Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ชุมทางรถไฟหน้าค่ายกักกันเอาช์วิทซ์-เบียเคอเนา

เจ้าหน้าที่โปแลนด์เร่งตามหาสาววัยรุ่น 3 คน หลังโพสต์ท่า “ซีกไฮล์” หน้าค่ายเอาช์วิทซ์ แล้วลงรูปในอินสตาแกรมและเฟซบุ๊ก

วานนี้ (10 ต.ค. 61) สื่อต่างประเทศรายงานว่า เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ค่ายกักกันเอาช์วิทซ์-เบียเคอเนา สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาตร์ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ชื่อดังทางตอนใต้ของประเทศโปแลนด์ กำลังตามหาวัยรุ่นสาว 3 คน ที่ยืนโพสต์ท่า “ซีกไฮล์” บริเวณทางรถไฟหน้าค่าย เพื่อดำเนินการทางกฎหมายกับสาววัยรุ่นกลุ่มนี้เนื่องจากท่า “ซีกไฮล์” หรือการกระทำใดก็ตามที่เกี่ยวข้องในเชิงสนับสนุนลัทธินาซีถือเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายของโปแลนด์ และในหลายๆ ประเทศของยุโรปที่เคยถูกเยอรมันยึดครองช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

ด้านสื่อท้องถิ่นรายงานเพิ่มเติมว่า กลุ่มเด็กสาวได้โพสต์ภาพดังกล่าวลงในอินสตาแกรมและเฟซบุ๊กส่วนตัว ซึ่งในเวลาต่อมาเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ได้เจอภาพดังกล่าวเข้า และได้ทำการยื่นคำร้องต่อสำนักงานอัยการเขตใน Oswurzeim เพื่อจัดการดำเนินคดีกับวัยรุ่นกลุ่มนี้ ซึ่งล่าสุดวัยรุ่นกลุ่มนี้ได้ลบภาพดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อย

ทางด้านนาย Pawel Sawicki โฆษกของพิพิธภัณฑ์กล่าวกับสื่อว่า “นี่เป็นพฤติกรรมที่น่าตกใจ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานที่ที่น่าเศร้า สถานที่แห่งนี้คือที่ที่ผู้บริสุทธิ์ถูกคุมขังและถูกฆาตกรรมอันเนื่องมาจากอุดมการณ์ของนาซีเยอรมัน ความตลกขบขันของพวกเธอสะท้อนให้เห็นว่าวัยรุ่นเหล่านี้ไม่ได้เรียนรู้หรือซึมซับความน่ากลัวของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และลัทธิเผด็จการ

นี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น โดยเมื่อปี 2017 ที่ผ่านมา ได้มีวัยรุ่นสวีเดนกลุ่มหนึ่งได้ถ่ายคลิปขณะกำลังทำท่าซีกไฮล์และใช้คำพูดที่ไม่เหมาะสมในขณะที่ไปเยี่ยมชมค่ายกักกันเอาช์วิทซ์-เบียเคอเนา รวมถึงเหตุการณ์ที่นักเรียนอิสราเอลลดกางเกงของตนลงขณะเข้าชมค่ายกักกัน Majdanek ใกล้กรุงวอร์ซอโปแลนด์ ซึ่งในกรณีนี้ทางกระทรวงศึกษาธิการของอิสราเอลได้เข้ามาไกล่เกลี่ย และเด็กคนดังกล่าวจ่ายค่าปรับเป็นเงินจำนวน 250 ปอนด์ สำหรับความผิดครั้งนี้

ภาษาเยอรมันที่ติดอยู่บนเหล็กดัดเหนือประตูคือ Arbeit macht frei แปลว่า “การทำงานนำมาซึ่งอิสรภาพ”

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 พรรคนาซีได้สร้างค่ายกักกันไว้มากมายหลายแห่งทั่วเขตที่นาซีเยอรมันยึดครอง ซึ่งค่ายกักกันเอาช์วิทซ์-เบียเคอเนา นับเป็นเป็นค่ายกักกันที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาค่ายกักกันของนาซี รูด็อล์ฟ เฮิส ผู้บังคับบัญชาการของค่าย ให้การในการพิจารณาคดีที่นูเรมเบิร์ก (เนิร์นแบร์ก) ว่ามีประชากรถึงราว 3 ล้านคนที่เสียชีวิตในค่ายกักกันเอาช์วิทซ์ จนในปี ค.ศ. 1947 เพื่อเป็นการระลึกถึงผู้เสียชีวิต โปแลนด์ก็ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ ณ ที่ตั้งของค่ายกักกันของสองค่าย เมื่อมาถึง ค.ศ. 1994 ก็มีผู้มาเยี่ยมค่ายกักกันถึง 22 ล้านคน – 700,000 คนต่อปี และได้เลือกให้วันที่ 27 มกราคม ซึ่งเป็นวันที่กองทัพโซเวียตปลดปล่อยค่ายกักกันแห่งนี้ เป็นวันที่ระลึกของวันรำลึกถึงเหตุการณ์ฆ่าล้างเผาพันธุ์นานาชาติอีกด้วย

 

 

 

ที่มา    Grinning young girls perform ‘Nazi salute’ at Auschwitz death camp and post it on Instagram

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า