Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ธนกฤต วรธนัชชากุล อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด

ประเด็นคือ – อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด แสดงความเห็นถึงอัตราโทษที่มีใน พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 บางกรณีไม่มีโทษอาญา, ค่าปรับเบาเกินไป, เจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจสั่งรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างบุกรุกป่า

จากกรณีการจับกุม นายเปรมชัย กรรมสูต ประธานบริหารและกรรมการ บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด มหาชน กับพวกรวม 4 คน เมื่อวันที่ 6 ก.พ.ที่ผ่านมา วันนี้ (8 ก.พ.61) นายธนกฤต วรธนัชชากุล อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด โพสต์เฟซบุ๊ก “ข้อสังเกตในเรื่องปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535” รวม 4 หัวข้อ คือ

1.ปัญหาการไม่ได้กำหนดโทษทางอาญาไว้สำหรับการกระทำผิดกฎหมายในบางกรณี

โดยยกตัวอย่าง มาตรา 37 วรรคหนึ่ง กำหนดห้ามบุคคลที่ไม่ได้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งต้องเข้าไปปฏิบัติการตามหน้าที่ เข้าไปในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่ไม่ได้มีการกำหนดโทษไว้สำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต

มาตรา 37 วรรคสอง กำหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตให้เข้าไปในในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่กรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตให้เข้าไปในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ เช่น นำเครื่องมือสำหรับใช้ในการล่าสัตว์ป่าหรือจับสัตว์หรืออาวุธใด ๆ เข้าไป โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรือ พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ามอบหมาย ก็มีอำนาจเพียงสั่งให้บุคคลนั้นออกไปจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเท่านั้น แต่ไม่ได้มีการกำหนดโทษทางอาญาสำหรับผู้ฝ่าฝืน

 

(FB : คนอนุรักษ์)

2.ปัญหาอัตราโทษที่กำหนดไว้ไม่เหมาะสม อัตราโทษปรับตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ยังคงใช้ อัตราโทษปรับตามเกณฑ์เดิม คือ โทษจำคุก 1 ปี ต่อโทษปรับ 1 หมื่นบาท ซึ่งถือเป็นอัตราโทษปรับที่ต่ำเกินไปเมื่อพิจารณาถึงสภาพการณ์ในปัจจุบัน

“โดยการกระทำความผิดฐานล่าสัตว์ป่าสงวน หรือสัตว์ป่าคุ้มครอง มีโทษจำคุกไม่เกิน 4 ปี โทษปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท ความผิดฐานล่าสัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี โทษปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท ความผิดฐานครอบครองสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง ซากของสัตว์ป่าสงวน และซากของสัตว์ป่าคุ้มครองโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 4 ปี โทษปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท เป็นต้น โดยอัตราโทษจำคุกและโทษปรับสูงสุดที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 คือโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี และโทษปรับไม่เกิน 1 แสนบาท”

3.พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ไม่ได้มีบทบัญญัติที่กำหนดหลักเกณฑ์การชดใช้ค่าเสียหายให้แก่รัฐ

4.ไม่มีบทบัญญัติที่ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในการออกคำสั่งให้ผู้กระทำความผิดรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างหรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

“หากหน่วยงานและผู้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องจะได้พิจารณาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้เหมาะสมยิ่งขึ้นแล้ว ก็จะทำให้การสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าและควบคุมดูแลทรัพยากรธรรมชาติมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบันและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม” นายธนกฤต ระบุ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า