SHARE

คัดลอกแล้ว

พญ.อภิสมัย ยอมรับพบโควิด-19 สายพันธุ์บราซิลในไทย จากผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ขณะนี้อยู่ในสถานกักกัน ไม่หลุดออกไปภายนอก ส่วนคืบหน้าสถาการณ์โควิดในไทยวันนี้พบผู้ป่วยเพิ่ม 2,112 ราย เสียชีวิต 15 ราย

วันที่ 5 พ.ค. 2564 พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 รายงานผู้เสียชีวิตเพิ่ม 15 ราย เพศชาย 8 ราย เพศหญิง 7 ราย ส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ ไขมันในเลือดสูง  อ้วน ปอดเรื้อรัง และมีปัจจัยเสี่ยงจากสัมผัสผู้ติดเชื้อที่เป็นคนในครอบครัว และเพื่อนร่วมงาน อายุเฉลี่ย 50-86 ปี อยู่ในกรุงเทพฯ 4 ราย นนทบุรีและสุโขทัย จังหวัดละ 2 ราย ปทุมธานี ระยอง ยะลา อยุธยา ประจวบคีรีขันธ์ นครพนม นครปฐม จังหวัดละ 1 ราย

จำนวนผู้ป่วยยืนยันสะสมในประเทศ ล่าสุดอยู่ที่ 74,900 ราย แบ่งเป็น ผู้ป่วยที่ติดเชื้อภายในประเทศ 48,762 ราย ตรวจคัดกรองเชิงรุก 22,794 ราย ส่วนผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ 3,344 ราย โดยมีผู้ป่วยรักษาหายแล้ว 44,360 ราย เพิ่มขึ้น 1,886 ราย กำลังรับการรักษา 30,222 ราย อาการหนักปอดติดเชื้อ 1,042 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 343 ราย ยอดเสียชีวิตสะสมเพิ่มเป็น 318 ราย

พญ.อภิสมัย กล่าวว่า ผลการประชุมศบค.ชุดเล็กเมื่อวันที่ 4 พ.ค.ที่ผ่านมา ที่มี พล.อ.ณัฐพล นาคพานิชย์ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศปก.ศบค.) ได้พิจารณาเกี่ยวกับพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล มีการจัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจบริการสถานการณ์ในทุกเขตในกทม. หรือ ศบค.กทม. โดยมีนายกฯ นั่งเป็นประธาน ศบค.กทม. โดยศูนย์ควบคุมฯ แบ่งการทำงานออกเป็น 5 ฝ่าย คือ ฝ่ายอำนวยการ ฝ่ายปฏิบัติการตรวจเชิงรุก ฝ่ายบริหารจัดการผู้ติดเชื้อและกลุ่มเสี่ยง ฝ่ายบริหารจัดการพื้นที่ และฝ่ายบริหารจัดการวัคซีน ซึ่งทุกฝ่ายมีผู้อำนวยการทั้ง 50 เขตของ กทม.เป็นผู้อำนวยการและประสานส่งต่อข้อมูลในทุกเรื่องกับคณะกรรมการศบค.กทม. เกี่ยวกับการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในพื้นที่กรุงเทพฯ

วันนี้ กทม.ได้รายงานการแพร่ระบาดในพื้นที่แขวงลุมพินี แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน มีประชาชนอาศัยค่อนข้างหนาแน่น ใน 6 ชุมชน พบผู้ติดเชื้อ 162 ราย ซึ่งได้รับการเข้ารักษาในโรงพยาบาลสนามทั้งหมดแล้ว ส่วนผู้ที่สัมผัสเสี่ยงสูงอีก 304 คน ได้ให้กักตัวอยู่ที่บ้านแล้ว ซึ่งทางสำนักอนามัยได้จัดถุงยังชีพให้ความช่วยเหลือแล้ว นอกจากนี้ กทม.จะมีการลงพื้นที่ตรวจคัดกรองเชิงรุกเขตพื้นที่ปทุมวัน ตั้งแต่วันที่ 5-10 พ.ค. ประมาณ 3,000 รายต่อวัน แบ่งเป็นตรวจคัดกรองเชิงรุกอย่างน้อย 2,000 รายต่อวัน และตรวจในสถานประกอบอีก 1,000 รายต่อวัน ส่วนเขตอื่นๆ เช่น คลองเตย จะมีการลงพื้นที่ตรวจคัดกรองเชิงรุก รวมถึงการฉีดวัคซีนด้วย นอกจากนี้ยังมีการรายงานพบการระบาดในเขตปทุมวัน ซึ่งมีชุมชนแออัด 6 แห่ง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 5.66 ตร.กม.มีประชากร 29,581 คน อยู่ในชุมชน 21,600 คน ซึ่งตอนนี้พบการติดเชื้อแล้ว 162 คน ดังนี้ ชุมชนพัฒนาบ่อนไก่ 61 คน ชุมชนเคหะบ่อนไก่ 14 คน ชุมชนโปโล 10 คน ชุมชนพระเจน 8 คน ชุมชนร่วมฤดี 2 คน และชุมชนกุหลาบแดง 1 คน ทั้ง 162 คนที่ติดเชื้อได้มีการการแยกผู้ติดเชื้อตามอาการใน รพ.สนาม และอีก 304 คน อยู่ในเกณฑ์เสี่ยงสูง แต่ต้องแยกกักและรอดูอาการ โดยสำนักอนามัย นำถุงยังชีพเข้าไปช่วยเหลือแล้ว

ขณะนี้ได้จัดสถานที่พักคอยปทุมวัน ในโรงเรียนเพื่อดูแลกลุ่มผู้เสี่ยงรอจัดส่งไปยังสถานที่เหมาะสมจนกว่าจะพ้น 14 วัน ส่วนผู้ป่วยได้แยกรักษาตามอาการ โดย กทม.เตรียมลงตรวจเชิงรุกเพิ่มเติมที่ชุมชนบ่อนไก่อย่างน้อย 1,000 คนต่อวัน และสถานประกอบการอีก 1,000 คนต่อวัน เฉลี่ยให้ได้ 2,000-3,000 คนต่อวัน

สำหรับศูนย์ควบคุมฯ แบ่งการทำงานออกเป็น 5 ฝ่าย คือ ฝ่ายอำนวยการ ฝ่ายปฏิบัติการตรวจเชิงรุก ฝ่ายบริหารจัดการผู้ติดเชื้อและกลุ่มเสี่ยง ฝ่ายบริหารจัดการพื้นที่ และฝ่ายบริหารจัดการวัคซีน ซึ่งทุกฝ่ายมี ผอ.ทั้ง 50 เขตของ กทม.เป็นผู้อำนวยการและประสานส่งต่อข้อมูลในทุกเรื่อง และยังมีการพูดคุยกันเรื่องการฉีดวัคซีน ซึ่งประชากร กทม.มีประมาณ 7 ล้านคน ดังนั้น หากมีการฉีดวัคซีนต้องระดมฉีดอย่างน้อย 60,000 คนต่อวัน

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า โควิด-19 สายพันธุ์บราซิล ได้เข้ามาในประเทศไทยแล้วหรือยัง

พญ.อภิสมัย กล่าวยอมรับว่า ไทยเริ่มพบผู้ป่วยโควิด-19 โควิดสายพันธุ์บราซิลแล้ว เนื่องจากที่ผ่านมามีบุคคลจากต่างประเทศเข้าไทย ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขได้จัดให้บุคคลเหล่านั้นอยู่ในสถานที่กักตัว 14 วันแล้ว ยืนยันว่าโควิด-19 สายพันธุ์บราซิล ที่พบเป็นข่าวมีแค่ในสถานกักกันเท่านั้น ไม่พบการรายงานในส่วนของชุมชน และยืนยันอีกครั้งว่าพบในสถานกักกัน ที่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า