SHARE

คัดลอกแล้ว

ทีมวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยความก้าวหน้า วัคซีนใบยาซาร์สโควีทูแวกซ์ 1 ทางเลือกวัคซีนโควิด-19 เริ่มทดลองในมนุษย์ในระยะที่ 1 ปลอดภัยไม่มีผลข้างเคียง คาดจะสามารถผลิตวัคซีนให้คนไทยได้ใช้ช่วงกลางปี 2565

รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด ผู้คิดค้นวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 จากใบยาสูบแห่งแรกในประเทศไทย เปิดเผยความคืบหน้าวัคซีนใบยาซาร์สโควีทูแวกซ์1 ภายในงานสัมมนาออนไลน์ Covid-19 Vaccines and Thailand’s Stance in the World Market นำเสนอข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 จัดโดยบริษัท เมอร์ค จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจยา เคมีภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ทางนวัตกรรม ระบุว่า ปัจจุบันประเทศไทยได้มีการพัฒนาวัคซีนเอง ตั้งแต่การระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือโควิด-19 ช่วงต้นปี 2563 ซึ่งมีการพัฒนาวัคซีนแล้วกว่า 20 ชนิด โดยศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการวิจัยและพัฒนาวัคซีนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนับเป็นหนึ่งในความหวังของคนไทยและทั่วโลกในการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคและลดอัตราการเสียชีวิตลงได้

รศ.ดร.วรัญญู กล่าวว่า วัคซีน “ใบยาซาร์สโควีทูแวกซ์1 (Baiya SARS CoV-2 Vax 1)” เป็นวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิด โปรตีน subunit ที่ผลิตโดยพืชใบยาสูบสายพันธุ์ดั้งเดิมจากประเทศออสเตรเลีย ซึ่งในอุตสาหกรรมยาทั่วโลกมีการใช้พืชเป็นแหล่งผลิตสารสำคัญต่าง ๆ ถึง 95% โดยใช้เทคโนโลยีในการนำสารพันธุกรรมของไวรัสเข้าสู่พืชด้วยแบคทีเรีย และกระตุ้นให้พืชผลิตโปรตีนของไวรัสตามที่ต้องการ ซึ่งโปรตีนที่ได้จากเทคนิคดังกล่าวจะมีความบริสุทธิ์ และไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ ปลอดภัยต่อการใช้งาน โดยที่ผ่านมาได้ทำการทดลองกับลิง และหนูขาว พบว่ามีการสร้างแอนติบอดีที่สามารถยับยั้งการติดเชื้อไวรัสได้เป็นอย่างดี และสามารถช่วยยับยั้งไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าสู่ปอด และสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ในระดับสูง

ขณะนี้ได้มีการเปิดรับอาสาสมัคร เพื่อรับวัคซีนใบยา สำหรับการทดสอบระยะที่ 1 โดยมีการทดลองในระยะนี้ไปแล้วทั้งหมด 16 คน ซึ่งผู้ที่เข้ารับวัคซีนเป็นอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี มีอายุระหว่าง 18 – 75 ปี และไม่เคยได้รับวัคซีนโควิด-19 ชนิดอื่นมาก่อน ซึ่งหลังจากที่มีการทดสอบกับอาสาสมัครที่ได้รับการฉีดวัคซีนใบยาในปริมาณ 10 ไมโครกรัม พบว่า ปลอดภัยและไม่มีผลข้างเคียง โดยหลังจากนี้จะมีการทดสอบเพื่อดูปริมาณโปรตีนที่เหมาะสมว่าควรจะเพิ่มปริมาณวัคซีนอย่างไร เพื่อให้ได้ผลการกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุด และหวังให้คนไทยได้ใช้วัคซีนในช่วงกลางปี 2565 ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อเรามีองค์ความรู้ในการพัฒนาวัคซีนด้วยตัวเองแล้ว ประเทศไทยของเราก็จะสามารถรับมือกับสถานการณ์โรคระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือเชื้ออื่น ๆ ในอนาคต

ด้านนายโชติวัฒน์ สีเพชรดี นักศึกษาปริญญาเอก ภาควิชาชีวเคมี มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้วิจัย และพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA ในประเทศไทย เปิดเผยว่า วัคซีน COVID-19 ชนิด subunit โดยใช้ Spike protein เป็นแอนติเจน ซึ่งโปรตีนดังกล่าวได้รับการดัดแปลงให้มีความเสถียรมากขึ้นโดยการเปลี่ยนแปลงกรดอะมิโน 6 ตำแหน่งให้เป็น “Proline” (HexaPro) จากเดิมที่มีอยู่แล้ว 2 ตำแหน่ง (S-2P) ซึ่ง S-2P ถูกใช้ในวัคซีนของหลาย ๆ บริษัท อาทิ Moderna, Pfizer-BioNTech, Novavax, Janssen (J&J) ซึ่งทีมวิจัยได้ทดสอบวัคซีน HexaPro subunit (+ alum adjuvant) ในหนูทดลอง และพบว่าสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันชนิด neutralizing antibody ได้ในระดับที่เทียบเท่า หรือมากกว่าในผู้ป่วย COVID-19 นอกจากนี้ยังมีวัคซีนชนิดอื่น ๆ ที่ใช้แอนติเจนรูปแบบ HexaPro และกำลังทดสอบในระยะคลินิกในประเทศไทย ได้แก่ NDV-HXP-S โดยองค์การเภสัชกรรมร่วมกับคณะเวชศาสตร์เขตร้อนมหาวิทยาลัยมหิดล

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊ก : Merck Life Science Thailand

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า