Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดเวทีสาธารณะ “อวสานทีวีเด็กไทย! ยอมแพ้ หรือ ไปต่อ” วันที่ 4 กันยายน 2562 เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับสื่อโทรทัศน์สำหรับเด็ก อันเป็นผลสืบเนื่องจากที่สถานีโทรทัศน์ฟรีทีวี หมวดหมู่เด็ก เยาวชน และครอบครัว ตัดสินใจยุติการออกอากาศ และคืนใบอนุญาตประกอบกิจการสถานีโทรทัศน์ เพราะไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ในขณะที่สถานีโทรทัศน์ฟรีทีวีอื่น ๆ ก็ให้พื้นที่แก่รายการเด็กเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย ทั้งที่มีการสำรวจข้อมูลพบว่า เด็กไทยยังคงรับสื่อโทรทัศน์เป็นสื่อหลักอยู่

ในเวทีสาธารณะครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านเด็กและด้านสื่อมวลชน 5 ท่าน  ประกอบด้วย รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น ผศ.ดร.มรรยาท อัครจันทโชติ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ภัทรจารีย์ นักสร้างสรรค์ (น้านิต สโมสรผึ้งน้อย) ดวงรัชต์ แซ่จิว ตัวแทนผู้ปกครอง และ ดร.สิขเรศ ศิรากานต์ นักวิชาการอิสระด้านนโยบายสื่อ

กสทช และกองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ต้องให้การสนับสนุนอย่างเป็นระบบ

รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม (องค์กรมหาชน) กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น เชื่อว่าแม้จะมีโซเชียลมีเดียเข้ามาแทนที่สื่อต่างๆมากขึ้น แต่การจัดการกลับยังไม่ชัดเจนและไม่เสถียรอย่างเต็มที่ เพราะฉะนั้นทีวีหรือโทรทัศน์ จึงยังเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะทำให้คนเข้าถึงสื่อต่างๆได้มากขึ้น

รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม (องค์กรมหาชน) กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น

และแม้ว่าจะมีกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ขึ้นมา แต่จุดเน้นในการพัฒนาเด็กในบ้านเราก็ยังไม่แข็งแรงพอ ต่างกับต่างประเทศที่จะมีช่องสำหรับเด็กในสัดส่วนมาก เพราะต้องการพัฒนาบุคลากรตั้งแต่เด็ก ให้เติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ควรเป็นผู้ให้ทุนสนับสนุนในทางด้านเนื้อหา (Content Base) และ กสทช ควรจัดสรรให้คลื่นความถี่ช่องสำหรับเด็กโดยเฉพาะแล้วจึงเปิดประมูล โดยเน้นไปที่ตัวชี้วัดด้านคุณภาพ ไม่ใช่มูลค่า และใช้กลไก Media Watch เป็นตัวชี้วัดการทำงาน ผู้เข้าประมูลจะต้องแสดงวิสัยทัศน์ในเรื่องของผังรายการ และคุณภาพของสื่อ ซึ่งกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จะเป็นผู้ให้เงินทุนในการผลิตและสร้างสรรค์ และใช้คลื่นความถี่จาก กสทช รวมไปถึงโฆษณาที่เกิดขึ้นก็จะต้องเป็นการโฆษณาที่สร้างสรรค์และมีคุณภาพต่อผู้ชม ไม่มีผลกระทบต่อเด็ก

นอกจากนี้ยังกำชับว่า เด็กในวันนี้ จะกลายเป็นแรงงานผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า ภาครัฐจึงควรตระหนักตรงจุดนี้ให้มากขึ้น เพราะในปี 2573 แรงงานจะมีลักษณะ 2 ต่อ 1 ทำให้เห็นว่า GDP ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นรัฐและภาคีที่มีส่วนร่วมจะต้องมีการตื่นตัวในการที่จะผลักดันในเรื่องสื่อสำหรับเด็กให้เกิดขึ้น เพื่อที่จะเป็นรากฐานในการสร้างสังคมและประเทศชาติให้แข็งแกร่งและมีคุณภาพต่อไปในอนาคต

โทรทัศน์แข่งขันทางธุรกิจสูงก็จริง แต่จะทิ้งรายการเด็กในโทรทัศน์ไม่ได้

ผศ.ดร.มรรยาท อัครจันทโชติ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า รายการโทรทัศน์สำหรับเด็กเป็นรายการหนึ่งที่มีมาตั้งแต่แรกก่อตั้งสถานีโทรทัศน์ของไทย แต่กว่า 60 ปีที่ผ่านมา เส้นทางของรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กในเมืองไทย ไม่มียุคใดที่เป็นยุคทอง มีแต่ช่วงที่เสมอตัวและช่วงที่วิกฤติหนัก

ผศ.ดร.มรรยาท อัครจันทโชติ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ที่ผ่านมามียุคที่ดูเหมือนว่ามีโอกาสดีขึ้น เช่น ยุคที่มีการประกาศปีเด็กสากล ที่ทำให้เมืองไทยสนใจเรื่องสื่อสำหรับเด็กมากขึ้น หรือการมีระเบียบให้จัดช่วงเวลารายการสำหรับเด็ก รวมถึงการเกิดขึ้นของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) การเกิดขึ้นของสถานีโทรทัศน์บริการสาธารณะแห่งแรกของไทยอย่างไทยพีบีเอส และการเกิดขึ้นของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ก็เป็นแรงสนับสนุนให้รายการเด็กมีพื้นที่ในสถานีโทรทัศน์มากขึ้น แต่หากมองภาพรวมของภูมิทัศน์สื่อแล้ว รายการสำหรับเด็กของไทยก็แทบจะไม่มีพื้นที่

ในปัจจุบันมีประกาศของ กสทช. ให้สถานีโทรทัศน์ฟรีทีวีระบบดิจิตอลทุกช่องต้องมีรายการเด็กและครอบครัวทุกวัน อย่างน้อยวันละ 60 นาที แต่ในความเป็นจริง กลับไม่ใช่เช่นนั้น แม้แต่ในช่องทีวีหมวดหมู่เด็ก เยาวชน และครอบครัวเอง ก็ไม่สามารถมีพื้นที่ให้รายการเด็กของไทยมากอย่างที่หวัง ยิ่งเมื่อโทรทัศน์ต้องต่อสู้แข่งขันในทางธุรกิจที่สูงมาก รายการสำหรับเด็กจึงยิ่งมีสัดส่วนและพื้นที่น้อยลงเรื่อย ๆ

หลายคนอาจเข้าใจว่าเด็กไม่รับชมโทรทัศน์แล้ว แต่ในความเป็นจริงสื่อโทรทัศน์ยังเป็นสื่อที่เข้าถึงประชาชนไทยได้เป็นอันดับหนึ่ง เป็นสื่อที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม และสามารถสร้างเป็นกิจกรรมร่วมในครอบครัวได้ ที่สำคัญ มีผลสำรวจออกมาว่า เด็กจำนวนมากยังคงรับชมสื่อโทรทัศน์เป็นหลักอยู่ โดยเฉพาะเด็กปฐมวัย 3-5 ปี ที่รับสื่อโทรทัศน์เป็นอันดับหนึ่ง

หลายประเทศในโลกมีทีวีช่องเด็กโดยเฉพาะ เพราะเห็นความสำคัญของการลงทุนเพื่อพัฒนาเด็ก ซึ่งคือการลงทุนเพื่อพัฒนาสังคมที่เกิดผลอย่างแท้จริง ธุรกิจโทรทัศน์ทั่วโลกล้วนกำลังประสบปัญหา แต่เขาไม่เลือกไม่ปิดช่องเด็ก อย่างบีบีซีเอง แม้จะปิดโทรทัศน์บางช่องไป แต่ยังคงมีช่องเด็กอยู่ และยังเพิ่มงบประมาณให้มากขึ้นด้วย เพื่อพัฒนารายการเด็กให้สู้กับสื่ออื่น ๆ ได้ และเพิ่มการพัฒนาสื่อออนไลน์ให้เป็นสื่อที่ใช้ประกอบเสริมเนื้อหาในรายการโทรทัศน์ เพราะเขามองว่า แนวทางสำหรับสื่อเด็กในอนาคต คือ การพัฒนาหลากหลายสื่อควบคู่กันไป มีสื่อเด็กในทุก ๆ แพลตฟอร์มอยู่รอบตัวเด็ก เพื่อตอบสนองเด็กทุกที่ทุกเวลา และทุกเรื่องที่เด็กสนใจอย่างแท้จริง

คนทั้งประเทศจะต้องรู้สึกว่าต้องให้ความสำคัญให้เด็กมีความสุขและเก่งมากขึ้น เหมือนกับที่ลงทุนกับโครงสร้างพื้นฐาน

ภัทรจารีย์ นักสร้างสรรค์ หรือ น้านิตหรือย่านิตแห่งสโมสรผึ้งน้อย ผู้บุกเบิกรายการสำหรับเด็กในประเทศไทย ได้ให้ความเห็นว่า การสร้างสถานีโทรทัศน์สำหรับเด็กวันนี้ เป็นเหมือนการปลูกเมล็ดไทรลงในดินดีที่มีความอุดมสมบูรณ์ ไม่ต้องรอนานต้นอ่อนก็จะแทงยอดโผล่ขึ้นมาให้เห็น แต่ที่ต้องรอนานหน่อยก็คือการรอวันให้ต้นอ่อนเจริญเติบโตแผ่กิ่งก้านสาขาเป็นต้นไทรใหญ่ที่งดงาม ต้องมีความอดทนและใจเย็นพอที่รอดูสถานีโทรทัศน์เด็กเติบโตไปพร้อมกับเด็ก และต้องทำทีวีเด็กให้เป็นเหมือนกับการปลูกต้นไทร ไม่ใช่ปลูกต้นหอมผักชีแบบที่ผ่าน ๆ มา

ภัทรจารีย์ นักสร้างสรรค์ หรือ น้านิตหรือย่านิตแห่งสโมสรผึ้งน้อย

ที่ผ่านมา “น้านิต” ได้มีการพูดคุยกับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 เจ้าคุณทหารลาดกระบัง ว่าถ้ามีทีวีช่องเด็ก คิดว่าสิ่งดี ๆ ที่จะเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง ขอ 3 ข้อ ได้คำตอบว่า

ข้อ1. เด็กจะมีความสุข

ข้อ2. เด็กจะดีและเก่งมากขึ้น ถ้าได้ดูรายการที่มีคุณภาพและเหมาะสมกับวัย

ข้อ3. คนทั้งประเทศจะรู้สึกว่า ต้องให้ความสำคัญกับเด็กมากขึ้น ถ้าทีวีให้ความสำคัญกับช่องเด็ก

เด็กจะมีความสุขและเก่งมากขึ้นนั้นคนทั้งประเทศจะต้องรู้สึกว่าต้องให้ความสำคัญ

นอกจากนี้ภัทรจารีย์ยังได้ยกตัวอย่างเพิ่มเติมเป็นความเห็นของ ครูชีวัน วิสาสะ นักวาดและ นักเล่านิทาน และผู้ให้กำเนิดนิทาน ‘อีเล้งเค้งโค้ง” ว่าควรมีการการรวมคนจากหลากหลายสาขาอาชีพเพื่อสร้างสรรค์รายการทีวีสำหรับเด็กซึ่งจะเป็นการบ่มเพาะส่งต่อความคิดสร้างสรรค์ก่อให้เกิดความดีงามในสังคมทั้งปัจจุบันสู่อนาคต อย่าให้เด็กที่โตไปแล้วคิดได้ว่า ‘ทำไมผู้ใหญ่ไม่คิดทำอะไรให้เราเลย?’

ที่ผ่านมามีการลงทุนไปกับโครงสร้างทางวิศวกรรมสังคมเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตของผู้ใหญ่โดยไม่มีเด็กอยู่ในสายตา ต่อไปนี้ควรคิดถึงเด็กอย่างจริงจัง

ด้านตัวแทนผู้ปกครอง คุณดวงรัตน์ แซ่จิว ได้ให้ความเห็นว่า ในมุมมองของผู้ปกครองย่อมต้องการให้ลูกเติบโตมาเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ในปัจจุบันเวลาว่างนี้ก็คือการใช้สื่อโซเชี่ยลมีเดียซึ่ง ไม่ได้มีการคัดกรองที่ดีเท่าที่ควร เด็กเสี่ยงได้รับภาพที่มีความรุนแรง หรือทัศนคติด้านลบ การมีสื่อที่ดีสำหรับเด็กผ่านช่องทางโทรทัศน์ จึงจะเป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะอย่างน้อยเด็กจะได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ รวมไปถึงอยู่ในสายตาของผู้ปกครอง พร้อมทั้งการมีพัฒนาการที่ดีอย่างถูกต้องและสร้างสรรค์

คุณดวงรัตน์ แซ่จิว ตัวแทนผู้ปกครอง

ส่วน ดร.สิขเรศ สิรากานต์ นักวิชาการอิสระด้านสื่อและนโยบายสื่อ  ได้แสดงความเห็นว่าในช่วงที่ผ่านมามีการเกิดขึ้นและคืนช่องเด็ก ทางทีวีดิจิทัล ปรากฎการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นมาจากการออกแบบโมเดลแบบอุดมคติแต่ขาดการมองด้านการตลาด รวมทั้งไม่สำรวจและศึกษาพฤติกรรมผู้ชมผ่านโลกที่แท้จริง

ดร.สิขเรศ สิรากานต์ นักวิชาการอิสระด้านสื่อและนโยบายสื่อ

ผู้ร่วมออกแบบทีวีดิจิทัลทุกฝ่ายตั้งช่องนี้ขึ้นมาโดยหวังให้เป็นช่องที่พัฒนากลุ่มเด็ก เยาวชน และครอบครัว แต่เมื่อเวลาผ่านไป ช่องนี้ไม่สามารถทำกำไร หรือรายได้เป็นไปตามที่คาดหมาย ทำให้ผู้ประกอบการเลือกที่จะทิ้งช่องนี้เป็นลำดับแรก ทั้งที่ในความเป็นจริงก่อนการประมูล การที่ช่องเด็กที่หายไปทั้งหมดนี้คือความล้มเหลวของอุดมคติที่เกิดขึ้น

รายการเด็กในประเทศไทยมีจำนวนมากที่น่าสนใจจำนวนมากแต่ยังขาดการสนับสนุนที่ดี รวมทั้งยังไม่มีมาตรการที่จะจูงใจด้านผลประโยชน์ให้ผู้ประกอบกิจการที่อยากทำช่องดี ๆ เพื่อสังคมอย่างช่องเด็ก เช่น การลดภาษี การช่วยแบ่งเบาภาระต่าง ๆ เป็นต้น

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า