Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ย้อนไปปี 2564 ที่โพลความนิยมของ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ในฐานะผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. อยู่ที่ 22% ถึงวันนี้ นับเป็น 1 ปีที่เราได้เห็นความสำเร็จของทีมชัชชาติที่ทำผลงานโดดเด่น จนในสนามเลือกตั้งที่ผ่านมา ชัชชาติกลายเป็นผู้ชนะตำแหน่งผู้ว่าฯ ที่ได้คะแนนเสียงไปกว่า 1.3 ล้านเสียง หรือกระโดดขึ้นไปถึง 51%

แล้วอะไรอยู่เบื้องหลังความสำเร็จแบบแลนด์สไลด์ เขียวทั้งแผ่นดิน (กรุงเทพฯ) ในครั้งนี้? มาย้อนอ่านสรุปจากคำบอกเล่าของ ปราบ เลาหะโรจนพันธุ์ Communication Director หนึ่งในผู้ดูแลทีมสื่อสารของชัชชาติกัน

[โฆษณาการเมือง vs โฆษณาทั่วไป]

การสื่อสารการเมืองต่างกับงานโฆษณาทั่ว โดยเฉพาะในประเทศประชาธิปไตยที่พัฒนาแล้ว การสื่อสารทั้ง 2 แบบนี้จะยิ่งต่างกัน เพราะมีวิธีคิดพื้นฐานและการทำงานที่ไม่เหมือนกัน

ข้อแตกต่างจากการทำการตลาดที่เห็นชัดคือ การสื่อสารการเมืองจะไม่ใช่การขายโปรดักส์เสียทีเดียว แต่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ที่มีชุดคุณค่าทางความคิด (Shared Value) เข้ามาเกี่ยว การเลือกตั้งก็เหมือนกับการหาคู่ทำงานกลุ่ม ถ้าแคนดิเดตมีทิศทางแนวคิดเดียวกัน ก็มีโอกาสได้ได้รับเลือกให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของทีม

ความท้าทายของการสื่อสารทางการเมืองเองก็มีความยากของมันคือต้องพยายามทำโฆษณาไปพร้อมๆ ความหวังของคนหลักล้าน ยังไม่รวมถึงปัจจัยยิบย่อยอย่างทรัพยากรที่จำกัด หรือระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

อีกประเด็นที่น่าสนใจก็คือ บริบทการเลือกตั้งเป็นแบบ “Winner takes all” คือผู้ชนะได้ครอบครองทุกอย่าง นั่นทำให้การแข่งขันในสนามการเมืองนั้นยิ่งเข้มข้นกว่าการทำโฆษณา เราจะเห็นว่าในการขายสินค้าและบริการทั่วไป ถึงแม้แบรนด์จะไม่ใช่ผู้นำตลาด ก็ยังสามารถหาตลาดของตัวเองให้อยู่รอดและเติบโตได้ แต่ถ้าผู้สมัครไม่ชนะเลือกตั้ง จะเท่ากับการหาเสียงที่ผ่านมาไม่ได้อะไรเลย

[สื่อสารให้สำเร็จ กรณีศึกษา ผู้ว่าฯ ชัชชาติ]

ถึงแม้การสื่อสารการเมืองกับการตลาดจะมีข้อแตกต่างกัน แต่หัวใจสำคัญที่มีเหมือนกันก็คือ “โปรดักส์​ที่ดี มีชัยไปกว่าครึ่ง” นักโฆษณารุ่นใหญ่หลายคนพูดตรงกันว่า ผู้ว่าฯ ชัชชาติ คือโปรดักส์ที่ดี เพราะมีจุดแข็งเป็นนโยบายที่ชัดเจน และได้รับความไว้ใจจากประชาชน 

แต่ใช่ว่าแค่มีโปรดักส์ดีอย่างเดียว จะทำให้ชนะในศึกเลือกตั้งได้ เพราะการทำให้สารที่ต้องการสื่ออกไปถึงประชาชนมากที่สุด รวมถึงกลยุทธ์หลังบ้านเองก็สำคัญไม่แพ้กัน นั่นจึงเป็นที่มาของการกำหนดแนวทางทำแคมเปญเลือกตั้ง 2 ประเด็นหลักๆ

[พูดยังไงให้คนฟัง]

  1. พูดในสิ่งที่สำคัญ นำเสนอแต่สิ่งที่จำเป็นกับประชาชน ไม่ให้เกิดความรู้สึกว่ากำลังพูดเรื่องนี้เพื่อตัวเอง เช่น เลี่ยงการโพสต์ภาพเรื่องการลงพื้นที่รายวัน แต่หันไปโพสต์สรุปสาระสำคัญที่เกี่ยวกับความเป็นอยู่ของประชาชนแทน
  2. พูดในเวลาที่สำคัญ นำเสนอข้อมูลอย่างรวดเร็ว ในจังหวะที่ประชาชนกำลังหาข้อมูล หรือต้องการคำตอบจากเรื่องนั้นอยู่
  3. พูดให้ดีและสร้างสรรค์ ด้วยการสื่อสารที่หลากหลาย เช่น การ์ตูน เพลงแรป
  4. ไม่พูดอะไรซ้ำไปมา แต่เลือกพูดเฉพาะเรื่องที่ประชาชนควรรู้ เพราะจะสะท้อนความเป็นตัวตนได้มากกว่าความเป็นหน่วยงานหรือองค์กรที่มักโพสต์อะไรเป็นรูทีน

[เครื่องมือหลังบ้านที่ไม่ควรมองข้าม]

  1. ความสร้างสรรค์​ เช่น ออกแบบแคมเปญอย่างไรให้ออกมาสนุก สร้างสรรค์ สร้างความหวังให้กับประชาชนได้
  2. วิทยาศาสตร์การสื่อสาร การใช้วิทยาศาสตร์ช่วยออกแบบกรอบการทำงาน ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ chadchart.com ที่เกิดจากการตั้งคำถามเรื่องอินเทอร์เน็ตกับการเปลี่ยนวิถีชีวิตคน จนเกิดเป็นแพลตฟอร์ม 200 นโยบาย ที่ให้ประชาชนเข้ามาค้นหาจากเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตตัวเองในด้านต่างๆ ง่ายขึ้น
  3. เทคโนโลยี ช่วยวิเคราะห์ เก็บข้อมูล และสื่อสาร เช่น การเชื่อมต่อระบบนโยบายรายเขตเข้าไปในเว็บไซต์ ให้ประชาชนค้นหาได้ว่าเขตที่ตัวเองอาศัยอยู่มีนโยบายใดเกี่ยวข้องบ้าง หรือมีจุดไหนที่กำลังเป็นปัญหาอยู่บ้าง
  4. การวางกลยุทธ์ กำหนดทิศทางในแต่ละช่วงของการเลือกตั้ง รวมทั้งประสานการทำงานระหว่างความสร้างสรรค์ วิทยาศาสตร์การสื่อสาร และเทคโนโลยี เพื่อให้มีโอกาสชนะเลือกตั้งมากที่สุด

[ควันหลงที่ชวนคิดต่อ]

สิ่งที่หลงเหลือจากศึกษาการเลือกตั้ง ไม่ใช่แค่ผลแพ้หรือชนะ ปราบยังชวนตั้งคำถามต่อไปว่า “เมื่อผลการเลือกตั้งออกมาอย่างนี้แล้ว IO ยังมีความจำเป็นอยู่ไหม?” 

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาที่ประชาชนมีภูมิคุ้มกันต่อ IO เพิ่มขึ้น สังคมเรียนรู้ว่าข้อมูลชุดไหนน่าเชื่อถือ หรือไม่น่าเชื่อถือ  แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียมีการพัฒนาให้ตรวจจับและจัดการ IO ได้เร็วขึ้น กลายเป็นคำถามว่าการเลือกใช้ IO ยังคุ้มค่าการลงทุนจริงไหม และหากโปรดักส์ดี มีความโปร่งใสแล้ว IO ก็ไม่มีความจำเป็น เพราะองค์กรสามารถชี้แจง และจัดการเรื่องการสื่อสารได้ด้วยตัวเอง

นอกจากนี้ ทางฝั่งของภาคเอกชนเองก็น่าจะได้บทเรียนที่นำไปปรับใช้ได้คือ ความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับอุดมการณ์ทางการเมือง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เห็นได้มากขึ้นในช่วง 2-3 ปีหลังนี้ 

ปราบมองว่า ตอนนี้มันไม่ใช่แค่แบรนด์กับอุดมการณ์ แต่ลึกลงไป นี่คือการเอาสินค้า บริการ หรือภาพลักษณ์ของบริษัทไปผูกกับชุดคุณค่าบางอย่างที่คนเชื่อ 

ก่อนจบ ยังมีอีกหนึ่งโจทย์ที่ชวนมาแสดงความเห็นกันคือ ถ้าเปลี่ยนจากโปรดักส์ ‘ชัชชาติ’ เป็น ‘ประยุทธ์’ เราจะทำโฆษณาอย่างไร 

สำหรับปราบ บอกว่า ต้องเริ่มต้นที่ “การพัฒนาโปรดักส์” เพราะหากโปรดักส์ไม่มีคุณภาพ ประชาชนก็จะบอกกันแบบปากต่อปาก ท้ายที่สุดแล้วต่อให้ทำ PR ดีแค่ไหนก็จะไม่มีทางยั่งยืน

แล้วคุณล่ะ คิดว่าคำตอบของโจทย์นี้ควรเป็นอย่างไร?

สำหรับใครที่อยากฟังบทสัมภาษณ์เต็มๆ ดูได้ที่ : https://youtu.be/zVeCs1hucww

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า