Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

วันที่ 5 ต.ค. 2563 ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) รายงานผู้ป่วยติดเชื่อโควิด-19 ในประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 5 ราย รวมสะสม 3,590 ราย, หายป่วยเพิ่ม 2 ราย รวมสะสม 3,390 ราย, รักษาเพิ่ม 3 ราย, สะสมใน รพ. 141 ราย และเสียชีวิตคงที่สะสม 59 ราย

รายละเอียดผู้ป่วยรายใหม่เพิ่ม 5 ราย มีดังนี้

• อินเดีย 2 ราย ทั้ง 2 ราย มีสัญชาติอินเดีย

– รายที่ 1 เพศชาย อายุ 27 ปี อาชีพผู้ตรวจสอบบัญชี เดินทางมาถึงประเทศไทยวันที่ 25 กันยายน 2563 เข้ากักตัวในสถานที่รัฐกำหนด (Alternative State Quarantine) ในกรุงเทพมหานคร พบเชื้อจากการตรวจครั้งที่ 2 วันที่ 2 ตุลาคม 2563 (วันที่ 7 ของการกักตัว) เริ่มมีอาการเจ็บคอ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพมหานครโดยก่อนหน้านี้พบผู้ติดเชื้อจากเที่ยวบินเดียวกัน 6 ราย ทุกรายได้เข้าสู่ระบบกักกันและส่งต่อรักษาที่โรงพยาบาล

– รายที่ 2 เพศชาย อายุ 33 ปี อาชีพเชฟทำอาหาร เดินทางถึงประเทศไทยวันที่ 30 กันยายน 2563 เข้ากักตัวในสถานที่รัฐกำหนด (Alternative State Quarantine) ในกรุงเทพมหานคร พบเชื้อจากการตรวจครั้งแรกวันที่ 3 ตุลาคม 2563 (วันที่ 3 ของการกักตัว) รายนี้ไม่มีอาการ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร

• มาเลเซีย 1 ราย เพศชาย อายุ 34 ปี สัญชาติโปรตุเกส อาชีพลูกเรือสายการบินเช่าเหมาลำ มาจากโปรตุเกส ไปอินเดีย ไปมาเลเซีย ก่อนมาประเทศไทย ถึงประเทศไทยวันที่ 30 กันยายน 2563 เข้ากักตัวในสถานที่รัฐกำหนด (Alternative State Quarantine) ในจังหวัดสมุทรปราการ พบเชื้อจากการตรวจครั้งแรกวันที่ 3 ตุลาคม 2563 (วันที่ 3 ของการกักตัว) ไม่มีอาการ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดสมุทรปราการ

• บาห์เรน 1 ราย เพศชาย อายุ 50 ปี สัญชาติบาห์เรน อาชีพธุรกิจส่วนตัว (มีภรรยาเป็นคนไทย) เดินทางมาถึงประเทศไทยวันที่ 27 กันยายน 2563 เข้ากักตัวในสถานที่รัฐกำหนด (Alternative State Quarantine) ในกรุงเทพมหานคร พบเชื้อจากการตรวจครั้งแรก วันที่ 2 ตุลาคม 2563 (วันที่ 5 ของการกักตัว) ไม่มีอาการ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร

• ญี่ปุ่น 1 ราย เพศหญิง อายุ 55 ปี สัญชาติไทย อาชีพธุรกิจส่วนตัว เดินทางมาถึงประเทศไทยวันที่ 30 กันยายน 2563 เข้ากักตัวในสถานที่รัฐจัดให้ (State Quarantine) ในจังหวัดชลบุรี พบเชื้อจาการตรวจครั้งแรก วันที่ 4 ตุลาคม 2563 (วันที่ 4 ของการกักตัว) โดยวันที่ 3 ตุลาคม 2563 เริ่มมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว ไอ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลใน จังหวัดชลบุรี ก่อนหน้านี้พบผู้ติดเชื้อจากเที่ยวบินเดียวกัน 1 ราย เป็นสามีของผู้ป่วยได้เข้าสู่ระบบกักกันและส่งต่อรักษาที่โรงพยาบาลแล้ว

สถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลก เวลา 09:00 น. มีผู้ป่วยยืนยัน 35,393,800 ราย, รักษาหายกลับบ้านแล้ว 26,619,892 ราย, ยังรักษาใน รพ. 7,732,128 ราย, และมีรายงานเสียชีวิต 1,041,780 ราย

นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กล่าวว่า สถานการณ์ที่น่ากังวลและอาจส่งผลกระทบต่อประเทศไทยขณะนี้คือ สถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศเพื่อนบ้านที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าภาครัฐได้กวดขันผู้ที่เดินทางเข้าประเทศทางด่านพรมแดน เฝ้าระวัง ตรวจจับ แรงงานต่างชาติที่ลักลอบเข้าประเทศผิดกฎหมายที่ไม่ได้ผ่านมาตรการคัดกรองโควิด 19 กระทรวงสาธารณสุขขอความร่วมมือหน่วยงานต่างๆ และประชาชนช่วยกันสอดส่องหากพบผู้เข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย หรือมีแรงงานผิดกฎหมายขอเข้าทำงานให้แจ้งเจ้าหน้าที่โดยเร็ว เนื่องจากกลุ่มนี้ถือว่ามีความเสี่ยงที่อาจนำเชื้อมาแพร่ให้กับคนในประเทศ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต และเศรษฐกิจของประเทศ

กระทรวงสาธารณสุขมีความห่วงใยสุขภาพของคนไทยทุกคน ขอย้ำให้ประชาชนร่วมมือกันปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดอย่างเข้มข้น เป็นนิสัย โดยเฉพาะการสวมหน้ากากผ้า/หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกนอกบ้านและตลอดเวลาขณะอยู่ในพื้นที่สาธารณะ นอกจากช่วยป้องกันการป่วยด้วยโรคโควิด 19 แล้ว ยังช่วยลดอัตราการป่วยด้วยไข้หวัดใหญ่และโรคระบบทางเดินหายใจด้วย ซึ่งโรคไข้หวัดใหญ่ และ โควิด 19 จะมีอาการป่วยที่ใกล้เคียงกัน ทั้งอาการไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไอ เจ็บคอ หรืออาการระบบทางเดินหายใจ แต่ที่แตกต่างกันคือ ผู้ติดเชื้อโควิด 19 อาจมีอาการลิ้นรับรส หรือกลิ่นลดลง ขอแนะนำว่าหากป่วยภายหลังจากเดินทางไปในที่ชุมชน สถานที่แออัด ให้รีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านทันที

จากข้อมูลของกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบว่า ตั้งแต่เดือน มกราคม – กันยายน 2562 มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่  304,4225 ราย เสียชีวิต 20 ราย มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจนไม่ถึงครึ่งหนึ่งของปีที่ผ่านมา โดยมีผู้ป่วยเพียง 110,930 ราย เสียชีวิต 4 ราย นอกจากนี้การล้างมือบ่อยๆ ยังช่วยลดอัตราการป่วยด้วยโรคโรคอุจจาระร่วง โดยในปีนี้มีผู้ป่วย 621,445 ราย ลดลงจากในช่วงเดียวกันปี 2562 ที่พบ 883,449 ราย แสดงให้เห็นว่ามาตรการป้องกันตนเองสามารถช่วยลดอุบัติการณ์ของโรคทั้ง 2 กลุ่ม กระทรวงสาธารณสุขจึงขอเน้นย้ำให้ประชาชนยังคงปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างต่อเนื่องเพื่อสุขภาพอนามัยที่ดี และลดอัตราการป่วยจากโรคดังกล่าว

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า