Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์นำร่องฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มเด็กและเยาวชน ระบุเพื่อศึกษาวิจัยเรื่องอาการข้างเคียง และการป้องกันการระบาดในโรงเรียนพร้อมนำผลการทดลองเสนอ อย. พิจารณา

วันที่ 21 ก.ย. 2564 ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดโครงการ Vacc 2 School นำร่องฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มให้กับเด็กและเยาวชน เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและเตรียมความพร้อมให้นักเรียนก่อนเปิดภาคเรียนใหม่ โดยเริ่มฉีดวันแรกวานนี้ (20 ก.ย.2564) ซึ่งตรงกับวันเยาวชนแห่งชาติ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้นำร่องฉีดวัคซีนให้กับเด็กและเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 10-18 ปี กลุ่มแรกจาก 3 โรงเรียน คือ โรงเรียนสตรีวิทยา โรงเรียนสันติสุขวิทยา และศูนย์การเรียนรุ่งอรุณ จำนวนกว่า 2,000 คน ณ ศูนย์ฉีดวัคซีนตัวเลือกซิโนฟาร์ม ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ บมจ.โทรคมนาคม อาคาร 9 ถ.แจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ

ศ.นพ.นิธิ กล่าวว่า การจัดฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้เด็กและเยาวชนในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิจัยใน 2 ประเด็น คือ ศึกษาดูอาการข้างเคียง และการป้องกันการระบาดในโรงเรียนและในครอบครัวของเด็ก ซึ่งประเทศไทยจะได้ข้อมูลเพิ่มเติม แม้จะมีข้อมูลในต่างประเทศอยู่แล้วก็ตาม

ประเด็นที่สำคัญที่สุดคือ การระบาดในเด็กจะไม่มีอาการรุนแรง และการเสียชีวิตก็น้อย ซึ่งในจำนวนเด็กที่ติดเชื้อโควิด-19 คิดเป็นร้อยละ 13 จากจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมด แต่ที่ทางนักวิชาการทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ไม่ได้คำนึงถึงกัน คือ เรื่องของสังคม ซึ่งเด็กต้องไปโรงเรียน และเจอเพื่อนๆ โดยดูประเด็นเรื่องผลวัคซีนแต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้ และหวังว่าข้อมูลจากผลการศึกษานี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จะทำการรับรอง เพราะต้องการให้ใช้ในต่างจังหวัดเพื่อลดช่องว่างทางการศึกษาของเด็ก ส่วนการเลือกวัคซีนสำหรับเด็กก็จะเลือกวัคซีนที่มีผลข้างเคียงน้อย เพื่อให้เด็กกลับไปใช้ชีวิตปกติโดยเร็ว

ศ.นพ.นิธิ กล่าวว่า ในเรื่องการติดตามอาการผลข้างเคียงหลังรับวัคซีน จะใช้ระบบเหมือนผู้ใหญ่ คือ การส่งข้อความไปสอบถาม โดยจะมีผู้ปกครอง และโรงเรียนที่มีผู้รับผิดชอบตามที่ได้กำหนดไว้ และอีกส่วนคือ การติดตามเรื่องการติดเชื้อในครอบครัวหรือที่โรงเรียนก็จะมีการสอบถามไปเช่นกัน ส่วนเรื่องความปลอดภัยหลังการรับวัคซีนนั้น วัคซีนซิโนฟาร์มเป็นวัคซีนเชื้อตาย มีความปลอดภัยสูง อาการข้างเคียงที่จะพบในเด็กที่ได้รับการฉีดวัคซีนต่ำ เช่น อาจมีไข้ เจ็บบริเวณที่ฉีดวัคซีน แต่ความรุนแรงนั้นต่ำกว่าวัคซีนอื่นๆ ในส่วนของการเตรียมตัวเพื่อเข้ารับวัคซีนนั้น ขอให้เด็กได้ดื่มน้ำ และพักผ่อนอย่างเพียงพอ งดการออกกำลังกายหนักทั้งก่อน-หลังฉีดวัคซีน และผู้ปกครองเองก็ไม่ควรวิตกกังวลจนเกินไป เพราะอาจเกิดความเครียดที่ส่งมาถึงเด็กได้

อ้างอิง www.cra.ac.th และwww.chulabhornhospital.com

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า