Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

หลังกรุงเทพมหานคร เข้ารื้อทุบทางเท้าริมถนนสุขุมวิท เพื่อดำเนินกรปรับปรุงทางเท้าใหม่ โดยเฉพาะจุดหน้าโรงแรม JW MARRIOTT ที่ทางเอกชนดำเนินการสร้างและออกแบบ และมอบให้ กทม. จนทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์จำนวนมาก เพราะประชาชนส่วนใหญ่ที่สัญจรผ่านทางเท้าบริเวณนี้ บอกว่า ทางเท้าจุดนี้ยังมีสภาพคงทน แข็งแรง สวยงาม แม้จะใช้งานมาแล้วกว่า 10 ปี โดยล่าสุดมีการเปิดเผยภาพโดยเฟซบุ๊กแฟนเพจ เฮ้ย นี่มันฟุตบาทไทยแลนด์ ถึงภาพการปูทางเท้าใหม่ของ กทม. เปรียบเทียบกับของเดิม ยิ่งทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์หนัก

ก่อนหน้านี้ กทม.ชี้แจงว่า การทุบรื้อทางเท้าบริเวณดังกล่าว อยู่ในโครงการปรับปรุงทางเท้าของสำนักการโยธา กทม. ที่ริมถนนสุขุมวิท ทั้ง 2 ฝั่ง ระยะทางรวมกัน 3 กิโลเมตร ซึ่งจุดหน้าโรงแรมแห่งนี้มีประชาชนร้องเรียนว่า เวลาฝนตกพื้นที่ทำขากแกรนิตลื่น เนื่องจากสร้างมานาน 10 ปี และก่อนเข้าดำเนินการทุบ กทม. ได้เข้าไปขอให้ทางโรงแรมปรับปรุงทางเท้าแล้ว แต่ทางโรงแรมไม่ดำเนินการและให้ กทม. ไปรื้อแล้วปรับปรุงเอง

ภาพจาก : กลุ่มคนไทยของทางคืนทางเท้า

นายศักดิ์ชัย บุญมา ผู้อำนวยการสำนักการโยธา กทม. ได้ให้สัมภาษณ์กับเวิร์คพอยท์ว่า ปัญหาของทางเท้าตรงนี้คือ พื้นผิวเป็นสีเดียวกับพื้นในโรงแรม ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าโรงแรมเป็นเจ้าของทางเท้า ซึ่ง กทม. พยายามชี้แจงมาตลอดว่า ทางเท้าจุดนี้ เอกชนเป็นคนทำและยกให้ กทม. ดูแล และอีกปัญหาคือทางเท้าจุดนี้สีแตกต่างจากทางเท้าบริเวณอื่นในถนนเส้นเดียวกัน แม้ว่าจะสวยกว่า นอกจากนี้ยังมีประชาชนร้องเรียนมาอีกว่า พื้นผิวแกรนิตที่ใช้มาเป็นเวลานานเวลาเดินมันลื่น ทรุด บางส่วนมีรอยแตก เมื่อมีโครงการปรับปรุงทางเท้าจึงดำเนินการสร้างตรงนี้ใหม่ ให้เป็นสีเดียวกัน

นายศักดิ์ชัย ระบุด้วยว่า ใน กทม. มีทางเท้าที่เอกชนทำและมีปัญหาคล้ายๆ กันนี้หลายจุด ถึงแม้ว่ากทม.จะพยายามร่วมมือเอกชนในการสร้างทางเท้า แต่ยังมีปัญหาเรื่องของสีพื้นผิว เพราะ กทม.เอง มีแนวคิดเรื่องของย่าน ต้องการให้มีเอกลักษณ์ประจำย่าน

“สมมติว่าเข้ามาสุขุมวิท ทางเท้าจุดนี้เป็นสีแดงคือสุขุมวิท พอเป็นสีเขียวอาจจะเป็นเพชรบุรี อันนี้เป็นแนวคิดที่คิดกันใหม่” นายศักดิ์ชัยกล่าว

ส่วนประเด็นที่ประชาชนตั้งคำถามว่า ที่ผ่านมาทางเท้า กทม. ไม่แข็งแรง แตกง่าย นายศักด์ชัย ระบุว่า ทางเท้าถูกออกแบบมาเพื่อให้ประชาชนเดิน และเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าซ่อมแซมสาธารณูปโภคที่อยู่ใต้ดิน แต่กลับมีรถจักรยานยนต์ขึ้นไปวิ่งบนทางเท้า ทำให้วัสดุชำรุดเสียหาย ดังนั้นสาเหตุจึงมาจากการใช้งานผิดประเภท ไม่ใช่มาจากวัสดุที่ใช้

https://www.youtube.com/watch?v=hfmpBJSE_Ng

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า