Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ- ปัจจุบันการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนในไทย สูงขึ้นทุกๆปี โดยเฉพาะช่วงวันหยุดยาว สาเหตุหลักสภาพท้องถนน และผู้ขับขี่ขับรถเร็ว หากรัฐไม่แก้ไขก็มีโอกาสที่ไทยจะขยับขึ้นเป็นประเทศที่มีผู้เสียชีวิตบนท้องถนนสูงเป็นอันดับ 1 ของโลก สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่าปีละ 5 แสนล้านบาท

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รศ.ดร.เอกชัย สุมาลี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยนครอัจฉริยะ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.) กล่าวว่า จากรายงานตัวเลขจำนวนผู้เสียชีวิตบนท้องถนนไทยขององค์การอนามัยโลก ที่ระบุว่ามีอัตราส่วนผู้เสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก เท่ากับ 36.2 คนต่อประชากร 1 แสนคน สะท้อนว่าหากไม่เร่งดำเนินการเพื่อแก้ไขหรือลดสถานการณ์ดังกล่าว ประเทศไทยมีแนวโน้มขยับขึ้นเป็นอันดับ 1 ของโลกอย่างแน่นอน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเทศกาลวันหยุดยาว ที่มีการเดินทางออกต่างจังหวัดหนาแน่น เช่น เทศกาลสงกรานต์ ในปี 2560 ที่ผ่านมา ตลอด 7 วันอันตราย มีผู้สังเวยชีวิตสูงถึง 390 ราย เกิดอุบัติเหตุรวมกว่า 3,650 ครั้ง

ศูนย์วิจัยนครอัจฉริยะจึงร่วมกับกรมการขนส่งทางบก พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมระบบขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) ด้วยเทคโนโลยี Global Positioning System: GPS ในการเก็บข้อมูลและศึกษาพฤติกรรมการขับขี่ตั้งแต่ปลายปี 2559 ซึ่งจากข้อมูลล่าสุดมีรถที่ดำเนินการติดตั้งแล้วทั้งสิ้น 271,301 คัน

ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์ข้อมูล Safety Analytics จากข้อมูล GPS ของรถบรรทุกและรถโดยสารสาธารณะ พบมีการกระทำผิดขับเร็วเกินกำหนดรวมสูงถึง 17,218,811 ครั้ง

ในปี 2560 ที่ผ่านมา จากจำนวนรถในระบบประมาณ 250,000 คัน พบว่า รถบรรทุกใช้ความเร็วเฉลี่ยที่ 101.58 กม./ ชม. จำนวนครั้งที่ทำความผิดประมาณ 1.66 ล้านครั้ง ขณะที่รถโดยสารใช้ความเร็วเฉลี่ย 99.37 กม./ ชม. จำนวนครั้งที่ทำความผิด 15.55 ล้านครั้ง ชี้ให้เห็นว่ารถโดยสารกระทำความผิดมากกว่ารถบรรทุก สำหรับเส้นทางที่กระทำความผิดกระจายอยู่ทั่วประเทศรวมเป็นเส้นทางกว่า 40,500 กม. จากระยะทางหลวง 54,000 กม.

เมื่อตรวจสอบเชิงลึกพบเส้นทางที่มีการใช้ความเร็วสูงสุด 8 เส้นทาง ดังนี้ อันดับที่ 1 ทางหลวงหมายเลข 7 (ถนนมอเตอร์เวย์ กรุงเทพฯ-ชลบุรี) กม. ที่ 0-6 อันดับที่ 2 ทางหลวงหมายเลข 34 (ถนนบางนา-ตราด หรือถนนเทพรัตน) กม. ที่ 1-8 อันดับที่ 3 ทางหลวงหมายเลข 32 (ถนนสายเอเชีย) กม. ที่ 7-12 อันดับที่ 4 ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) กม. ที่ 73-82 อันดับที่ 5 ทางหลวงหมายเลข 31 (ถนนวิภาวดีรังสิต) กม. ที่ 9-16 อันดับที่ 6 ทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) กม. ที่ 160-165 อันดับที่ 7 ทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) กม. ที่ 54-58 และ อันดับที่ 8 ทางหลวงหมายเลข 35 (ถนนพระรามที่ 2) กม. ที่ 45-51

นอกจากนี้ จากการวิเคราะห์เส้นทางอันตรายสำหรับรถบรรทุกและรถโดยสารจากฐานข้อมูล HAIMS ในปี 2560 พบว่า ทั่วประเทศมีบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งและมีผู้เสียชีวิต จึงต้องมีการแจ้งเตือนให้ระมัดระวังเป็นพิเศษอย่างน้อย 7 จุดสำคัญ ได้แก่ 1.ทางหลวงหมายเลข 1 ช่วง กมที่ 708-726, 2.ทางหลวงหมายเลข 2 ช่วง กม.ที่ 20-36, 3.ทางหลวงหมายเลข 4 ช่วง กม.ที่ 126-130 (บริเวณใกล้ทางแยกตัดกับถนนพระราม 2), 4.ทางหลวงหมายเลข 9 ช่วง กม.ที่ 30-38 (บริเวณทางแยกเชื่อมต่อกับทางพิเศษฉลองรัช), 5.ทางหลวงหมายเลข 32 ช่วง กม. ที่ 132-137, 6.ทางหลวงหมายเลข 41 ช่วง กม. ที่ 366 – 379, 7.ทางหลวงหมายเลข 304 ช่วง กม.ที่ 165-176 บริเวณทางแยกจากทางหลวงหมายเลข 33 และ กม.ที่ 190-250 (บริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และอุทยานแห่งชาติทับลาน)

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า