิษการเมืองทำให้งานต้องถูกเลื่อนออกไปหลายครั้งโดยไม่มีกำหนด เนื่องจากม็อบถูกจัดที่สวนลุมพินีซึ่งใกล้กับจุดจัดงานฟุตบอลประเพณี ที่สนามกีฬาแห่งชาติ

จนกระทั่งวันที่ 7 ก.พ. 2558 หลังการปฏิวัติโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ งานบอล จุฬา-ธรรมศาสตร์ก็จัดขึ้นอีกครั้ง แต่สถานการณ์ก่อนขบวนล้อการเมืองจะเข้าสนาม มีรายงานว่าทหารหลายร้อยนาย เข้ามาตรวจสอบอุปกรณ์ในขบวน มีการยึดป้ายผ้าของนักศึกษาไปตรวจสอบอย่างละเอียด ซึ่งนักศึกษาธรรมศาสตร์ก็ได้แอบดัดแปลง ซ่อนหุ่นกันเข้ามาภายในสนาม และสร้างเซอร์ไพรส์ให้กับผู้ชมหลังเปิดผ้า โชว์หุ่นทั้ง 6 ตัว อาทิ หุ่น “(ปะ) ยึด อำ (โอ) นาจ” ล้อกับท่านผู้นำที่กำลังซักล้างคนในอ่าง ที่มีวลีเด็ด เราจะทำตามสัญญา ขอเวลาอีกไม่นาน เพื่อให้คราบหมดไป, หุ่น “ข้า” นิยม 12 ประการ ว่าด้วยการปลูกฝังความดี ที่เมื่อฉีกเอากระดานค่านิยมออก จะเห็นคำว่าประชาธิปไตยที่ถูกขีดฆ่าลง และหุ่นโฆษณาชวนเชื่อ(ง) ว่าด้วยการปฏิรูปสื่อ กับหุ่น น.ศ.มธ.นั่งชมโทรทัศน์ ที่เปลี่ยนเป็นภาพ พล.อ.ประยุทธ์ กับการ์ตูนชื่อดังเทเลทับบี้ กลายเป็นที่ฮือฮาไปทั่วโซเชียลมีเดีย

13 ก.พ. 2559 งานฟุตบอลประเพณีครั้งที่ 71 ยังคงเป็นที่จับตามองเมื่อปีที่แล้วได้สร้างผลงานที่เรียกเสียงฮือฮา ความคาดหวังย่อมเกิด รวมไปถึงความกังวลต่อการถูกล้อเลียน ทำให้เมื่อก่อนจะเริ่มงาน ทางคณะผู้จัดงานได้ประชุมร่วมกับ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยได้มีการขอความร่วมมือใน 3 ประเด็นคือ 1.อย่าแสดงอะไรที่หมิ่นประมาทบุคคล และหมิ่นประมาทหน่วยงาน  2.อย่าสร้างความแตกแยกในสังคม และ  3.อย่าทำให้เสียภาพลักษณ์ส่วนรวมของประเทศ หากผิดข้อตกลงก็จะให้หยุดการแสดง

และเมื่อก่อนจะนำหุ่นเข้าสนาม ต้องได้รับการตรวจสอบหุ่น และป้ายผ้าก่อน โดยครั้งนี้เจ้าหน้าที่จัดหนัก ทำการปิดประตูสนามฟุตบอลไม่ให้ขบวนเข้าไป จนต้องมีการเจรจา โดยนักศึกษายืนยันว่า ผลงานที่จะนำเอาไปเสนอนั้นจะไม่ทำให้เกิดความขัดแย้ง

หุ่นล้อการเมืองครั้งนั้นมี 6 ตัว และยังคงคอนเซ็ปต์เสียดสีสังคมได้อย่างดี อาทิ หุ่นดาร์ธไหน โกงไวเฟร่อ ว่าด้วยการทุจริตต่างๆ และหุ่นตั่วเฮียที่รัก หุ่นมังกร เปรียบดังประเทศมหาอำนาจอันเป็นที่พึ่ง ในยุคที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและไม่มีทางเลือกมากนักและยังคงมีอีกไฮไลท์ที่เรียก เสียงฮือฮา

นั่นคือการแปรอักษรด้วยข้อความต่อเนื่องของฝั่งชาวธรรมศาสตร์ที่ฝากถึงรัฐบาล คสช. ไว้ว่า “กลัวเป็นบ้า กลัวไรหนักหนา แค่เด็กบ้าๆ ล้อการเมือง” รวมถึงการแปรอักษรเป็นภาพของ รัฐธรรมนูญไทย พร้อมข้อความ แค่ได้คิดถึงก็เป็นสุขใจ

สำหรับครั้งล่าสุด ครั้งที่ 72 ที่เพิ่งผ่านพ้นไปในวันที่ 3 ก.พ.ที่ผ่านมา ยังคงเป็นกระแสให้พูดถึงอยู่ ตั้งแต่เริ่มที่ข่าวว่าเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจได้ตีกรอบ สั่งห้ามไม่ให้กลุ่มนิสิตนักศึกษาจัดทำหุ่นล้อเลียนในประเด็นนาฬิกา แหวนทอง ผู้นำ และทหาร

โดยระหว่างการจัดทำหุ่น ก็มีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบแอบเข้ามาสอดส่องอยู่บ่อยๆ ซึ่งภายในงาน หุ่นล้อการเมือง ก็ไม่ได้ทำผิดหรือแหกข้อบังคับของ คสช. หุ่นทั้ง 5 ตัว ไม่ปรากฎนาฬิกา หรือ แหวนทอง

โดยไฮไลท์สำคัญของขบวนพาเหรดล้อการเมืองในครั้งนี้ คือต้องการชูปัญหาหลักๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศภายใต้การบริหารงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ผ่านหุ่นต่างๆ อาทิ หุ่นยักษ์นนทก ที่มีนิ้วเพชร ซึ่งมีอำนาจในการปลิดชีวิตใครก็ได้ แต่ท้ายสุดก็ชี้มาที่ตัวเอง ส่วนบนข้อมือซ้ายมีลายขาว เขียนข้อความว่า “คืนเพื่อนแล้ว” สะท้อนถึงเรื่อง จากใช้อำนาจเกินขอบเขตจนกลับมาทำร้ายตัวเอง หุ่นตราชั่งไม่สมดุล สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐที่ถูกใช้ไปในโครงการต่างๆ ที่อาจไม่สอดรับกับความต้องการและประโยชน์ของประชาชน และ หุ่นฉีกพานรัฐธรรมนูญ ที่ด้านในมีหัวของหุ่นที่หน้าตาละม้ายคล้ายผู้นำ เป็นการอธิบายถึงปัญหาการบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ที่ดูเหมือนเป็นการปูทางขึ้นสู่อำนาจของบางคนบางกลุ่มและยังมีไฮไลท์เป็นการแปรอักษรชุด ที่ปีนี้ทำได้แสบสัน เรียกเสียงเชียร์ เสียงฮือฮาได้ทั้งสนาม

สำหรับปีนี้ นายลัทธพล ยิ้มละมัย นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ประธานกลุ่มอิสระล้อการเมืองมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า กิจกรรมล้อการเมืองในมุมมองนักศึกษามองเป็นเรื่องสนุก ไม่ได้มีเจตนาโจมตีตัวบุคคล แต่เป็นการสื่อสารถึงภาพรวมของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในบ้านเมือง ปัจจุบันรัฐบาลก็มีแนวคิดปฏิรูปการเมือง ก็อยากให้รับฟังเนื้อหาของกิจกรรมล้อการเมือง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมนี้

ด้าน พล.ต.ปิยพงศ์ กลิ่นพันธุ์ ทีมโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ กล่าวถึงขบวนพาเหรดล้อการเมืองว่า ไม่มีอะไรล่อแหลม ถือเป็นกิจกรรมที่มีมานาน เป็นประเพณีที่จะต้องมีการล้อเลียนการเมืองและล้อสังคม ที่เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงกรอบแนวคิดของนักศึกษา รวมถึงวิธีการสื่อสารของคนรุ่นใหม่ ซึ่งก็คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพทำให้คนยุคปัจจุบันหรือ ผู้ใหญ่ในสังคม ได้รับฟังข้อคิดเห็น เพราะคนทั้ง 2 รุ่นนี้ต้องก้าวไปด้วยกัน

นอกจากขบวนล้อการเมือง ที่สร้างหุ่น ก็ยังมีหนุ่มกราฟฟิตี้ ผู้สร้างผลงาน พ่นสีรูปนาฬิกาหน้าพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ บนสะพานลอยกลางกรุงอีก 1 รายที่น่าจับตามอง เพราะผลงานของเขาทำให้เจ้าหน้าที่เทศกิจต้องรีบออกมาทำการทาสีทับ ลบภาพดังกล่าว อีกทั้งล่าสุด ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ ‘Headache Stencil’ ซึ่งรับว่าเป็นผู้สร้างผลงานดังกล่าว ได้โพสต์ข้อความในช่วงเช้าของวันนี้ มีเนื้อหาโดยสรุปว่า มีตำรวจที่กำลังไปเฝ้าตามที่พักหรือรังควานบ้านคนรู้จักของตนกลางดึก สิ่งที่ตนทำไป เป็นการแสดงออกถึงสิ่งที่คิดอยู่ผ่านงานศิลปะเท่านั้น ไม่ได้ฆ่าใครตาย ทำให้กระแสโซเชียลโหมกระหน่ำต้องการคำตอบจากทางรัฐบาล ซึ่งตอนนี้ยังไม่มีความเคลื่อนไหว หรือออกมาให้คำตอบแต่อย่างใด

แต่ในส่วนของกฎหมาย การที่นำสีไปทา ไปพ่นตามที่สาธารณะ จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาด โดยมีโทษปรับตั้งแต่ 500-2,000 บาท

 

 

 

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า