SHARE

คัดลอกแล้ว

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผยวัคซีนโควิด19 ฉีดเพื่อลดความรุนแรง ป้องกันการติดเชื้อ รวมทั้งสร้างความมั่นใจประชาชน มิถุนายน 2564 เริ่มฉีดในประชาชนเดือนละ 5 ล้านโดสจากโรงงานผลิตวัคซีนในไทยเพื่อคนไทย

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แสดงปาฐกถาพิเศษ ในงานสัมมนา “พลิกสูตรวัคซีนสู้โควิด พลิกวิกฤตเศรษฐกิจไทย” ว่า โควิด19 เป็นโรคอุบัติใหม่ที่ต้องเรียนรู้ มีเป้าหมายเพื่อควบคุมโรคให้สำเร็จ ป้องกันการเสียชีวิตให้มากที่สุด สถานการณ์การระบาดโควิดในไทยถือว่าไม่ได้รุนแรงเท่าประเทศอื่นๆ ที่มีผู้ติดเชื้อวันละหลักแสนราย โดยไทยใช้วิธีการควบคุมโรครับมือสถานการณ์ ด้วยระบบสาธารณสุขที่เข้มแข็ง ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขทำหน้าที่ป้องกันควบคุม รักษา จัดหาเวชภัณฑ์ที่ดีที่สุดเพื่อให้ประชาชนความปลอดภัย แต่ต้องการความร่วมมือประชาชนที่ทำตัวเองให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อด้วยการสวมหน้ากาก หมั่นล้างมือ ไม่ไปในสถานที่เสี่ยงคนแออัด

สำหรับวัคซีนโควิด 19 ทั่วโลกยังใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อลดความรุนแรงของโรคและป้องกันการติดเชื้อ รวมทั้งเพื่อสร้างความมั่นใจประชาชนด้วย เดิมได้วางแผนจะเริ่มฉีดในเดือนมิถุนายน 2564 เพราะต้องใช้เวลา
ในการคัดเลือกวัคซีนที่เหมาะสมประเทศไทยที่สุด กรณีบริษัทแอสตราเซนเนกาพัฒนาร่วมกับมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด คัดเลือกบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ของไทยเป็นฐานการผลิตให้อาเซียน เป็นโอกาสที่คนไทยเข้าถึงวัคซีนที่มีโรงงานในประเทศและเป็นความภาคภูมิใจของคนไทย

“ถ้าติดตามข่าวในช่วง 2 สัปดาห์ เรากำลังจะได้วัคซีนล็อตแรก 2 แสนโดส จากกลุ่มยุโรป แต่ติดปัญหาที่สหภาพยุโรป (EU)ไม่ให้ส่งวัคซีนออกนอกเขต จึงเป็นเหตุผลที่ต้องเลือกใช้วัคซีนผลิตในไทยภายใต้แบรนด์เชื่อถือได้ เดือนมิถุนายนวัคซีนของไทยเพื่อคนไทยจะไม่หายไปไหน จะเริ่มฉีดได้เดือนละ 5 ล้านโดส จนครบ ถือว่าไม่ช้าเกินไป รวมทั้งเตรียมระบบรองรับหลังการฉีด หากมีอาการแพ้มีผลข้างเคียงต้องดูแลรักษาทันที จากนี้ไปประชาชนจะได้รับวัคซีนที่ปลอดภัยและถ้วนหน้า จากโรงงานผลิตในประเทศแน่นอน” นายอนุทิน กล่าวและว่า ขอให้ยกเรื่องการเมืองออกจากเรื่องวัคซีน การเมืองเป็นการบริหารประเทศ วัคซีนเป็นเรื่องชีวิตของประชาชน ไม่มีใครกล้าเอาชีวิตประชาชนมาทำให้เกิดความมั่นคงทางการเมือง หรือสร้างชื่อเสียงให้แก่ตัวเอง แต่ทุกคนมองว่าวัคซีนจะทำให้ประเทศไทยกลับสู่ภาวะปกติโดยเร็วที่สุด ปราศจากความมุ่งหวังใดๆ ทางการเมือง

ด้าน ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวในเวทีการเสวนาถึงสถานการณ์โควิด 19 ว่า สถานการณ์ขณะนี้ 5 จังหวัดควบคุมสูงสุด ประกอบด้วย สมุทรสาคร ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด สามารถควบคุมได้ ไม่ใช่ตัวเลขการติดเชื้อเป็น 0 จากการตรวจเชิงรุกที่ทำในกลุ่มเสี่ยงพื้นที่เสี่ยง เฉพาะในเขตสุขภาพที่ 6 (ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว สมุทรปราการ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด) ตรวจไปแล้วประมาณ 1 แสนราย โดยติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูงและกลุ่มเสี่ยงครบ 100% ใน 2 จังหวัดคือจันทบุรีและตราดส่วน 6 จังหวัดเฉลี่ยประมาณ 90% โดยสร้างทีมคณะกรรมการโรคติดต่อในจังหวัดให้ติดตามผู้ติดเชื้อที่เป็นสะเก็ดไฟ และต้องดับไฟให้ได้ใน 48 ชั่วโมง ตามนิยามการควบคุมโรคจึงมั่นใจว่าควบคุมได้แล้ว อย่างไรก็ตาม ทีมยังทำงานเชิงรุกต่อเนื่องทุกวัน คิดค้นนวัตกรรม นำเทคโนโลยีการตรวจหาเชื้อในน้ำลายหรือในน้ำทิ้งมาใช้ในกลุ่มโรงงาน เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดอย่างคุ้มค่า

“เราสอบสวนโรคย้อนกลับไป 90% พบต้นตอทั้งหมด ในรายที่หาต้นตอไม่ได้ ได้นำคนใกล้ชิดครอบครัว/เพื่อนร่วมงานไปตรวจหาเชื้อ จึงพูดเต็มที่ว่าเราควบคุมในโซนนี้ได้แล้ว ส่วนเรื่องวัคซีนกว่าจะมีวันนี้ ได้ไปเจรจากับแอสตราเซนเนกา/ ซิโนแวค โดยผอ.สถาบันวัคซีนแห่งชาติทำงานหลังบ้านตลอดเวลาหลายเดือนที่ผ่านมาเริ่มเจรจาตั้งแต่ พ.ค. 2563 ไม่ง่าย ทุกส่วนทำงานเต็มที่ ตอนผมเป็นรัฐมนตรีใหม่ๆ ยังไม่เคยรู้ว่ามีสถาบันวัคซีนฯ การประชุมทุกเดือนมีการเตรียมกฎหมาย ม.18 แต่ตอนนั้นยังไม่มีสถานการณ์โควิด แต่สถาบันฯ ทำงานล่วงหน้า มาก่อน เป็นความมั่นคงของชาติในอนาคตต้องเตรียมทุกอย่างให้พร้อม” ดร.สาธิตกล่าว

ขณะที่ นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติกล่าวว่า การจัดหาวัคซีนโควิด 19 ได้เตรียมการตั้งแต่เกิดการระบาด เมื่อมกราคม 2563 กระทรวงสาธารณสุข สถาบันวัคซีนแห่งชาติและ
กลุ่มสถาบันทางการแพทย์ ทำความตกลงร่วมกันที่จะร่วมพัฒนาวัคซีนในประเทศ คู่ขนานไปกับความร่วมมือวิจัยกับต่างประเทศ รวมทั้งการหาแหล่งผลิตเพื่อนำวัคซีนเข้ามา เป้าหมายสร้างความมั่นคงวัคซีนของประเทศในยามปกติและในภาวะฉุกเฉิน ทั้งนี้ การจัดหาวัคซีนโควิด 19 เป็นการบริหารจัดการท่ามกลางความเสี่ยง ไม่สามารถใช้กลไกการจัดซื้อจัดจ้างตาม พ.ร.บ.งบประมาณปกติได้ เพราะหากวัคซีนวิจัยไม่สำเร็จก็ไม่คืนเงิน จึงต้องใช้ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง พ.ร.บ.ความมั่นคงทางวัคซีนแห่งชาติ ม.18 ให้อำนาจรัฐมนตรีประกาศภาวะฉุกเฉินในเรื่องของการจัดหาวัคซีน เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีให้จองซื้อวัคซีน 26 ล้านโดส

การจองที่ผ่านมามีความยาก เพราะเป็นการร่วมลงทุนการวิจัย ถ้าสำเร็จได้คืนกลับมาเป็นวัคซีน ไม่สำเร็จก็เอาเงินไป ทุกบริษัทที่เดินเข้ามาบอกจะจองล่วงหน้าวางเงินก่อน ถ้าไม่สำเร็จก็ต้องรับความเสี่ยงร่วมกัน อยากใช้เร็ว มั่นใจ ต้องรอปี 2565 การจองแบบมีความเสี่ยงนี้ ต้องปรึกษาสิบทิศ ทั้งทีมกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา อัยการสูงสุด กรมบัญชีกลาง ฯลฯ

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า