Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

โฆษกกระทรวงยุติธรรม แนะนักศึกษาสาวถูกจับรับไปรษณีย์ส่งยาไอซ์ ถ้าไม่ได้กระทำผิดแต่ต้องติดคุกไปแล้ว ยื่นใช้สิทธิผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนเพื่อขอรับเงินชดเชยไปก่อน แม้เสี่ยงอาจจะไม่เข้าเกณฑ์ ถ้าเจ้าหน้าที่ทำถูกขั้นตอน เสนอระยะยาวควรมีทางอื่นนอกจากเข้าเรือนจำเลย

จากกรณีนักศึกษาสาว ที่เรียน ปวช.ปีสุดท้าย ถูกเจ้าหน้าที่จับกุมข้อหามียาเสพติดไว้ในครอบครอง หลังจากรับพัสดุไปรษณีย์ที่มีผู้ส่งไปยังบ้านเช่าที่ อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด โดยภายในมีไอซ์ 10.30 กรัม และมียาเม็ดอีก 3 เม็ด โดยนักศึกษาสาวถูกขังอยู่ที่เรือนจำ จ.ร้อยเอ็ด เนื่องจากเจ้าหน้าที่คัดค้านการประกันตัว ซึ่งล่าสุด ตำรวจจับกุมเยาวชนชายผู้ส่งพัสดุ และหญิงสาวผู้ว่าจ้างได้แล้วแต่ยังให้การภาคเสธ

วันที่ 7 ก.ค. นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดและโฆษกกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยถึง กรณีนี้ว่า หากพนักงานสอบสวนเชื่อว่านักศึกษาสาวไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิด ก็ควรเร่งมีคำสั่งไม่ฟ้อง พร้อมร้องขอต่อศาลขอปล่อยตัวจากการถูกควบคุมระหว่างสอบสวนตาม ป.วิอาญา มาตรา 142

ตำรวจจับเยาวชนชายที่เป็นผู้ส่งพัสดุ

อย่างไรก็ตาม การที่นักศึกษาสาวถูกคุมขังในขณะนี้ อาจจะมีปัญหาในการขอรับเงินทดแทน เนื่องจาก ยังไม่ได้ตกเป็นจำเลยและศาลยังไม่มีคำพิพากษายกฟ้องว่าไม่ได้กระทำผิด จึงไม่มีสิทธิรับเงินค่าทดแทนค่าถูกคุมขังในระหว่างพิจารณาคดีและค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้​ในระหว่างถูกดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

นายธวัชชัย แนะนำว่า อีกช่องทางที่สามารถดำเนินการได้ คือการยื่นขอเงินการช่วยเหลือผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนจากกองทุนยุติธรรมตามมาตรา 9 (3) ซึ่งก็จะต้องไปพิจารณาอีกว่า พนักงานสอบสวนดังกล่าวปฎิบัติหน้าที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ถ้าปฎิบัติชอบด้วยกฎหมายก็จะไม่ได้ประโยชน์จากกฎหมายดังกล่าวเช่นกัน

“แต่ในชั้นนี้ จึงอยากให้ไปยื่นคำร้องจากกองทุนยุติธรรมที่สำนักงานยุติธรรมจังหวัดร้อยเอ็ดไว้ก่อน และถ้าได้ก็จะได้รับในเกณฑ์เดียวกันกับเงินค่าทดแทนค่าถูกคุมขังในระหว่างพิจารณาคดีและค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้​ในระหว่างถูกดำเนินคดีตามกฎหมายครับ”

นายธวัชชัย เสนอประเด็นที่ควรพิจารณาต่อไปในอนาคตว่า มาตรฐานการคัดค้านการขอปล่อยตัวชั่วคราว และเกณฑ์การพิจารณาว่าควรหรือควรไม่อนุญาต เนื่องจากปัจจุบันมีการแก้ไขกฎหมายให้ศาลสามารถใช้กำไลอิเล็กทรอนิกส์ และมีกองทุนยุติธรรมแล้ว รวมถึงกฎหมายก็กำหนดให้จัดทนายความให้ตามมาตรา234/1 และกำลังจะจัดให้มีทนายความประจะโรงพักอีก ถ้าหารือร่วมกันได้ก็จะเป็นการดี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า