SHARE

คัดลอกแล้ว

จับตาอนาคตประเทศไทย ทั้งคนไทย และสื่อมวลชนต่างประเทศ ต่างให้ความสนใจกับการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งนี้

เมื่อวันที่ 13 ก.ค. ที่ผ่านมา มีการประชุมร่วมของรัฐสภาเพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย ซึ่งมีผลออกมาอย่างเป็นทางการว่า นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากพรรคก้าวไกล ยังไม่ผ่านด่านเสียงกึ่งหนึ่งจากรัฐสภา โดยมีผู้เห็นชอบ 324 เสียง ไม่เห็นชอบ 182 เสียง และงดออกเสียง 199 เสียง ชาวไทยจึงต้องจับตามองกันต่อไปว่า ท้ายที่สุดแล้ว ใครจะได้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปของประเทศไทย

ไม่เพียงแต่ชาวไทยที่ติดตามเรื่องนี้ แต่สื่อต่างประเทศก็ได้ให้ความสนใจอย่างท่วมท้น ทั้งฝั่งเอเชีย ยุโรป รวมไปถึงสื่ออเมริกาอีกหลายแห่ง และยังมีการวิเคราะห์เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในสถานการณ์ทางการเมืองของไทยอีกด้วย

โดยสื่อตะวันตกหลายแห่งเห็นตรงกันว่า การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีของไทยนั้นไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ควรจะเป็นเพราะมีสาเหตุมาจากสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหาร

เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ชื่อดังอย่าง New York Times พาดหัวข้อข่าว ‘ พันธมิตรคณะรัฐประหารปฏิเสธผลการเลือกตั้งไทย ทำพรรคฝ่ายค้านตกราง ’ พร้อมชี้ว่า สมาชิกวุฒิสภาที่เป็นผลพวงจากคณะรัฐประหาร ขัดขวางแคนดิเดตนายกฯ หัวก้าวหน้าที่ชนะการเลือกตั้ง ส่งผลให้จะต้องมีการลงคะแนนเสียงอีกครั้ง

ในขณะที่นิตยสารข่าว Times พาดหัว ‘ผู้ชนะการเลือกตั้งของไทย พ่ายแพ้ในการโหวตครั้งแรกเลือกนายกฯ ของรัฐสภา’ และระบุว่า แม้พรรคก้าวไกลชนะคะแนนเสียงช่วงเลือกตั้งในเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา แต่การลงคะแนนโหวต พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายก กลับถูกปฏิเสธจากสมาชิกวุฒิสภาที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง

ด้านสำนักข่าว CNN ระบุในหัวข้อข่าวว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวานเป็น ‘วิกฤตการณ์ประชาธิปไตยไทย หลังรัฐสภาไม่สามารถเลือกนายกฯ คนใหม่ได้’

พร้อมทั้งมองว่า พรรคน้องใหม่อย่าง ก้าวไกล ที่ได้รับความนิยมสูงสุด และสามารถกวาดที่นั่งมาได้มากที่สุดเป็นผลพลอยได้จากความโกรธเคืองของคนไทยต่อระบอบการปกครอง พร้อมให้ความเห็นว่า ถึงแม้จะชนะการเลือกตั้งอย่างชัดเจน แต่พิธาก็ยังห่างไกลจากความแน่ชัด และตั้งคำถามว่า ‘สรุปแล้ว ใครจะได้เป็นนายกฯ ไทยคนต่อไป? ’

นอกจากนี้ CNN ยังระบุอีกว่า หากการโหวตเลือกนายกฯ นัดถัด ๆ ไปยังไม่สำเร็จ มีโอกาสที่พรรคร่วมรัฐบาลจะระส่ำระสายและเกิดการหยุดชะงักทางการเมือง ซึ่งมีโอกาสจุดชนวนการประท้วงของภาคประชาชน

ในขณะที่ สำนักข่าว ABC มองว่า มีความกังวลตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้งแล้วว่า ฝ่ายอนุรักษนิยมของไทยที่กุมอำนาจอยู่อาจใช้สิ่งที่ฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองคิดว่าเป็น ‘การเล่นสกปรก’ ในการกุมอำนาจต่อไป

ABC เอง มองตรงกับนักวิชาการในไทยหลายคนว่า (กลุ่มอนุรักษนิยมของไทย) มักใช้ศาลและองค์กรอิสระอย่าง กกต. ในการตัดสินคำวินิจฉัยเพื่อทำลายหรือโจมตีฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง

ขณะที่ฝั่งเอเชีย สำนักข่าวชื่อดังแห่งสิงคโปร์อย่าง CNA ชี้ว่าความพยายามของพิธาในการทำตามนโยบายของพรรคทำให้เขาตกที่นั่งลำบากท่ามกลางสายสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มอนุรักษนิยมกับกลุ่มคนรวยที่มีอิทธิพลต่อการเมืองไทยมาหลายทศวรรษ และเชื่อว่าพวกเขาเองคือกลุ่มคนที่พยายามจะขัดขวางเขาไม่ให้อยู่ในสภา

ด้าน Kyunghyang Shinmun สำนักข่าวจากเกาหลีใต้ ให้ความเห็นว่า ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ ทำให้สถานการณ์การเมืองไทยตกอยู่ในม่านหมอกมากขึ้น คาดว่านักการเมืองจะสู้กันอย่างดุเดือด เพื่อเป็นผู้นำในการจัดตั้งรัฐบาลครั้งต่อไป และมีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดความวุ่นวายจากการประท้วงของกลุ่มผู้สนับสนุนพิธา

นอกจากนี้ ยังคาดการณ์อีกว่า หากพิธาถอยจากตำแหน่ง พรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นพรรคอันดับสอง อาจจัดตั้งรัฐบาลร่วมและเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี ซึ่งในกรณีนี้ อาจนำไปสู่หลายเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น เช่น เพื่อไทยอาจจะหันไปจับมือกับกลุ่มทหาร หรืออาจจะยังคงความเป็นพันธมิตรกับก้าวไกลต่อ

นักวิชาการด้านไทยศึกษาแห่งสถาบัน ISEAS–Yusof Ishak ประเทศสิงคโปร์ Michael Montesano ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมกับสำนักข่าว ABC ว่า สุดท้ายแล้ว ระบบการเมืองไทยและกลุ่มคนที่มีอำนาจต้องหันมาสนใจความเป็นจริงของสังคมไทยและความทะเยอทะยานของเหล่านักการเมืองรุ่นใหม่ที่มีการศึกษาให้เพิ่มมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภาไทย ได้เคาะวันโหวตครั้งต่อไป และออกหนังสือนัดประชุมรัฐสภาเพื่อโหวตนายกรัฐมนตรีในวันที่ 19 ก.ค. นี้ จึงต้องลุ้น และจับตามองสถานการณ์การเมืองไทยต่อไปว่า ท้ายที่สุดแล้ว ผลสรุปการเลือกตั้งครั้งนี้ จะลงเอยแบบใด

ที่มา

The New York Times, Time, CNN, abcnews, cna, naver

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า