Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ศบค. เน้นย้ำการมีภูมิคุ้มกันจากวัคซีนดีกว่า ภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อจากสายพันธุ์โอไมครอน

วันที่ 5 ม.ค. 2565 พญ.สุมนี วัชรสินธุ์ ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค ในฐานะผู้ช่วยรองโฆษก ศบค. ชี้แจงกรณีมีประเด็นที่ถกเถียงกันในสื่อสังคมออนไลน์ว่า โรคโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน ซึ่งแพร่กระจายได้ง่าย ติดได้ง่าย แต่อาการไม่รุนแรง หากจะให้มีการปล่อยมีการติดเชื้อตามธรรมชาติเพื่อเป็นภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ จะดีกว่าหรือไม่ เมื่อเทียบกับการเกิดภูมิคุ้มกันจากการได้รับวัคซีนว่า การมีภูมิคุ้มกันจากวัคซีนดีกว่าการปล่อยให้มีภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อด้วยเหตุผล 4 ประการ คือ

1) หากเกิดการให้มีการแพร่ระบาดเชื้อไปในวงกว้าง ซึ่งการติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนมีการระบาดอย่างรวดเร็ว การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้ออย่างรวดเร็วในเวลาอันสั้น จะทำให้ระบบสาธารณสุขในประเทศนั้นๆ อาจรองรับไม่ทัน

2) แม้ว่าตอนนี้คนไทยได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มไปแล้ว 60 กว่าเปอร์เซ็นต์ แต่ว่ายังมีคนจํานวนหนึ่งซึ่งก็หลายล้านคนยังไม่ได้รับวัคซีน ซึ่งกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ถ้าเกิดได้รับเชื้อ อาจทำให้มีอาการหนัก และมีอัตราการเสียชีวิตสูง

3) สายพันธุ์โอไมครอนเป็นสายพันธุ์กลายพันธุ์ใหม่ จึงไม่รู้ว่าหลังจากติดเชื้อไปแล้ว แม้ว่าไม่เสียชีวิตแต่ในระยะยาวอาจเกิดสภาวะที่เรียกว่า Long Covid ซึ่งมีอาการระบบทางเดินหายใจ หรือระบบไหลเวียนเลือดที่ผิดปกติไปจากเดิม ส่งผลต่อความแข็งแรงของสุขภาพในระยะยาวหลังการได้รับเชื้อ

4) หากปล่อยให้มีการแพร่ระบาดไปเป็นวงกว้างหรือจำนวนมาก ก็เหมือนกับเราไปส่งเสริมให้เชื้อโรคมีความสามารถในการกลายพันธุ์ได้มากขึ้น และเชื้อโรคอาจจะมีความซับซ้อน มากขึ้น

ดังนั้น การได้รับวัคซีนเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันมีความปลอดภัยกับกับประชาชนคนไทยมากกว่าปล่อยให้มีการติดเชื้อและเพิ่มภูมิตามธรรมชาติ

ผู้ช่วยรองโฆษก ศบค. กล่าวว่า การประเมินสถานการณ์หลังจากการชะลอรับนักท่องเที่ยวแบบ Test and Go ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2565 ที่ประชุม ศบค.ชุดเล็กในวันนี้ (5 ม.ค. 2565) ได้หารือ เพื่อที่จะเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ในช่วงปีใหม่ 2565 ที่ผ่านมา นำเสนอให้กับที่ประชุม ศบค.ชุดใหญ่ ในวันที่ 7 ม.ค. 2565 วาระที่สำคัญ อาทิ

  1. การปรับพื้นที่สีตามสถานการณ์ เกี่ยวกับการจำกัดจำนวนคน การรวมกลุ่มทำกิจกรรม การอนุญาตดื่มสุราในร้านอาหาร

2. การปรับมาตรการควบคุมโรค ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการจะอนุญาตให้เปิดสถานบันเทิง ผับ บาร์ และคาราโอเกะหรือไม่

3. การปรับมาตรการสำหรับผู้ที่เดินทางเข้ามาด้วยแบบ Test and Go และการจัดการกับโอไมครอน

ทั้งนี้ ขอให้เจ้าของประกอบการและสถานประกอบการติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อการดำเนินตามมาตรการอย่างถูกต้องและความปลอดภัยของทุกภาคส่วน

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า