Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เลขาธิการ กกต. เผย ใช้วิธีติดป้ายไวนิลให้ข้อมูล ผู้สมัคร ส.ส. แก้ปัญหาบัตรเลือกตั้ง ที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อาจจะทำประชาชนสับสน

นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง โพสต์ผ่าน เฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุ การอำนวยความสะดวกแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการกาบัตรในคูหา

1. หน้าหน่วยเลือกตั้ง ติดแผ่นไวนิล ขนาด 1.5 × 3 เมตร มีข้อมูลประกอบด้วย

1) แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง มี (1) ช่องกา (2) หมายเลข (เบอร์) (3) ชื่อผู้สมัคร (4) ชื่อ พรรคการเมือง พร้อมเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ของพรรคการเมือง

2) แบบบัญชีรายชื่อ มี (1) ช่องกาเครื่องหมาย (2) หมายเลข (เบอร์) (3) ชื่อ พรรคการเมืองพร้อมเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ของพรรคการเมือง

2. ในหน่วยเลือกตั้ง ติดแผ่นไวนิล ขนาด 1×2 เมตร ณ จุดที่มองเห็นได้อย่างชัดเจนเมื่อมองจากคูหาเลือกตั้ง เป็นข้อมูลแบบเดียวกัน เหมือนที่ติดหน้าหน่วย ทั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และแบบบัญชีรายชื่อ

ทั้งนี้ เนื่องจากมีข้อจำกัดตามมาตรา 84 ของพ.ร.ป. เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่ไม่อาจกำหนดรูปแบบบัตรให้มีลักษณะเดียวกันได้ เพราะกฎหมายกำหนดให้รูปแบบบัตรต้องต่างกันอย่างชัดเจน

ตัวอย่างป้ายไวนิล ภาพจากเฟซบุ๊ก : Sawaeng Boonmee

ตัวอย่างป้ายไวนิล ภาพจากเฟซบุ๊ก : Sawaeng Boonmee

เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 66 นายแสวง เลขาธิการ กกต. ได้เคยชี้แจงเกี่ยวกับ บัตรเลือกตั้ง ส.ส. 2566 ที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ โดยเฉพาะ บัตรเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขต ที่จะมีเฉพาะหมายเลข ไม่มีรูป ไม่มีชื่อผู้สมัคร สรุปได้ดังนี้

บัตรเลือกตั้งปี 2566 แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และแบบบัญชีรายชื่อ จะใช้บัตรมาตรฐานเหมือนการเลือกตั้งทุกครั้งที่ผ่านมา

โดยข้อดีของ “บัตรมาตรฐานแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง” มีความชัดเจนแตกต่างจากบัตรแบบบัญชีรายชื่อ คือ นอกจากสีจะต่างกันแล้ว องค์ประกอบภายในบัตรก็จะต่างกัน ทำให้ประชาชนสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน ไม่สับสน เพราะบัตรประเภท 1 มีเพียงหมายเลข ไม่มีตัวหนังสือ และสัญลักษณ์ใด ต่างจากบัตรอีกประเภทที่มีครบทั้ง 3 อย่าง เป็นการป้องกันบัตรเสีย อันเกิดจากความสับสนลักษณ์นี้อีกทางหนึ่งด้วย

“ทั้งยังประหยัดงบประมาณเป็นจำนวนมาก เพราะบัตรมาตรฐานพิมพ์ พร้อมกันในครั้งเดียว แต่บัตรแบบเฉพาะเขต ต้องสั่งพิมพ์ 400 ครั้งตามจำนวนเขต เมื่อปริมาณพิมพ์ต่อครั้งมีจำนวนน้อย จะทำให้ค่าพิมพ์ต่อครั้ง ใช้เงินจำนวนมากขึ้น และสะดวกในการบริหารจัดการ นำเวลาที่ต้องมาทำงานธุรการ อาทิ การส่งให้ตรงกับเขต กรณีเป็นแบบเฉพาะ ถ้าส่งผิดเขตจะใช้แทนกันไม่ได้ การพิมพ์บัตรสำรองในแต่ละเขต ก็ต้องมีสำรองครบตามจำนวนเขต เพราะใช้แทนกันไม่ได้ เป็นต้น ทำให้สามารถนำเวลาที่เหลือจากงานธุรการไปทำงานอื่นให้เกิดประโยชน์คุ้มค่ามากกว่า” นายแสวง เลขาธิการ กกต. เคยระบุใน เฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 66 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า