Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กรณีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ออกมาเปิดเผยผลการตรวจสอบถังน้ำมัน 200 ลิตร สภาพถูกเผาไหม้ใกล้กับสะพานแขวน ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี โดยภายในถังมีชิ้นส่วนกะโหลกศีรษะมนุษย์ ต่อมาพิสูจน์ทราบเป็นของ นายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ แกนนำกะเหรี่ยงโป่งลึก-บางกลอย ที่หายตัวไปอย่างลึกลับ เมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2557

วันที่ 4 ก.ย. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีนี้ว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องดำเนินการและต้องสืบสวนสอบสวนต่อไปว่าเป็นอย่างไร ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าอาจจะมีเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ด้วยหรือไม่นั้น ตอนนี้ยังตรวจสอบไม่ได้และยังไม่รู้ว่าเป็นใคร ซึ่งก็ต้องรอผลการสืบสวนสอบสวนต่อไป

วันเดียวกันที่โรงแรมไมด้า ดอนเมือง เครือข่ายกะเหรี่ยงและชาวเล ร่วมกับคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน(กป.อพช.) และภาคีเครือข่าย 99 องค์กร จัดแถลงข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลกรณีการเสียชีวิตของนายพอละจี เพื่อผลักดันมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) วันที่ 2 มิ.ย. 2553 และวันที่ 3 ส.ค. 2553 ให้มีผลเชิงปฏิบัติในการปกป้องและคุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย

ต่อมาทางเครือข่ายฯ ได้อ่านแถลงการณ์เรียกร้อง 4 ข้อ คือ 1.ขอขอบคุณและเป็นกำลังใจกับเจ้าหน้าที่คณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ที่ทุ่มเททำงานด้วยความมานะอุตสาหะจนสามารถพิสูจน์ยืนยันวัตถุพยานหลักฐานสำคัญประกอบการสอบสวนคดีอุ้มหาย และสามารถระบุได้ว่า นายพอละจี หรือ บิลลี่ ได้เสียชีวิตแล้ว โดยต้องคืนความเป็นธรรมให้แก่ครอบครัว ชุมชน รวมถึงเครือข่ายกะเหรี่ยงที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนครั้งนี้

2. เรียกร้องให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดดำเนินการสืบสวน สอบสวนและจับกุมผู้กระทำผิดรวมถึงผู้ที่มีส่วนทั้งหมดมาดำเนินคดีโดยเร่งด่วน รวมถึงดำเนินคดีผู้กระทำผิดและผู้เกี่ยวข้องในกรณีการวางเพลิงเผาทรัพย์ชุมชนบ้านใจแผ่นดิน-บางกลอยบน จำนวนมากกว่า 100 หลังคาเรือน รวมทั้งบ้านปู่คออี้ ซึ่งไม่มีความคืบหน้าในการดำเนินการใดๆ

3.ให้รัฐบาลไทยและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 2 มิ.ย. 2553 และ 3 ส.ค. 2553 ในการคุ้มครองวิถีชีวิตชาวเลและกะเหรี่ยง อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ตามคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดกรณีสิทธิชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมบ้านใจแผ่นดิน-บางกลอยบน ซึ่งนายพอละจี รักจงเจริญเป็นผู้ประสานงานการฟ้องร้องดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจนได้รับชัยชนะในคดีศาลปกครองสูงสุด

4. ให้ประเทศไทยบัญญัติกฎหมายคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และกฎหมายว่าด้วยการกระทำทรมานและการบังคับให้หายสาบสูญ ตามหลักสากลของสหประชาชาติว่าด้วย อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรี และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับซึ่งรัฐบาลไทยได้ลงนามแล้ว เมื่อวันที่ 9 ม.ค. 2555 แต่ยังไม่ได้เข้าเป็นภาคีจึงไม่มีสภาพบังคับอย่างใด

นอกจากนี้ทางคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) และองค์กรภาคีจำนวน 99 องค์กร และบุคคลจำนวน 169 รายชื่อได้ร่วมกันออกแถลงการณ์ขอเรียกร้องต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่

1. เร่งรัดนำตัวผู้กระทำความผิดไม่ว่าจะเป็นกลุ่มใด มาลงโทษตามกฎหมายและเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม

2. ชดเชยเยียวยาความเสียหายให้แก่ครอบครัวของบิลลี่อย่างเป็นธรรมและเหมาะสม แม้ยังไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้กระทำความผิด แต่ความเสียต่อครอบครัวได้เกิดขึ้นมาเป็นเวลานานแล้ว

3. ให้รัฐบาลไทยพิจารณาเร่งรัดเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ เพราะแม้ว่ารัฐบาลไทยจะได้ลงนาม แล้ว เมื่อวันที่ 9 ม.ค. 2555 แต่เมื่อยังไม่ได้เข้าเป็นภาคี จึงไม่มีสภาพบังคับ

4. ให้รัฐบาลไทยมีมาตรการที่เป็นไปตามหลักการสากลของสหประชาชาติว่าด้วย การปกป้องคุ้มครองความปลอดภัยนักปกป้องสิทธิมนุษยชน

5. ให้รัฐบาลไทยเร่งรัดออกกฎหมายใหม่หรือแก้ไขกฎหมาย เพื่อป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อำนาจในทางกฎหมายโดยมิชอบ ก่ออาชญากรรมต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพและทรัพย์สินประชาชน เพื่อเป็นหลักประกันให้แก่ประชาชนทุกคนว่าจะไม่ถูกกระทำโดยผู้ใช้อำนาจรัฐ

ด้านนายประยงค์ ดอกลำใย ประธาน กป.อพช.กล่าวว่า หลังจากนี้จะขอเข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีให้กำกับดูแลสอบสวนเรื่องนี้ และจะรณรงค์ไม่ให้เกิดเรื่องแบบนี้อีกพร้อมผลักดันกฎหมายคุ้มครองไม่ให้เกิดการอุ้มหายและทรมานอีกต่อไป ส่วนพยานคนสุดท้ายที่เห็นนายบิลลี่คือเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาตินั้น ตนอยากให้ทางกรมอุทยานแห่งชาติสอบสวนว่าเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของบิลลี่หรือไม่ด้วย

ต่อมา นายณัฐพล สืบศักดิ์วงศ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคอนาคตใหม่ ได้เดินทางมารับหนังสือของเครือข่ายเพื่อนำไปเสนอในรัฐสภาและผลักดันในการติดตามคดีนี้ รวมถึงพิจารณามติ ครม.เพื่อกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศทั้งหมด

ส่วนนายเมธา มาสขาว เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) โพสต์เฟซบุ๊กตอนหนึ่งว่า ประเทศไทยไม่มีกฎหมาย คุ้มครองและป้องกันการอุ้มหาย ให้มีความผิดเหมือนฆ่าคนตายได้ เจ้าหน้าที่รัฐถึงใช้ช่องโหว่ทางกฎหมายกระทำความผิดนั้นเสียเอง และมักจะจับกุมเอาผิดผู้มีอำนาจที่รู้เห็นหรือสั่งการไม่ได้ ขอเสนอให้รัฐบาลเร่งผลักดันร่างพระราชบัญญัติการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับให้บุคคลสูญหายโดยเร็วที่สุด

และรัฐบาลไทยต้องรีบจัดการปัญหาผู้ถูกบังคับให้สูญหายอย่างจริงจังเพื่อหาคนกระทำผิดให้ได้โดยเร็ว แทนที่พยายามลดรายชื่อโดยการเกลี้ยกล่อมให้ญาติผู้สูญหายได้ถอนรายชื่อออกจากระบบเพื่อแลกกับการเยียวยาซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า