Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เครือข่ายประมง 6 จังหวัดฝั่งอันดามัน เปิดเวทีประชุมจัดทำแผนงานอนุรักษ์พะยูน และทรัพยากรชายฝั่งเครือข่ายอันดามัน เพื่อเสนอต่อกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวม 7 แผนงาน

วงประชุมเครือข่ายประมง 6 จังหวัดฝั่งอันดามัน

วันที่ 19 ส.ค.2562 เครือข่ายประมงพื้นบ้านจาก 6 จังหวัดฝั่งทะเลอันดามัน ประชุมร่วมกันเพื่อกำหนดแผนงานการอนุรักษ์พะยูน และทรัพยากรชายฝั่งเครือข่ายอันดามัน เพื่อความยั่งยืนในการดูแลอนุรักษ์พะยูน หลังพบพะยูนตายหลายตัวในช่วงที่ผ่านมาโดยที่ประชุมมีมติร่วมกันในการจัดทำแผนบริหารจัดการพื้นที่ร่วมกันทั้งหมด 7 แผน เพื่อเสนออธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งนำไปบูรณาการทำงานร่วมกับภาคประชาชน ประกอบด้วย

1. แผนงานคุ้มครองเฝ้าระวัง พัฒนาพื้นที่เขตอนุรักษ์พะยูนและระบบนิเวศชายฝั่งโดยจัดตั้งชุดปฏิบัติการเฉพาะกิจราษฎรอาสาเฝ้าระวังทางทะเล (ฉก.สายตรวจพะยูน) รวมถึงเครื่องมือประมงที่เป็นอันตรายต่อพะยูนและพันธุ์สัตว์น้ำวัยอ่อน
2. แผนงานลดขยะทะเล โดยการจัดอบรม ให้ความรู้ ผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้โฟมบรรจุอาหาร และถุงพลาสติก
3. เขตอนุรักษ์หญ้าทะเลและสัตว์ทะเลหายาก(พะยูน โลมา เต่าทะเล) ด้วยการวางทุ่นแนวเขตอนุรักษ์ฯ และจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ กติกาชุมชนในเขตอนุรักษ์ฯ
4. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพ แกนนำ/สมาชิกอบรมเครือข่ายประมงพื้นบ้านเรื่องกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ปีละ3ครั้ง
5. การกัดเซาะชายฝั่งด้วยสำรวจและหารูปแบบที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง6จังหวัดอันดามัน
6. การบริหารจัดการพื้นที่ป่าชายเลนโดยชุมขน โดยการประชุมและจัดตั้งป่าชายชุมชนให้ถูกต้องตามกฎหมาย
7. การแก้ปัญหาที่ดินที่อยู่อาศัยในพื้นที่ป่าชายเลน สำรวจพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม เพื่อกันให้เป็นที่อยู่อาศัยของประชาชนในพื้นที่ 6 จังหวัด โดยมีคณะกรรมการระดับพื้นที่ จังหวัด และนโยบายพัฒนาระบบข้อมูล จัดทำผังเมืองเฉพาะพื้นที่

นอกจากนี้เครือข่ายประมงพื้นบ้าน 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน คาดหวังว่าหากมีการนำแผนงานทั้ง 7 ด้านไปบูรณาการปฏิบัติร่วมกันอย่างจริงจัง จะช่วยแก้ปัญหาการตายของพะยูนลงได้ และช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติไปในเวลาเดียวกันด้วย

ด้านเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลจังหวัดภูเก็ต เตรียมผ่าพิสูจน์หาสาเหตุการตายของซากพะยูนเพศผู้ขนาดใหญ่ น้ำหนักประมาณ 240 กิโลกรัม อายุประมาณ 25 ปี ที่ลอยเกยตื้นอยู่ที่บริเวณอ่าวไร่เลย์ ตำบลอ่าวนางอำเภอเมืองกระบี่ ซึ่งสภาพซากพบรอยช้ำบริเวณครีบด้านซ้ายคาดว่าตายไม่นาน เพราะสภาพซากสมบูรณ์เขี้ยวอยู่ครบ

มาเรียม 27 มิ.ย. 62

นายอาหลี ชาญน้ำ นายกสมาคมคนรักเลกระบี่เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาได้จัดตั้งอาสาสมัครคุ้มครองเฝ้าระวังและพัฒนาพื้นที่และเขตอนุรักษ์พะยูนและระบบนิเวศชายฝั่ง เพื่อสนับสนุนการลาดตระเวนเฝ้าระวังเครื่องมือประมงที่เป็นอันตรายต่อพะยูน และร่วมกันรณรงค์ประชาสัมพันธ์เรื่องการอนุรักษ์พะยูนในพื้นที่ 6 จังหวัดอันดามันต่อไป

ขณะที่นายก้องเกียรติ กิตติวัฒนวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอันดามัน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) โพสต์ข้อมูลสถิติการเกยตื้นของพะยูนในประเทศไทย ริเริ่มเก็บโดยพี่ตึก Kanjana Adulyanukosol จนถึงวันนี้มีกว่า 441 ตัว (ตัวเลขจริงเชื่อว่ามากกว่านี้) น่าจะนำมาใช้ประโยชน์ได้ดีในการทำงานเชิงพื้นที่เพื่อการดูแลพะยูนตัวต่อไป
Dugong stranding records in Thailand since 1962

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า