Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

องค์กรระหว่างประเทศส่งจดหมายถึง พลเอกประยุทธประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพลตำรวจเอกสุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แสดงความกังวลเกี่ยวกับมาตรการควบคุมฝูงชนและมาตรการอื่นๆ ที่ดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายที่ขี้ว่า “มักละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ชุมนุม อีกทั้งละเมิดมาตรฐานสากลเกี่ยวกับการควบคุมฝูงชน ทั้งที่มีการใช้ความรุนแรงและการใช้กำลังที่เกินสัดส่วน” ทั้งนี้เรียกร้องทางการไทยปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งได้แก่ ต้องหยุดปราบปรามผู้ชุมนุม และต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเอื้ออำนวยให้ประชาชนได้ใช้สิทธิในเสรีภาพการชุมนุมโดยสงบและการแสดงออกในบริบทการระบาดของโควิด-19 ด้วย

13 องค์กรระหว่างประเทศ ได้แก่ Amnesty International, ARTICPE 19,  ASEAN Parliamentarians for Human Rights Asia Democracy Network, Asian Forum for Human Rights and Development (FORUM-ASIA),  Asian Network for Free Elections (ANFREL), CIVICUS: World Alliance for Citizen Participation, Civil Rights Defenders, FIDH – International Federation for Human Rights Fortify Rights, Human Rights Watch, International Commission of Jurists, Manushya Foundation เขียนจดหมายแสดงความกังวลเรื่องการใช้ความรุนแรงและการใช้กำลังเกินสัดส่วนของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการประท้วงที่เกิดขึ้นที่กรุงเทพฯ เนื้อหาจดหมายแสดงความกังวลกับการตอบโต้ที่ “ไม่ได้สัดส่วนของตำรวจควบคุมฝูงชนต่อการยั่วยุของผู้ชุมนุม” และ”กังวลกับการคุมขังผู้นำประท้วงตามอำเภอใจ” ระบุมีการตั้งข้อหาอาญาเพิ่มเติม ถูกปฏิเสธการให้ประกันตัว และถูกคุมขัง

13 องค์กรมองว่าประเทศไทยจำเป็นจะต้องดำเนินการมากกว่านี้เพื่อปกป้องผู้ประท้วงจากความรุนแรง และทำให้แน่ใจว่าประชาชนสามารถใช้สิทธิการชุมนุมโดยสงบได้อย่างปลอดภัยในช่วงการระบาดของ COVID-19

“ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งตำรวจควบคุมฝูงชนและผู้ชุมนุมมีส่วนทำให้เกิดความรุนแรงในการชุมนุมทางการเมือง ในเดือนสิงหาคมเพียงเดือนเดียว ตำรวจได้ใช้กำลังสลายการประท้วงโดยใช้กระสุนยาง ปืนฉีดน้ำ และแก๊สน้ำตาอย่างน้อยสิบครั้ง โดยที่ผู้ชุมนุมได้ขว้างก้อนหินและระเบิดขวด ยิงพลุ และใช้ไม้ง่ามหนังสติ๊กยิงหัวน็อตใส่ตำรวจควบคุมฝูงชน การปะทะหลายครั้งเกิดขึ้นบริเวณสี่แยกดินแดงใกล้กับกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ การชุมนุมเหล่านี้มีเยาวชนเป็นผู้เข้าร่วมหลัก โดยผู้ชุมนุมจำนวนมากมีอายุต่ำกว่า 18 ปี”

“ทั้ง 13 องค์กรระหว่างประเทศมองว่า มาตรการควบคุมฝูงชนและมาตรการอื่นๆ ที่ดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายมักละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ชุมนุม อีกทั้งละเมิดมาตรฐานสากลเกี่ยวกับการควบคุมฝูงชน เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ยิงกระสุนยางใส่ผู้ชุมนุมแบบไม่เลือกหน้าซ้ำแล้วซ้ำเล่า จากฟุตเทจวิดีโอจากการชุมุนมเมื่อไม่นานมานี้ แสดงให้เห็นว่าตำรวจควบคุมฝูงชนขึ้นไปยิงกระสุนยางบนทางด่วน ซึ่งเป็นระยะที่ไกลเกินกว่าจะยืนยันได้ว่าบุคคลที่ใช้ความรุนแรงนั้นเป็นเป้าหมายของการควบคุมฝูงชนตามมาตรฐานสากล อีกทั้งยังปรากฏในวิดีโออื่นๆ ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ยิงกระสุนยางใส่บุคคลที่ขับขี่รถจักรยานยนต์ผ่านในระยะกระชั้นชิด อีกทั้งยังมีรายงานว่านักข่าวที่แสดงตัวชัดเจนว่าเป็นสื่อมวลชนถูกยิงด้วยกระสุนยางในการรายงานข่าวชุมนุมด้วย”

“ดังนั้นเพื่อบรรลุพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ทั้ง 13 องค์กรจึงเรียกร้องให้รัฐบาลไทยไม่เพียงแต่ยุติการปราบปรามผู้ชุมนุม แต่ยังต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเอื้ออำนวยให้ประชาชนได้ใช้สิทธิในเสรีภาพการชุมนุมโดยสงบและเสรีภาพในการแสดงออกในบริบทการระบาดของโควิด-19”

“นอกจากนั้นยังเรียกร้องรัฐบาลไทยให้รับรองว่า เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายที่ใช้กำลังต่อผู้ชุมนุมต้องปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศอย่างเคร่งครัดเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เจ้าหน้าที่รัฐต้องไม่ใช้กำลังเกินสัดส่วนและต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชอบด้วยกฎหมาย และต้องไม่ก่อให้เกิดอันตรายมากไปกว่าอันตรายที่พวกเขาพยายามป้องกัน การใช้กำลังใดๆ จะต้องเป็นไปตามสัดส่วนของวัตถุประสงค์ที่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น การปฏิบัติการตามระดับของภัยคุกคาม และยังเรียกร้องให้รัฐบาลไทยให้การประกันว่าเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายทุกคนที่มีหน้าที่ควบคุมฝูงชนต้องได้รับการฝึกอบรมอย่างเหมาะสมในด้านกลยุทธ์และยุทธวิธีที่สอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ทางการไทยควรตรวจสอบการละเมิดกฎหมายทั้งภายในประเทศและการละเมิดมาตรฐานสากลอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นกลาง และเป็นอิสระโดยทันที และรับรองว่าผู้กระทำผิดต้องถูกนำตัวมาลงโทษ”

“ทั้งนี้ยังขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยุติการคุกคามผู้นำการชุมนุมและผู้เข้าร่วมชุมนุมโดยทันที บุคคลที่ถูกคุมขังเพียงเพราะใช้สิทธิในการชุมนุมโดยสงบ รวมถึงผู้นำการชุมนุมถูกปฏิเสธการให้ประกันตัวเมื่อเร็วๆ นี้ ควรได้รับการปล่อยตัวทันทีและอย่างไม่มีเงื่อนไข ไม่ควรมีบุคคลใดถูกกักขังเพียงเพราะใช้สิทธิของตนเอง เช่น สิทธิในเสรีภาพการชุมนุมโดยสงบหรือการแสดงออกและเรียกร้องให้รัฐบาลไทยริเริ่มการทบทวนกฎหมายและนโยบายทั้งหมดที่มีผลกระทบต่อสิทธิในเสรีภาพการชุมนุมโดยสงบในประเทศไทย กฎหมายและนโยบายที่จำกัดสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมและการแสดงออกอย่างไม่ชอบธรรมควรได้รับการแก้ไขให้สอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานระหว่างประเทศ”

“ท้ายสุด ทั้ง 13 องค์กรระบุว่า ขอขอบคุณที่รัฐบาลไทยให้ความสนใจต่อประเด็นและข้อเสนอแนะในจดหมายฉบับนี้ และยินดีเป็นอย่างยิ่งหากมีโอกาสที่จะได้ช่วยเหลือและสนับสนุนรัฐบาลไทยในการปฏิบัติตามพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย”

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า