Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดกิจกรรม “โครงการรักษ์น่าน สานสร้างป่า ปีที่ 2” เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฏาคม 2562 และเพื่อฟื้นฟูป่าและเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับพื้นที่ป่าในจังหวัดน่าน ณ บ้านน้ำคา ต.พญาแก้ว อ.เชียงกลาง จ.น่าน โดยมีนายธวัช จรัสวรภัทร นายอำเภอเชียงกลาง เป็นประธานเปิดงาน เมื่อวันที่ 27 กรกฏาคม 2562 ที่ผ่านมา

ผศ.ดร.วิเชฎฐ์ คนซื่อ

ผศ.ดร.วิเชฎฐ์ คนซื่อ ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า โครงการรักษ์น่าน สานสร้างป่า เป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือของสำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กองทัพบก และจังหวัดน่าน ซึ่งกิจกรรมการปลูกป่าปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 2 ในบริเวณที่เรียกว่าเมืองศาสนารัตนโกสินทร์ศรีน่าน ซึ่งเป็นที่ดินเอกชนที่ถวายให้วัดพระธาตุแช่แห้ง

โดยมีกล้าไม้ที่ลงปลูกจำนวน 10,000 ต้น บนพื้นที่ 100 ไร่ ประกอบด้วย ยางนา ตะเคียนทอง หว้า พลวง เหียง ซึ่งเป็นไม้ประจำถิ่น มีคณาจารย์ บุคลากร นิสิตจุฬาฯ พระสงฆ์ ทหารผ่านศึก นักเรียนและประชาชนในพื้นที่ร่วมกันปลูก โดยนำวิธีการปลูกป่าที่เรียกว่า 3 ประสาน ซึ่งเป็นผลงานวิจัยของนักวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ มาใช้ ประกอบด้วย เชื้อราที่เป็นมิตรกับรากไม้ ที่เรียกว่า เอคโตไมคอร์ไรซา ซึ่งเป็นตัวจับความชื้นในอากาศ ทำให้รากมีน้ำ ช่วยให้รากของพืชสามารถอยู่รอดในภาวะอากาศที่รุนแรง พอลิเมอร์ชีวภาพ เป็นตัวเก็บกักความชื้น สำรองน้ำไว้ให้ต้นไม้ในช่วงฤดูแล้งหรือภาวะขาดแคลนน้ำ โดยใส่ในหลุมดินก่อนลงกล้าไม้ หรือผสมในดินที่ใช้ปลูก และ ประยุกต์แนวคิดการปลูกป่าแบบ อาคิระมิยาวากิ ของ ศ.อาคิระ มิยาวากิ โดยยกเนินดินขึ้นมาเพื่อให้น้ำและอากาศถ่ายเทได้สะดวก และเลือกปลูกไม้ที่เหมาะกับพื้นที่หรือไม้ประจำถิ่น ซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะในการฟื้นฟูป่าที่ได้ผลอย่างรวดเร็ว

นายธวัช จรัสวรภัทร นายอำเภอเชียงกลาง กล่าวว่า ในฐานะผู้บริหารและตัวแทนชาวอำเภอเชียงกลาง รู้สึกยินดีและขอบคุณศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ และหน่วยงานทุกภาคส่วนที่ร่วมกันจัดกิจกรรมปลูกป่าขึ้นในพื้นที่ของอำเภอเชียงกลาง ซึ่งเป็นกิจกรรมปลูกป่าที่ชาวบ้าน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น รวมไปถึงพระสงฆ์ ทหารผ่านศึกษาและประชาชนผู้มีจิตอาสาของอำเภอเชียงกลางและชาวน่าน ได้เข้ามามีส่วนร่วม และไม่ใช่ปลูกอย่างเดียว ยังมีการบวชป่าด้วย นั่นคือเมื่อปลูกแล้วจะต้องมีวิธีการดูแลรักษาป่าไม่ให้ถูกทำลาย เพราะอย่างทีทราบกันดีว่า ปัจจุบันปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นค่อนข้างรุนแรงและยาวนาน รวมไปถึงปัญหาไฟป่าและหมอกควัน เป็นผลมาจากป่าถูกทำลาย ดังนั้น จะต้องให้ชาวบ้านหรือชุมชนได้ตระหนักรู้และเห็นความสำคัญของป่า ทำอย่างไรที่จะให้คนอยู่กับป่า สามารถใช้ประโยชน์จากป่าได้โดยไม่ทำลายป่า ซึงอำเภอเชียงกลางและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความรู้กับชาวบ้านในเรื่องนี้อยู่เสมอ

นอกจากนี้ ยังจัดกิจกรรมเยี่ยมชมการดำเนินงานของศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค สถานีวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีผาสิงห์ ซึ่งตั้งอยู่ที่ ต.ผาสิงห์ อ.เมือง จ.น่าน เช่น การเลี้ยงแพะเนื้อ-แพะนม การเลี้ยงสุกรเพื่อให้บริการน้ำเชื้อสุกรเพื่อการผสมเทียม การผลิตอาหารแปรรูปจากน้ำนมแพะ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชและสมุนไพร

และเยี่ยมชมสถานีวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีไหลน่านในอำเภอเวียงสา ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยและถ่ายทอดความรู้สู่เกษตรกรและชุมชน เช่น การเพาะกล้าไม้วงศ์ไม้ยาง การเลี้ยงโคแดงพื้นเมืองน่าน และควายน้ำว้าเพื่อการอนุรักษ์ การเลี้ยงกบนาแบบอินทรีย์ ฯลฯ

การเลี้ยงกบนาแบบอินทรีย์

การเลี้ยงโคแดงพื้นเมืองน่าน

การเลี้ยงควายน้ำว้าเพื่อการอนุรักษ์

ผศ.ดร.ชัชวาล ใจซื่อกุล อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รองผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ เปิดเผยว่า ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาคจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นฐานการวิจัยของคณาจารย์และนิสิต โดยมุ่งตอบโจทย์ความต้องการของชุมชนและพื้นที่ เป็นงานวิจัยที่ชุมชนและสังคมได้รับประโยชน์สูงสุดและยั่งยืน อย่างเช่น งานวิจัยเชื้อราเอคโตไมคอร์ไรซา ที่นำมาใช้ปลูกไม้วงศ์ไม้ยางที่ทดลองใช้ในโครงการรักษ์น่าน สานสร้างป่า เป็นราที่ทำให้ต้นไม้โตเร็วและเกิดเห็ดป่าที่ชาวบ้านเก็บไปรับประทานและสร้างรายได้ ซึ่งเป็นกุศโลบายที่จูงใจชาวบ้านให้หันมาปลูกป่ามากขึ้น

ผศ.ดร.ชัชวาล ใจซื่อกุล

หรืออย่างงานวิจัยน้ำเชื้อสุกร ทำให้เกษตรกรในพื้นที่สามารถเพิ่มผลผลิตสุกรได้มากขึ้น ช่วยลดการนำเข้าและเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจให้จังหวัดน่านไม่ต่ำกว่า 10 กว่าล้านบาท โดยใช้เงินลงทุนผลิตน้ำเชื้อประมาณ 1 แสนบาทเท่านั้น รวมถึงแพะเนื้อซึ่งขณะนี้ได้จัดอบรมถ่ายทอดความรู้และมีเกษตรกรนำไปเลี้ยงแล้ว 30 ราย นอกจากนี้ ยังมีงานสืบสานด้านศิลปะวัฒนธรรม มีการค้นคว้าวิจัยและต่อยอดดนตรี และนาฎศิลป์พื้นถิ่นของพ่อครูแม่ครูในจังหวัดน่านที่กำลังสูญหายให้คงอยู่ โดยเปิดค่ายบ่มเพาะศิลปิน ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่เยาวชน มีพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งน่าน เป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียนในพื้นที่ รวมไปถึงการจัดอบรมและถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกร หน่วยงานราชการต่างๆ เช่น การแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตร การเลี้ยงโคแดง การอนุรักษ์ป่าชุมชน การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นต้น

“สิ่งที่จุฬาฯ ทำตอนนี้คือการสร้างโซเซียลอินโนเวชั่นขึ้นที่น่าน นั่นคือการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่ก่อให้เกิดผลดีต่อสังคมและตอบโจทย์ความต้องการของพื้นที่หรือบริบทของสังคม ชุมชนสามารถนำองค์ความรู้ต่างๆ เหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ในการสร้างอาชีพและสร้างรายได้ได้จริง ในขณะเดียวกันคณาจารย์ นักวิจัยและนิสิตของจุฬาฯ ก็ได้ด้วยในแง่ของการเป็นแหล่งค้นคว้าวิจัย และแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนของนิสิต ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่สามารถตีค่าเป็นตัวเงินได้” ผศ.ดร.ชัชวาล กล่าวทิ้งท้าย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า