Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

วัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์ ประสิทธิภาพลดลงอย่างเห็นได้ชัด หลังฉีดครบโดสไปแล้วประมาณ 5-7 เดือน แต่ยังมีประสิทธิภาพป้องกันการป่วยหนักและเสียชีวิตได้ในระดับเดิม

นี่คือผลการใช้จริงล่าสุดในประเทศกาตาร์ ที่ประชากรส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์ ซึ่งทำให้กาตาร์กังวลการระบาดระลอกใหม่ และยิ่งกลายเป็นคำถามว่า วัคซีนเข็มที่ 3 จำเป็นหรือไม่

รายละเอียดของเรื่องนี้เป็นอย่างไร วันนี้ workpointTODAY สรุปมาให้อ่านกัน

1.) วันที่ 6 ต.ค. 2564 เว็บไซต์ The New England Journal of Medicine เผยแพร่งานวิจัยที่เก็บข้อมูลประสิทธิภาพวัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์ (Pfizer) จากการใช้จริงในกาตาร์ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-5 ก.ย. ซึ่งในช่วงดังกล่าวพบการระบาดทั้งสายพันธุ์เบตา และสายพันธุ์เดลตา

2.) ผลจากการเก็บข้อมูลพบว่า วัคซีนของไฟเซอร์จะค่อยๆ มีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อ โดยในช่วง 3 สัปดาห์หลังฉีดเข็มแรก จะมีประสิทธิภาพอยู่ที่ 36.8% ก่อนจะเพิ่มสูงสุดในช่วง 1 เดือน หลังได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว ไปอยู่ที่ 77.5%

หลังจากนั้น ประสิทธิภาพต้านการติดเชื้อโควิด-19 ของวัคซีนไฟเซอร์จะลดลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเวลาผ่านไป โดยอาจลดลงเหลือ 20% เท่านั้น หากฉีดครบโดสไปแล้ว 5-7 เดือน

3.) ขณะที่ประสิทธิภาพป้องกันการป่วย หรือเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ของวัคซีนไฟเซอร์ ก็มีแนวโน้มค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้น หลังได้รับวัคซีนเข็มแรกเช่นกัน โดยค่อยๆ เพิ่มจาก 66.1% ในช่วง 3 สัปดาห์หลังรับวัคซีนเข็มที่หนึ่ง เป็น 96% ในช่วง 2 เดือนแรกหลังได้รับวัคซีนเข็มที่ 2

แต่ประสิทธิภาพป้องกันการป่วยหนักหรือเสียชีวิตของวัคซีนไฟเซอร์ จะยังอยู่ในระดับคงที่ ประมาณ 90% ขึ้นไป แม้จะผ่านไปแล้ว 6 เดือน หลังได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว จากนั้นประสิทธิภาพถึงจะค่อยๆ ลดลงเล็กน้อยเมื่อเข้าสู่เดือนที่ 7

4.) การเก็บข้อมูลจากการใช้จริงนี้ทำให้พบว่า วัคซีนไฟเซอร์มีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อสูงสุดในช่วง 1 เดือนหลังฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว และจากนั้นประสิทธิภาพจะค่อยๆ ลดลงไปทุกๆ เดือน ซึ่งตรงนี้จะแตกต่างประสิทธิภาพป้องกันการป่วยหนักหรือเสียชีวิต ที่วัคซีนไฟเซอร์ยังมีประสิทธิภาพคงที่ ในระดับสูงนานถึงอย่างน้อย 6 เดือน

อย่างไรก็ตาม ทีมนักวิจัยชี้ว่า ยังมีปัจจัยอื่นที่อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพวัคซีนไฟเซอร์ โดยเฉพาะพฤติกรรมของประชาชนที่ได้รับวัคซีนแล้ว ที่อาจระมัดระวังตัวน้อยลง ทำให้มีความเสี่ยงติดเชื้อเพิ่มขึ้น

5.) ข้อมูลล่าสุดทำให้ทีมนักวิจัยกังวลว่า อาจมีการระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ เนื่องจากประสิทธิภาพของวัคซีนลดลงในกลุ่มผู้ที่ฉีดวัคซีนครบโดสไปแล้วหลายเดือน โดยปัจจุบันกาตาร์มีผู้ป่วยสะสมกว่า 237,000 คน และตั้งแต่เดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา เคยมีผู้ป่วยรายใหม่ต่อวันสูงสุดอยู่ที่ 306 คนเท่านั้น

6.) ขณะเดียวกัน ผลการใช้จริงในกาตาร์ ยิ่งทำให้เกิดการตั้งคำถามมากขึ้น ถึงการฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิต้านทานโควิด-19 เข็มที่ 3 ว่ามีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน ซึ่งในตอนนี้มีหลายประเทศ เดินหน้าฉีดวัคซีนกระตุ้นให้กับประชาชนแล้ว

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า