Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล นำ 2,129 รายชื่อ ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีไทย ใช้โอกาสเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปค หารือยุติเหตุนองเลือดในเมียนมา พร้อมแสดงพลังยืนหยัดเคียงข้างประชาชนเมียนมา
.
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล หน่วยงานสิทธิมนุษยชน เดินทางไปยื่นหนังสือดังกล่าวเมื่อช่วงเช้าของวันนี้ (16 พ.ย.) โดยมีดร.มงคลชัย สมอุดร รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นตัวแทนรัฐบาลไทยในการรับมอบหนังสือและข้อเรียกร้อง โดยนี่เป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญออนไลน์บนเว็บไซต์ Change.org เพื่อแสดงเจตจำนง “ยุติการนองเลือดในเมียนมา” มอบให้กับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สำเนาถึง นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
.
ปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ระบุว่า ทางการไทยในฐานะรัฐภาคีอาเซียนและในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปคต้องแสดงท่าทีอย่างเร่งด่วนต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในเมียนมา ทั้งการสนับสนุนให้เข้าถึงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่จำเป็นอย่างยิ่ง รวมทั้งการไม่บังคับส่งกลับผู้ขอลี้ภัยและผู้ลี้ภัยที่หลบหนีมาจากความรุนแรง
.
นอกจากนี้ ทางการไทยต้องให้การประกันว่า ภาคธุรกิจหรือรัฐวิสาหกิจของไทยจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกองทัพเมียนมา และหน่วยงานในเครือในฐานะผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชน และต้องเรียกร้องให้กองทัพเมียนมารับฟังเสียงจากประชาชนชาวเมียนมาซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักด้วย

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล มีข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลไทยใน 4 ประเด็น ได้แก่

  • รัฐบาลไทยต้องใช้วิธีการทุกอย่างที่เป็นไปได้ในการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับการเข้าถึงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมระหว่างชายแดน
  • ร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียน กลุ่มพหุภาคี และองค์การระหว่างประเทศ เช่น หน่วยงานในสหประชาชาติเพื่อแก้ไขวิกฤตการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนและด้านมนุษยธรรมในเมียนมา
  • รับผู้ขอลี้ภัยและประกันการเข้าถึงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในประเทศไทย รวมทั้งละเว้นจากการเนรเทศหรือการส่งกลับของผู้ขอลี้ภัยชาวเมียนมา และให้ความคุ้มครองแก่ผู้ขอลี้ภัยและหยุดการดำเนินคดีกับพวกเขาระหว่างพำนักในประเทศไทย
  • หน่วยงานของรัฐต้องออกประกาศ ระเบียบ หรือกฎกระทรวงอย่างเป็นทางการแก่ผู้ประกอบการธุรกิจและรัฐวิสาหกิจ ให้เป็นไปตามหลักการของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน เพื่อเรียกร้องความรับผิดชอบของบริษัทอย่างเต็มที่ที่จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกองทัพเมียนมาและหน่วยงานในเครือในฐานะผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชน
    .
    ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เปิดเผยว่า เป็นเวลาเกือบสองปีหลังการทำรัฐประหาร ประชาชนกว่า 1.4 ล้านคนต้องพลัดถิ่นฐานในเมียนมา อีก 12,839 คนถูกควบคุมตัวในสภาพที่ไร้มนุษยธรรม และอย่างน้อย 73 คนตกเป็นนักโทษประหาร โดย 4 คนถูกประหารชีวิตไปแล้ว รวมถึงมีเด็ก 7.8 ล้านคนที่ต้องออกจากโรงเรียน กองทัพเมียนมาได้สังหารผู้ชุมนุมประท้วงและประชาชนทั่วไปหลายร้อยคน และอีกหลายพันคนเสียชีวิตจากการขัดแย้งกันด้วยอาวุธที่เกิดขึ้นทั่วประเทศภายหลังรัฐประหาร
    .
    นอกจากนี้ยังมองว่า กองทัพเมียนมาเพิกเฉยต่อเสียงเรียกร้องให้เคารพสิทธิมนุษยชน อีกทั้งยังเพิกเฉยต่อ ‘ฉันทามติ 5 ข้อ’ ของอาเซียน ซึ่งเมื่อเดือนเมษายน 2564 ทางกองทัพเมียนมารับปากว่าจะดำเนินการตาม แต่ก็ล้มเหลวและไม่สามารถหยุดกองทัพกองทัพเมียนมาในการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่มากขึ้นต่อประชาชนชาวเมียนมาได้

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า