Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

หนึ่งสัปดาห์หลังเกิดเหตุฆาตกรรมบุญส่วน กิติยาโน  ผู้ลี้ภัยชาวลาวที่จ.อุบลราชธานี องค์กรนานาชาติออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลไทยดำเนินการสืบสวนเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด โดยมีแถลงการณ์ร่วม 10 องค์กรสิทธิมนุษยชนออกมาในวันที่ 26 พฤษภาคม 2566

แถลงการณ์ดังกล่าว “ร้องขอให้รัฐบาลไทยเปิดการสืบสวนอย่างเป็นอิสระและมีประสิทธิภาพต่อเหตุการณ์ดังกล่าวเพื่อเยียวยาญาติมิตรของเหยื่อ”  และ “ร้องไปยังรัฐบาลลาวตลอดจนรัฐบาลไทย นักการต่างประเทศของทั้งสองประเทศ และหน่วยงานองค์การสหประชาชาติ ให้แก้ปัญหาการละเมิดสิทธิต่อนักปกป้องสิทธิชาวลาวที่ลี้ภัยอยู่ในประเทศไทย”

แถลงการณ์นี้ร่วมด้วย สหพันธ์เพื่อสิทธิมนุษยชนสากล (International Federation for Human Rights), แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (แอมเนสตี้อินเตอร์เนชันแนล), โฟกัสออนเดอะโกลบอลเซาท์ (Focus on the Global South), เวทีประชาชนเอเชียยุโรป (AEPF), มูลนิธิมานุษยะ (Manushya), พันธมิตรสากลเพื่อการไม่มีส่วนร่วมของพลเมือง (Civicus), ฮิวแมนไรท์วอช (Human Rights Watch), ฟรอนท์ไลน์ดีเฟนเดอร์ส(Front Line Defenders), คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (International Commission of Justice)

ก่อนหน้านี้ ฮิวแมนไรท์วอชยังได้ออกแถลงการณ์มาก่อนหน้าในเนื้อหาคล้ายคลึงกัน โดยกล่าวว่ารัฐบาลไทยควรเร่งเปิดการสืบสวนต่อกรณีดังกล่าวอย่างเป็นกลางโดยทันที

อีเลน เพียร์สัน ผู้อำนวยการฮิวไรท์วอชประจำภูมิภาคเอเชีย กล่าวว่า “เจ้าหน้าที่ไทยต้องมีการดำเนินการต่อการฆาตกรรมผู้ลี้ภัยทางการเมืองชาวลาวอย่างอย่างเลือดเย็นโดยทันที” โดย “รัฐบาลไทยควรเปิดให้มีการสืบสวนที่น่าเชื่อถือและเป็นกลางต่อการฆาตกรรมครั้งนี้เพื่อให้ผู้กระทำต้องรับผลที่ตามมา”

บุญส่วน กิติยาโน เป็นนักกิจรรมที่ลี้ภัยมาจากลาว เขาเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่าย “เสรีลาว (Free Lao)” ที่รวบรวมเครือข่ายนักสิทธิมนุษยชนและแรงงานข้ามชาติลาวในไทยจัดกิจกรรมตามวาระต่าง ๆ เช่น การประท้วงอย่างสงบหน้าสถานทูตลาวประจำประเทศไทย และจัดงานอบรมที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อม ต่อต้านคอร์รัปชั่นและส่งเสริมประชาธิปไตย 

วันที่ 17 พฤษภาคม 2566 มีรายงานเจ้าหน้าที่ไทยพบร่างบุญส่วน ชาวลาวอายุ 56 ปี เสียชีวิตที่โพธิ์ไทร อุบลราชธานี ระบุว่าเจ้าตัวถูกยิงทั้งหมดสามครั้งขณะโดยสารด้วยจักรยานยนต์ ขณะนี้ยังไม่ทราบผู้ก่อเหตุ เบื้องต้นบุญส่วนได้หลบหนีภัยเข้าประเทศไทยมากว่าหลายปี และได้รับการรับรองโดยสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) โดยอยู่ระหว่างการขอขึ้นทะเบียนเดินทางไปยังประเทศที่สาม

ด้านสมาชิกกลุ่มเสรีลาวคนอื่น ๆ ต้องพานพบกับชะตากรรมต่างออกไป ไม่ว่าเป็นการถูกขังหรือต้องสงสัยว่าถูกบังคับสูญหายทั้งในประเทศลาวและประเทศไทย

“การฆาตกรรมบุญส่วนในประเทศไทยส่งสารต่อผู้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลลาวว่าหนีไปที่ไหนก็อาจไม่ปลอดภัยได้” ฮิวแมนไรท์วอชระบุ

บุญส่วนไม่ใช่กรณีแรก เมื่อไม่ถึงเดือนก่อนหน้า อนุซา หลวงสุพรม นักกิจกรรมชาวลาวและแอดมินเพจวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลถูกดักยิงกลางกรุงเวียงจันทร์ ส่วนกรณีที่เกิดขึ้นนอกแผ่นดินลาวก็เกิดขึ้นมาแล้ว โดยนายออด ไซยะวง ผู้นำด้านสิทธิมนุษยชนในลาวที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครได้หายตัวไปเมื่อเดือนสิงหาคม 2562 และต่อมาเมื่อ 1 ตุลาคม 2562 สมาชิกคณะทำงานด้านการบังคับสูญหาย (WGEID) ขององค์การสหประชาชาติและผู้ตรวจการพิเศษสหประชาชาติอีก 3 รายก็ได้ออกแถลงการณ์ร่วมแสดงความกังวลต่อกรณีของออก

ฮิวแมนไรท์วอชกล่าวว่า รัฐบาลไทยล้มเหลวในการป้องกันหรือมีการตอบสนองที่เพียงพอต่อการโจมตีผู้วิพากษ์รัฐบาลในประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาว กัมพูชา เวียดนามและเมียนมามาอย่างต่อเนื่อง

“เป็นอีกครั้งที่รัฐบาลไทยเลือกที่จะเพิกเฉยต่อเพื่อนบ้านที่รุนแรงอย่างไม่น่ายอมรับได้เหนือการทำตามข้อตกลงด้านกฎหมายและสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ” เพียร์สันกล่าว “รัฐบาลที่จะเข้ามาใหม่หลังการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 จำเป็นต้องให้ประเด็นการสร้างประเทศไทยให้คุ้มครองและเป็นพื้นที่ปลอดภัยต่อผู้อพยพเป็นวาระเร่งด่วน”


 

My Country Talks ร่วมกับสำนักข่าว TODAY ขอเชิญผู้ที่มีความสนใจ เข้าร่วมกิจกรรม World Talks ที่จะชวนคนจากหลากหลายพื้นที่ของโลกมาแลกเปลี่ยนไอเดีย เรื่องราว มุมมอง ผ่านการสนทนาแบบ 1:1

ผู้เข้าร่วมจะได้รับโอกาสพูดคุยกับผู้ที่มาจากต่างวัฒนธรรม ต่างบริบท ต่างแนวคิด โดยคัดจากการตอบคำถามในแง่มุมต่างๆ

หากท่านสนใจเข้าร่วม สามารถเริ่มต้นจากการตอบคำถามด้านล่างนี้ หรือเข้าไปที่ https://www.theworldtalks.org/invite

*คำถามและบทสนทนาเป็นภาษาอังกฤษ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า