Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

AIS รายงานผลประกอบการ ไตรมาส 1/2563 รายได้รวม 42,845 ล้านบาท แม้กระทบจาก COVID-19 บ้าง แต่ยังคงเสถียรภาพความมั่นคงทางการเงินที่พร้อม

นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส เปิดเผยภาพรวมผลประกอบการไตรมาสแรก ปี 2563 เอไอเอส มีรายได้รวมอยู่ที่ 42,845 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 7,004 ล้านบาท* ด้านธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่มีรายได้ลดลง -1.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการแข่งขันของอุตสาหกรรม ประกอบกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ซึ่งส่งผลให้รายได้จากกลุ่มลูกค้านักท่องเที่ยวลดลง รวมถึงยังได้รับผลจากมาตรการล็อกดาวน์ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมีนาคม ส่งผลให้ต้องปิดให้บริการชั่วคราว AIS Shop, Serenade Club และ AIS Telewiz ในพื้นที่ตามประกาศของภาครัฐ โดยมีผู้ใช้บริการรวม ณ สิ้นไตรมาส 1/2563 อยู่ที่ 41.1 ล้านราย ยังคงมีฐานลูกค้าจำนวนมากที่สุดเป็นอันดับ 1 แบ่งเป็นลูกค้าระบบรายเดือน จำนวน 9.1 ล้านราย และมีลูกค้าระบบเติมเงินอยู่ที่ 32.0 ล้านราย

นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส

ส่วนธุรกิจอินเทอร์เน็ตบ้าน เอไอเอส ไฟเบอร์ ยังคงเติบโตได้ดี มีลูกค้าเพิ่มขึ้น 52,800 ราย ส่งผลให้ในปัจจุบัน มีลูกค้าประมาณ 1.1 ล้านราย เสริมให้รายได้เติบโต 27% เทียบกับปีก่อน อยู่ที่ 1,640 ล้านบาทโดยเอไอเอส ไฟเบอร์ ยังคงแผนการตลาดต่อเนื่องด้วยกลยุทธ์ Fixed-Mobile Convergence ที่ผสานกันระหว่าง 3 บริการหลัก ทั้งอินเทอร์เน็ตมือถือ, อินเทอร์เน็ตบ้าน, คอนเทนต์ผ่าน AIS PLAYBOX และ AIS PLAY เพื่อเพิ่มฐานลูกค้าที่มีคุณภาพ

ทั้งนี้ จากมาตรการล็อกดาวน์ และกระแสการ Work From Home ได้ส่งผลให้มีความต้องการใช้งานดาต้าและอินเทอร์เน็ตบ้านความเร็วสูงเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดโดยเห็นได้ชัดจากช่วงครึ่งหลังของเดือนมีนาคม ส่งผลให้การใช้งานดาต้าไตรมาส 1/2563 เพิ่มขึ้นเป็น 14.7 กิกะไบต์/ผู้ใช้บริการ/เดือน เพิ่มขึ้นร้อยละ 29 จากปีก่อน และร้อยละ 16 จากไตรมาสก่อน ด้านอินเทอร์เน็ตบ้านความเร็วสูง เอไอเอส ไฟเบอร์ ก็มีความต้องการติดตั้งใหม่ที่สูงขึ้นในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมีนาคมส่งผลให้ยอดลูกค้าติดตั้งใหม่ในเดือนมีนาคมเพิ่มสูงขึ้น

ถึงแม้จะได้รับความต้องการที่สูงขึ้นในบริการโทรคมนาคมของเอไอเอส แต่อย่างไรธุรกิจของเราโดยเฉพาะรายได้จากการให้บริการซึ่งมีฐานลูกค้าครอบคลุมทุกกลุ่มผู้ใช้บริการทั้งลูกค้าทั่วไปและลูกค้าองค์กร ย่อมได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวจาก COVID-19 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในไตรมาส 1/2563 รายได้จากการให้บริการหลักจึงทรงตัวเมื่อเทียบกับปีก่อน อยู่ที่ 33,090 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม จากการบริหารต้นทุนที่ดีขึ้น ส่งผลให้เอไอเอสยังคงความสามารถในการทำกำไร โดยมีกำไรก่อนหักภาษี ดอกเบี้ย และค่าเสื่อม (EBITDA) เพิ่มขึ้น 3.8% จากปีก่อนหน้ามาอยู่ที่ 19,576 ล้านบาท* ในขณะที่มีกำไรสุทธิ 7,004 ล้านบาท* และอัตรากำไรสุทธิ 16.3%

ซึ่งจากสถานการณ์ยังคงเปลี่ยนแปลงและมีความไม่แน่นอน ดังนั้น เอไอเอส จึงให้ความสำคัญกับการปรับตัวและแผนธุรกิจเพื่อคงรายได้จากหน่วยธุรกิจต่างๆ ในขณะที่หาแนวทางการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เพื่อคงกระแสเงินสดและความสามารถในการทำกำไร ซึ่งเอไอเอสมีความพร้อมในการเผชิญกับสถานการณ์ความไม่แน่นอนข้างต้นด้วยความแข็งแกร่งของสถานะทางการเงิน โดยมีอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อกำไรก่อนภาษีดอกเบี้ยและค่าเสื่อม (Net debt to EBITDA) ในระดับ 0.7เท่า ซึ่งแสดงถึงระดับหนี้ค่อนข้างต่ำ และมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานในไตรมาสแรกนี้ที่สูงกว่า 23,000 ล้านบาท โดยกระแสเงินสดจากการดำเนินงานในปีนี้ จะเพียงพอสำหรับการลงทุนในการขยายโครงข่ายทั้งบริการ 5G และ 4G เพื่อรักษาความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรม

หลังจากที่เอไอเอสเป็นผู้ชนะการประมูลคลื่นความถี่ในเดือนกุมภาพันธ์สำหรับพัฒนาบริการ 5G เพื่อเสริมศักยภาพความเป็นผู้นำในระยะยาว อีกทั้งจะช่วยสร้างรายได้จากช่องทางใหม่ๆ ในอนาคต รวมไปถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในการลงทุนเพื่อให้บริการ 4G โดยการลงทุนขยายโครงข่ายบนคลื่นความถี่ใหม่ย่าน 2600MHz ได้เริ่มต้นในปีนี้ เพื่อให้บริการทั้งบนเทคโนโลยี 4G และ 5G โดยมีงบการลงทุน 35,000 – 40,0000 ล้านบาท และเดินหน้าสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลที่แข็งแกร่งให้กับประเทศไทย หลังจากขยายเครือข่าย 5G ครอบคลุม 77 จังหวัดแล้วตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา

“นอกจากการเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในการดำเนินธุรกิจของเราแล้ว เอไอเอสยังเล็งเห็นถึงผลกระทบของวิกฤตที่ลุกลามไปในสังคมของเรา ดังนั้น นอกจากมาตรการดูแลลูกค้าและพนักงานอย่างครบถ้วนรอบด้านแล้ว เรายังทุ่มสรรพกำลังเพื่อช่วยเหลืองานด้านสาธารณสุขในการรับมือวิกฤตนี้อย่างต่อเนื่อง ภายใต้ภารกิจเร่งด่วน “AIS 5G สู้ภัย COVID-19” ด้วยงบลงทุนกว่า 110 ล้านบาท โดยเน้นประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมของ 5G เพื่อการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าไปติดตั้งเครือข่าย 5G ในโรงพยาบาลที่รับตรวจและรักษาผู้ป่วย COVID-19, การส่งมอบหุ่นยนต์บริการทางการแพทย์ 5G ROBOT FOR CARE เพื่อช่วยดูแลรักษาผู้ป่วย COVID-19 ที่พร้อมส่งมอบให้ครบทั้งหมดจำนวน 23 ตัว ให้กับโรงพยาบาล 22 แห่ง ภายในเดือนพฤษภาคม 2563 นี้ รวมถึง สนับสนุนระบบสื่อสาร รวมถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้แก่โรงพยาบาลและองค์กรภาครัฐอีกมากมาย เพื่อให้ประเทศไทยผ่านวิกฤตในเบื้องต้นได้อย่างรวดเร็วและพร้อมรับมือวิกฤตในระยะยาว” นายสมชัย กล่าวสรุป

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า