Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

หนึ่งปีหลังจากชายคนหนึ่งในกรุงลอนดอน เจ้าของฉายา “คนไข้ลอนดอน” (London Patient) ได้รับการเปิดเผยว่าเป็นผู้ป่วยรายที่ 2 ของโลกที่ได้รับการรักษาจนหายขาดจากการติดเชื้อเอชไอวี ล่าสุดชายคนนี้ได้เปิดเผยตัวตนให้สาธารณชนได้ทราบเพื่อเป็น “ตัวแทนของความหวัง” ให้แก่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีทั่วโลก

 

ภาพ: Andrew Testa/New York Times

 

นายอดัม คาสติลเยโญ วัย 40 ปี ได้รับการประกาศว่า “หายขาด” จากเชื้อเอชไอวี เมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้ว หรือ 18 เดือนหลังจากเขาหยุดการรักษาด้วยการรับยาต้าน หลังจากแพทย์ใช้วิธีปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด หรือ สเต็มเซลล์ เพื่อรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ส่งผลให้เขาหายจากโรคมะเร็งที่ตรวจพบในปี 2012 และอยู่ในสภาพปลอดจากเชื้อเอชไอวีที่ติดมาตั้งแต่ปี 2003 ไปพร้อม ๆ กัน

อย่างไรก็ตาม พบว่าผู้บริจาคสเต็มเซลล์ให้แก่เขามียีนกลายพันธุ์ที่สามารถต้านทานเชื้อไวรัสเอชไอวีไม่ให้เข้าไปในเซลล์ได้ ดังนั้นการปลูกถ่ายจึงเข้ามาแทนที่ระบบภูมิคุ้มกันของนายคาสติลเยโญ ด้วยการต่อต้านไวรัส และในกรณีนี้ แม้จะได้ผลเป็นที่น่าพอใจ แต่มีเป้าหมายเพื่อการรักษามะเร็งเท่านั้น และไม่ใช่ทางเลือกสำหรับการรักษาเอชไอวีที่มีการปฏิบัติอย่างแพร่หลาย เนื่องจากอาจเกิดความเสี่ยงได้

มีเพียงผู้ป่วยเพียงรายเดียวที่ประสบความสำเร็จในการรักษา คือนายทิโมธี่ เรย์ บราวน์ หรือ “คนไข้เบอร์ลิน” เมื่อปี 2008 และหลังจากนั้นการรักษาผู้ป่วยอีกหลายรายก็ไม่ประสบความสำเร็จอีก ส่วนในกรณีของนายคาสติลเยโญ แพทย์ไม่แน่ใจนักว่าสามารถกำจัดเชื้อเอชไอวีได้ทั้งหมดหรือไม่ และในกรณีนี้ แพทย์เลือกที่จะใช้คำว่า “การรักษา” แทนที่จะใช้คำว่า “การหายขาดของโรค”

นายคาสติลเยโญ เปิดเผยตัวตนเป็นครั้งแรกด้วยการให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ นิวยอร์ก ไทม์ส และเผยว่า เขาต้องใช้ชีวิตร่วมกับเชื้อเอชไอวี มาตั้งแต่ปี 2003 และเมื่อปี 2012 เขาได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน และเข้ารับการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ในเวลาต่อมา

โดยทีมแพทย์ได้เลือกผู้บริจาคที่มีสเต็มเซลล์ “ซีซีอาร์ 5” ที่สามารถกลายพันธุ์ได้ 2 แบบ ทำให้ไวรัสเอชไอวีไม่สามารถเข้าไปในเซลล์เม็ดเลือดขาวได้

ทั้งนายคาสติลเยโญและนายบราวน์ เข้ารับการรักษาด้วยวิธีที่คล้ายคลึงกัน เช่นการทำเคมีบำบัด แต่มีเพียงนายบราวน์ที่รักษามะเร็งด้วยวิธีการ “รังสีรักษา” ร่วมด้วย

 

 

ปัจจุบัน นายคาสติลเยโญ ตัดสินใจที่จะเผยตัวตน เนื่องจากเขาต้องการให้กรณีการรักษาของเขาสร้างผลในแง่บวก เขาบอกว่า เขาต้องการเป็นตัวแทนของความหวัง

ทั้งนี้ การปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ อาจไม่ได้เหมาะสมสำหรับคนส่วนใหญ่ที่มีเชื้อเอชไอวี เนื่องจากมีกระบวนการซับซ้อนและอันตราย และวิธีนี้มักใช้สำหรับการรักษาผู้ป่วยมะเร็งเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ความก้าวหน้าในการผลิตยา ทำให้ผู้ป่วยสามารถรับประทานยาทุกวันเพื่อลดระดับไวรัสได้ ทั้งยังช่วยป้องกันป้องกันการแพร่ของเชื้อ และช่วยให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติและยืนยาวขึ้น

ศาสตราจารย์ ราวินดรา กุปทา หัวหน้าทีมวิจัยผู้เขียนรายงานเรื่องนี้จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ กล่าวว่า กรณีของนายคาสติลเยโญมีความสำคัญมาก เพราะเป็นการรักษาหายเป็นเคสที่สอง ซึ่งหมายความว่า การรักษาผู้ป่วยรายแรกจนหายดี ไม่ใช่เรื่องผิดปกติหรือเรื่องฟลุก

ผลการทดสอบชี้ว่า กว่าร้อยละ 99 ของระบบภูมิคุ้มกันทั้งหมดของร่างกายของนายคาสติลเยโญ ถูกแทนที่ด้วยระบบภูมิคุ้มกันของผู้บริจาค อย่างไรก็ตาม ในร่างกายของเขายังคงมีไวรัสเหลืออยู่น้อยมาก เช่นเดียวกับนายบราวน์ หรืออาจกล่าวได้ว่า เชื้อเอชไอวีจะไม่สามารถกลับมาได้อีก

นอกจากนั้น แพทย์ที่ทำการรักษาเขายืนยันว่า ตรวจไม่พบเชื้อไวรัสเอชไอวีในเลือด, น้ำอสุจิ และเนื้อเยื่อของเขาแล้ว นับตั้งแต่หยุดรับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า